คำในภาษาไทย หมวด ฤ
รวมคำในภาษาไทย หมวด ฤ
คำในภาษาไทย หมวด ฤ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ฤ
หมายถึง [รึ] (กลอน) ว. หรือ, ไม่, เช่น จะมีฤ ว่า จะมีหรือ, ฤบังควร ว่า ไม่บังควร. - ฤ
หมายถึง [รึ] เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต เมื่อไทยนำมาใช้ออกเสียงเป็น ริ รึ หรือ เรอ เช่น ฤทธิ์ ฤดู ฤกษ์. - ฤกษณะ
หมายถึง [รึกสะนะ] น. การดู, การเห็น. (ส. อีกฺษณ; ป. อิกฺขณ). - ฤกษ์
หมายถึง [เริก] น. คราวหรือเวลาที่กำหนดหรือคาดว่าจะให้ผล เช่น ฤกษ์ดี ฤกษ์ร้าย, มักนิยมใช้ในทางดี เช่นหาฤกษ์แต่งงาน หาฤกษ์ยกเสาเอก. (ส.). - ฤกษ์
หมายถึง [เริก] น. หมี; ดาวจระเข้, ดาวนพเคราะห์. (ส.). - ฤกษ์
หมายถึง [เริก] น. เรียกดาวที่มีลักษณะเป็นกลุ่มแก๊สทรงกลมที่สามารถแผ่รังสีออกได้รอบตัวว่า ดาวฤกษ์. - ฤกษ์บน
หมายถึง น. ฤกษ์ที่ดาวนพเคราะห์เสวยประจำวัน มี ๒๗ ฤกษ์. - ฤกษ์พานาที
หมายถึง น. ระยะเวลาที่เป็นฤกษ์. - ฤกษ์ล่าง
หมายถึง น. ฤกษ์ที่ประกอบฤกษ์บน มี ๙ ฤกษ์. - ฤคเวท
หมายถึง [รึกคะเวด] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๑ ของพระเวท ใช้ภาษาสันสกฤตรุ่นเก่าที่สุด ประพันธ์เป็นฉันท์ มีอายุประมาณ ๕๐๐ ถึง ๑,๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาล, อิรุพเพท ก็ว่า. (ส.; ป. อิรุพฺเพท). (ดู เวท, เวท- ประกอบ). - ฤชา
หมายถึง [รึ-] น. ค่าธรรมเนียม. - ฤชากร
หมายถึง [รึชากอน] น. เงินที่ได้จากค่าธรรมเนียม. - ฤชุ
หมายถึง [รึ-] ว. ตรง, ซื่อ. (ส.; ป. อุชุ). - ฤณ
หมายถึง [ริน] น. หนี้, หนี้สิน; ภาระ. (ส.; ป. อิณ). - ฤดี
หมายถึง [รึ-] น. รติ, ความยินดี, ใจ. (ป., ส. รติ). - ฤดียา,ฤติยา
หมายถึง [รึ-] ก. เกลียด, รังเกียจ, ดูถูก. (ส.). - ฤดู
หมายถึง [รึ-] น. ส่วนของปีซึ่งแบ่งโดยถือเอาภูมิอากาศเป็นหลัก มักแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน หรือเป็น ๔ ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ที่แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน ก็มี, เวลาที่กำหนดสำหรับงานต่าง ๆ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว ฤดูทอดกฐิน ฤดูถือบวช, เวลาที่เหมาะ เช่น ฤดูสัตว์ผสมพันธุ์; คราว, สมัย, เช่น ฤดูนํ้าหลาก. (ส. ฤตุ; ป. อุตุ). - ฤดูกาล
หมายถึง น. เวลา, คราว, เช่น ฝนไม่ตกตามฤดูกาล. - ฤต
หมายถึง [รึด] น. กฎ, วินัย, (เช่นในพระศาสนา); ธรรมเนียม, ความจริง, ความชอบธรรม. (ส.). - ฤตุ
หมายถึง [รึ-] น. ฤดู. - ฤตุสนาน
หมายถึง [รึตุสะหฺนาน] น. การอาบนํ้าของหญิงอินเดียในวันที่ ๔ หลังจากมีระดู. (ส.). - ฤทธา
หมายถึง [ริด-] น. อำนาจศักดิ์สิทธิ์ เช่น รุ่งเรืองฤทธาศักดาเดช. (อิเหนา). (ส.; ป. อิทฺธา). - ฤทธิ์
หมายถึง [ริด] น. อำนาจศักดิ์สิทธิ์, แรงอำนาจ, เช่น เทวดามีฤทธิ์. (ส.; ป. อิทฺธิ). - ฤทัย
หมายถึง [รึไท] น. ใจ, ความรู้สึก. (กร่อนมาจาก หฤทัย). (ส. หฺฤทย; ป. หทย). - ฤษภ
หมายถึง [รึสบ] น. วัวตัวผู้. (ส.; ป. อุสภ). - ฤษยา
หมายถึง [ริดสะหฺยา] (โบ) น. ริษยา. - ฤษี
หมายถึง [รึ-] น. ฤๅษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. (ส. ฤษี ว่า ผู้เห็น, ผู้แต่งพระเวท; ป. อิสิ). - ฤๅ
หมายถึง [รือ] เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นเสียงยาวของ ฤ เมื่อไทยนำมาใช้ออกเสียงเป็น รือ เช่น ฤๅษี. - ฤๅ
หมายถึง [รือ] ว. หรือ, อะไร, ไม่ใช่; โดยมากใช้ในบทร้อยกรอง เช่น กวีฤๅแล้งแหล่งสยาม. - ฤๅชุ
หมายถึง ว. ตรง, ซื่อ. (ส. ฤชุ). - ฤๅชุตา
หมายถึง น. ความตรง, ความซื่อสัตย์. - ฤๅดี
หมายถึง น. ฤดี, ความยินดี, ใจ. - ฤๅทัย
หมายถึง น. ฤทัย, ใจ, ความรู้สึก. - ฤๅษี
หมายถึง น. ฤษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. - ฤๅษีผสม
หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Plectranthus scutellarioides (L.) R. Br. ในวงศ์ Labiatae ใบมีสีต่าง ๆ ขอบใบจักเป็นรูปฟันปลา, ฤๅษีผสมแล้ว หรือ ฤๅษีผสมเสร็จ ก็เรียก. - ฤๅษีเลี้ยงลิง
หมายถึง (สำ) น. ผู้เลี้ยงเด็กซุกซนหรือปกครองคนหมู่มากที่ไม่อยู่ในระเบียบวินัยย่อมเดือดร้อนรำคาญ. - ฤๅษีแปลงสาร
หมายถึง น. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับแห่งไทยโบราณกลับตัวอักษรข้างหลังมาไว้ข้างหน้า, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนข้อความเดิมให้มีความหมายตรงกันข้าม. - ฤๅสาย
หมายถึง น. คำเรียกผู้เป็นใหญ่เช่นกษัตริย์. - ฤๅเยา
หมายถึง ว. มิใช่เยา, มิใช่น้อย, ไม่เยา.