คำในภาษาไทย หมวด ธ

คำในภาษาไทย หมวด ธ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ธ

คำในภาษาไทย หมวด ธ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๒๔ เป็นพวกอักษรตํ่า และใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สุเมธ มคธ.

  2. หมายถึง [ทะ] (กลอน) ส. ท่าน, เธอ, เช่น ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  3. ธง
    หมายถึง น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทำด้วยกระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สำหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตำแหน่งในราชการ โดยมีกำหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพนายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอกที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจำนนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจำล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า ธง; ข้อความที่อธิบายนำไว้เป็นตัวอย่าง.
  4. ธงกระบี่ธุช
    หมายถึง ดู กระบี่ธุช.
  5. ธงก์
    หมายถึง (แบบ) น. กา (นก). (ป.).
  6. ธงครุฑพ่าห์
    หมายถึง ดู ครุฑพ่าห์.
  7. ธงจระเข้
    หมายถึง น. ธงผืนผ้ามีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัด แสดงว่าทอดกฐินแล้ว.
  8. ธงฉาน
    หมายถึง (กฎ) น. ธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธงมีรูปจักร ๘ แฉก แฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักรภายใต้พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง เป็นธงที่ใช้ในเรือพระที่นั่งและเรือหลวง หรือเป็นธงสำหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งหน่วยทหารนั้นไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล; (โบ) ธงนำกระบวนกองชนะ มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม.
  9. ธงชัย
    หมายถึง น. ธงซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ.
  10. ธงชัย
    หมายถึง น. กาลโยคอย่างหนึ่งในโหราศาสตร์ คือ เวลาประกอบด้วยโชคคราวชนะเข้าไปถึงที่ซึ่งศัตรูจะตั้งอยู่ไม่ได้.
  11. ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย
    หมายถึง น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มีภาพครุฑที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาคจำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัยราชกระบี่ยุทธอยู่ทางด้านซ้าย.
  12. ธงชัยราชกระบี่ธุช,ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่
    หมายถึง ดู กระบี่ธุช.
  13. ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย
    หมายถึง น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีแดงรูปสี่เหลี่ยม มีภาพพระกระบี่คือหนุมานที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพหนุมานจำนวน ๔ กาบมีหางนกยูงเป็นแพนเสียบที่แผ่นกาบ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย โดยธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยอยู่ทางด้านซ้าย และธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา.
  14. ธงชัยราชกระบี่ยุทธ
    หมายถึง ดู ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย.
  15. ธงชาติ
    หมายถึง น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศและชาติใดชาติหนึ่ง.
  16. ธงชาติ,ธงชาติ,ธงชาติไทย
    หมายถึง (กฎ) น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและชาติไทย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีนํ้าเงินแก่ กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีนํ้าเงินแก่ออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ธงไตรรงค์”.
  17. ธงชาย
    หมายถึง น. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้ในกองทัพบก.
  18. ธงตะขาบ
    หมายถึง น. ธงชนิดหนึ่งทำด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทำให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
  19. ธงทิว,ธงเทียว
    หมายถึง น. ธงที่มีรูปลักษณะคล้ายกระบอก.
  20. ธงนำริ้ว
    หมายถึง น. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้นำริ้วกระบวนต่าง ๆ; ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง มีตัวอย่างว่า กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง คิดคิดและให้ขึ่งขุ่นเคืองใจ.
  21. ธงบรมราชวงศ์น้อย
    หมายถึง (กฎ) น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับตอนต้นของธงบรมราชวงศ์ใหญ่แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีแดงแปลงเป็นรูปธงยาวเรียว โดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของธงตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงบรมราชวงศ์ใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ.
  22. ธงบรมราชวงศ์ใหญ่
    หมายถึง (กฎ) น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบ มีขนาดกว้างยาวครึ่งหนึ่งของความกว้างของผืนธง ภายในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบมีรูปมงกุฎขัตติยราชนารีประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ๒ ชั้นเหนือตั่ง และมีตั่งลดตั้งฉัตรกลีบบัว ๕ ชั้น อยู่ ๒ ข้าง รูปเหล่านี้เป็นสีเหลืองเข้ม.
  23. ธงพระครุฑพ่าห์,ธงชัยพระครุฑพ่าห์,ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่
    หมายถึง ดู ครุฑพ่าห์.
  24. ธงมหาราชน้อย
    หมายถึง (กฎ) น. ธงสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงมหาราชใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ.
  25. ธงมหาราชใหญ่
    หมายถึง (กฎ) น. ธงสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงสีเหลือง มีรูปพระครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง.
  26. ธงราชินีน้อย
    หมายถึง (กฎ) น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชน้อย เว้นแต่ชายต่อเป็นสีแดง ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงราชินีใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ.
  27. ธงราชินีใหญ่
    หมายถึง (กฎ) น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธงเหมือนธงมหาราชใหญ่ ตอนปลายตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธง.
  28. ธงสามชาย
    หมายถึง น. ธงรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ปลายธงมี ๓ แฉก เป็น ๓ ชายลดหลั่นกัน มักใช้นำริ้วกระบวน ถ้าใช้เข้ากระบวนแห่ในพระราชพิธี ผืนธงทำด้วยผ้าสักหลาดสอดสีปักดิ้นหักทองขวางเป็นลวดลาย.
  29. ธงสามเหลี่ยม
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์กฤติกา มี ๘ ดวง, ดาวกฤตติกา ดาวกัตติกา หรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก.
  30. ธงหางแซงแซว
    หมายถึง น. เรียกสิ่งเช่นธงที่มีรูปเป็นแฉกเหมือนหางนกแซงแซว.
  31. ธงเยาวราชน้อย
    หมายถึง (กฎ) น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระยุพราช แบ่งความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงเยาวราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงเยาวราชใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ.
  32. ธงเยาวราชใหญ่
    หมายถึง (กฎ) น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระยุพราช มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงมี ๒ สี รอบนอกสีขาบ รอบในสีเหลืองกว้างยาวครึ่งหนึ่งของรอบนอก มีรูปพระครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง.
  33. ธงไตรรงค์
    หมายถึง น. ธงชาติไทย.
  34. ธชะ
    หมายถึง (แบบ) น. ธง. (ป.).
  35. ธชี
    หมายถึง [ทะ-] น. พราหมณ์, นักบวช. (ป.; ส. ธฺวชินฺ ว่า ผู้ถือธง, พราหมณ์).
  36. ธตรฐ
    หมายถึง [ทะตะรด] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจำทิศบูรพา.
  37. ธน,ธน-
    หมายถึง [ทน, ทะนะ-] น. ทรัพย์สิน. (ป., ส.).
  38. ธนธานี
    หมายถึง [ทะนะ-] น. สถานที่เก็บพัสดุมีค่า, คลัง, ที่เก็บสินค้า. (ป., ส.).
  39. ธนบดี
    หมายถึง [ทะนะบอ-] น. เจ้าของทรัพย์, เศรษฐีผู้มีทรัพย์เป็นทุน, นายทุน. (ส. ธนปติ ว่า เจ้าแห่งทรัพย์ คือ พระอินทร์, ท้าวกุเวร).
  40. ธนบัตร
    หมายถึง [ทะนะบัด] (กฎ) น. บัตรที่ออกใช้เป็นเงินตรา ซึ่งใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายโดยไม่จำกัดจำนวน. (ส. ธน + ปตฺร).
  41. ธนบัตรย่อย
    หมายถึง น. ธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มีราคามากกว่า, แบงก์ย่อย ก็ว่า.
  42. ธนสมบัติ
    หมายถึง [ทะนะสมบัด] น. การถึงพร้อมแห่งทรัพย์, ทรัพย์สมบัติ. (ป.).
  43. ธนสาร
    หมายถึง [ทะนะสาน] น. ทรัพย์สมบัติที่เป็นแก่นสาร, ทรัพย์สมบัติ. (ป.).
  44. ธนัง
    หมายถึง ดู ธน, ธน-.
  45. ธนัง
    หมายถึง (แบบ; กลอน) น. ทรัพย์สิน เช่น มันก็ไม่รู้มั่งที่จะให้เกิดทุนธนัง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  46. ธนัชฌ์
    หมายถึง มาจาก ธนะ สนธิ กับ อัชฌ เป็น ธนัชฌ [ธนัชฌ์] แปลว่า มีนิสัยด้านการเงินดี รู้จักใช้จ่าย
  47. ธนาคม
    หมายถึง (แบบ; กลอน) น. การมาแห่งกำไร, กำไร. (ส.).
  48. ธนาคาร
    หมายถึง น. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย บริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด ที่ใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อว่า ธนาคาร ซึ่งประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินและธุรกิจหลักทรัพย์. (ป. ธน + อคาร).
  49. ธนาคารพาณิชย์
    หมายถึง (กฎ) น. ธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และหมายความรวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวด้วย.
  50. ธนาคารออมสิน
    หมายถึง (กฎ) น. ธนาคารที่ตั้งขึ้นเพื่อรับฝากเงินออมสิน ออกพันธบัตรออมสินและสลากออมสิน รับฝากเงินออมสินเพื่อสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ทำการรับจ่ายและโอนเงิน ซื้อหรือขายพันธบัตรรัฐบาลไทย ลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอนุญาต การออมสินอื่น ๆ หรือกิจการอันเป็นงานธนาคาร ตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนดไว้ และให้ประกอบได้ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง.
  51. ธนาคารเลือด
    หมายถึง น. สถานที่เก็บรักษาเลือดไว้ เพื่อบริการแก่ผู้ป่วย.
  52. ธนาคารโลก
    หมายถึง น. คำสามัญเรียกธนาคารระหว่างประเทศเพื่อบูรณะและวิวัฒนาการ ซึ่งทำหน้าที่ให้กู้ยืมเงินแก่ประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคาร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศของตนและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ธนาคารนี้ไม่รับฝากเงิน.
  53. ธนาณัติ
    หมายถึง น. การส่งเงินทางไปรษณีย์ โดยวิธีผู้ส่งมอบเงินไว้ยังที่ทำการไปรษณีย์แห่งหนึ่งแล้วเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ออกตราสารสั่งให้ที่ทำการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ; (กฎ) ตราสารซึ่งที่ทำการไปรษณีย์แห่งหนึ่งสั่งให้ที่ทำการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงิน. (ป. ธน + อาณตฺติ).
  54. ธนิต
    หมายถึง ว. หนัก, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงพร้อมกับมีกลุ่มลมออกมา ในภาษาไทยได้แก่เสียง พ ท ค ช ฮ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงหนักว่า พยัญชนะธนิต ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรค. (ป.).
  55. ธนิษฐะ,ธนิษฐา
    หมายถึง น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๓ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปกา, ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี หรือ ดาวไซ ก็เรียก.
  56. ธนุ,ธนุรญ
    หมายถึง (แบบ) น. ธนู. (ป.).
  57. ธนุรมารค
    หมายถึง [ทะนุระมาก] น. ทางโค้งเหมือนธนู. (ส.).
  58. ธนุรวิทยา,ธนุรเวท
    หมายถึง [ทะนุระ-] น. วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ๆ. (ส.). (ดู อุปเวท ประกอบ).
  59. ธนู
    หมายถึง น. ชื่ออาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันธนูซึ่งมีสายธนูสำหรับน้าวยิง และลูกธนูที่มีปลายแหลม; ชื่อกลุ่มดาวรูปธนู เรียกว่า ราศีธนู เป็นราศีที่ ๘ ในจักรราศี; ชื่อดาวฤกษ์อนุราธา. (ป. ธนุ).
  60. ธนูศิลป์
    หมายถึง น. ฝีมือยิงธนู, การฝึกหัดยิงธนู. (ส.).
  61. ธม
    หมายถึง ว. ใหญ่, หลวง, เช่น นครธม. (ข. ธม).
  62. ธมกรก
    หมายถึง [ทะมะกะหฺรก] น. กระบอกกรองนํ้าของพระสงฆ์ เป็นเครื่องใช้สอย ๑ อย่างในอัฐบริขาร; เครื่องกรองนํ้าด้วยลมเป่า; กระบอกก้นหุ้มผ้า. (ป.).
  63. ธร
    หมายถึง [ทอน] น. การยึดไว้, การถือไว้, การทรงไว้, การมีไว้; ผู้รักษาไว้, ผู้ทรงไว้, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น วิชาธร วินัยธร. (ป.; ส. ธฺฤ).
  64. ธรง
    หมายถึง [ทฺรง] (โบ; เลิก) ก. ทรง. (สามดวง).
  65. ธรณ,ธรณะ
    หมายถึง [ทอน, ทอระนะ] (แบบ) น. การถือไว้, การทรงไว้, การยึดไว้. (ป., ส.).
  66. ธรณิน
    หมายถึง [ทอระ-] (กลอน) น. ธรณี, แผ่นดิน, เช่น กึกก้องสะเทือนธรณิน. (ลอ).
  67. ธรณินทร์
    หมายถึง [ทอระนิน] (กลอน) น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
  68. ธรณิศ,ธรณิศร,ธรณิศวร์
    หมายถึง [ทอระนิด] (กลอน) น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
  69. ธรณี
    หมายถึง [ทอระนี] น. แผ่นดิน เช่น ธรณีสูบ, พื้นแผ่นดิน เช่น ธรณีวิทยา, โลก เช่น นางในธรณีไม่มีเหมือน. (ป., ส.).
  70. ธรณีกันแสง
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, ธรณีร้องไห้ หรือ พสุธากันแสง ก็ว่า.
  71. ธรณีประตู
    หมายถึง น. ไม้รองรับกรอบล่างของประตู มีรูครกสำหรับรับเดือยบานประตู และมีรูสำหรับลงลิ่มหรือลงกลอน เช่น ธรณีประตูโบสถ์, ปัจจุบันเรียกไม้กรอบล่างประตูว่า ธรณีประตู.
  72. ธรณีมณฑล
    หมายถึง น. ลูกโลก. (ส.).
  73. ธรณีร้องไห้
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, ธรณีกันแสง หรือ พสุธากันแสง ก็ว่า.
  74. ธรณีวิทยา
    หมายถึง น. วิชาว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับประวัติ โครงสร้าง และสภาพของโลก.
  75. ธรณีศวร
    หมายถึง น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. ธรณี + อิศฺวร).
  76. ธรณีสงฆ์
    หมายถึง น. ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด.
  77. ธรณีสาร
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Phyllanthus pulcher Wall. ex Muell. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae ลำต้นตรง ใช้ทำยาได้, ว่านธรณีสาร ก็เรียก.
  78. ธรณีสาร
    หมายถึง น. เสนียดจัญไร, เรียกคนที่มีลักษณะซึมเซาง่วงเหงาหาวนอนอยู่เสมอว่า คนต้องธรณีสาร.
  79. ธรณีสูบ
    หมายถึง ก. อาการที่แผ่นดินแยกออกทำให้คนที่ทำบาปกรรมอย่างยิ่งตกลงหายไป แล้วแผ่นดินก็กลับเป็นอย่างเดิม เป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนาว่า ธรรมชาติจะลงโทษคนที่ทำบาปหนักนั้นเอง โดยผู้อื่นไม่ต้องลงโทษ.
  80. ธรมาน
    หมายถึง [ทอระมาน] (แบบ) ว. ยังดำรงชีวิตอยู่. (ป.).
  81. ธรรม
    หมายถึง น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์.
  82. ธรรม
    หมายถึง คำประกอบท้ายคำที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไปจากคำศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.
  83. ธรรม,ธรรม,ธรรม-,ธรรมะ
    หมายถึง [ทำ, ทำมะ-] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คำสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
  84. ธรรมกถา
    หมายถึง น. การกล่าวธรรม, ถ้อยคำที่เป็นธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกถา).
  85. ธรรมกถึก
    หมายถึง น. เรียกพระที่เป็นนักเทศน์ผู้แสดงธรรมว่า พระธรรมกถึก. (ป. ธมฺมกถิก).
  86. ธรรมกาม
    หมายถึง น. ผู้ใคร่ธรรม, ผู้นิยมในยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกาม).
  87. ธรรมกาย
    หมายถึง น. กายคือธรรม ได้แก่ พระมหากรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ; พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า ตามคติมหายานเชื่อว่า ได้แก่พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า. (ส.; ป. ธมฺมกาย).
  88. ธรรมการ
    หมายถึง น. กิจการทางศาสนา.
  89. ธรรมการย์
    หมายถึง น. กิจอันเป็นธรรม, การกุศล, หน้าที่อันสมควร.
  90. ธรรมขันธ์
    หมายถึง น. หมวดธรรม, กองธรรม, ข้อธรรม, (กำหนดข้อธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์). (ส. ธรฺม + ป. ขนฺธ).
  91. ธรรมคุณ
    หมายถึง น. ชื่อบทแสดงคุณของพระธรรม มีบาลีขึ้นต้นว่า สฺวากฺขาโต และลงท้ายว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ. (ส.; ป. ธมฺมคุณ).
  92. ธรรมจรณะ,ธรรมจรรยา
    หมายถึง น. การประพฤติถูกธรรม. (ส.).
  93. ธรรมจริยา
    หมายถึง น. การประพฤติเป็นธรรม, การประพฤติถูกธรรม. (ส. ธรฺม + ป. จริยา).
  94. ธรรมจักร
    หมายถึง น. ชื่อปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเบญจวัคคีย์ เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; แดนธรรม; เครื่องหมายทางพระพุทธศาสนา เป็นรูปวงล้อมี ๘ ซี่บ้าง ๑๒ ซี่บ้าง. (ส.).
  95. ธรรมจักษุ
    หมายถึง น. ดวงตาคือปัญญาที่รู้เห็นธรรม. (ส.).
  96. ธรรมจาคะ
    หมายถึง น. การละธรรม, การละเมิดศาสนา, การทิ้งศาสนา. (ส. ธรฺม + ป. จาค).
  97. ธรรมจารี
    หมายถึง น. ผู้ประพฤติธรรม. (ป. ธมฺมจารี; ส. ธรฺมจารินฺ).
  98. ธรรมจินดา
    หมายถึง น. การพิจารณาธรรม.
  99. ธรรมชาติ
    หมายถึง น. สิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั้น ๆ, ภาพภูมิประเทศ. ว. ที่เป็นไปเองโดยมิได้ปรุงแต่ง เช่น สีธรรมชาติ.
  100. ธรรมฐิติ
    หมายถึง น. การตั้งอยู่แห่งสิ่งที่เป็นเอง. (ป. ธมฺมิติ).

 แสดงความคิดเห็น