ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เน้น
เน้น
หมายถึงก. ทำให้หนักแน่นเพื่อให้เห็นความสำคัญ (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น เน้นถ้อยเน้นคำ, ลงเสียงหนัก เช่น เน้นเสียง, กดให้แน่น เช่น เน้นเหงือก เน้นฟัน. ว. ให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น พูดเน้น.
คำสนธิ
คำสมาส: คำสมาสแบบคำสนธิ คืออะไร
คำเป็น คำตาย คืออะไร
คำไวพจน์ ที่นิยมใช้ในการแต่งกลอน
แฮะ
หมายถึง(ปาก) ว. คำประกอบท้ายคำเพื่อเน้นความให้หนักแน่นขึ้น.
เออน่ะ
หมายถึงอ. คำที่เปล่งออกมาเพื่อเน้นแสดงคำรับอย่างรู้สึกรำคาญ.
คำพ้องเสียง
หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์
นั่นเอง
หมายถึงคำประกอบคำอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เขานั่นเอง.
แหละ
หมายถึง[แหฺละ] ว. คำประกอบเพื่อเน้นความ เช่น คนนี้แหละ.
หวา,หว่า,หว่า
หมายถึงว. คำประกอบท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ไปไหนหวา.
คำ
หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.
จ๋ะ
หมายถึงว. เสียงประกอบคำถาม.
หมายถึงว. เสียงประกอบคำเรียก เช่น แม่จ๋ะ (เป็นเสียงสั้นจากคำ จ๋า).
คลึงเคล้น
หมายถึงก. ลูบคลำและบีบเน้นไปมา.
ให้เสียง
หมายถึงก. กระทำเสียงใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้ตัวล่วงหน้าก่อนที่จะปรากฏกาย เช่น ฉันตกใจ เธอเข้ามาไม่ให้เสียงเลย.