คำในภาษาไทย หมวด ช

คำในภาษาไทย หมวด ช ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ช

คำในภาษาไทย หมวด ช ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๑๐ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ราช คช กริช แซนด์วิช.

  2. หมายถึง ในภาษาบาลีและสันสกฤต ถ้าใช้ประกอบท้ายคำบางคำ แปลว่า เกิด เช่น บงกช ว่า เกิดในเปลือกตม หมายถึง บัว, วาริช ว่า เกิดในน้ำ หมายถึง ปลา, ทวิช ว่า เกิด ๒ ครั้ง หมายถึง พราหมณ์, นก.
  3. ชก
    หมายถึง ก. ต่อยด้วยหมัดหรือกำปั้น.
  4. ชกมวย
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  5. ชกา
    หมายถึง [ชะ-] (กลอน) น. นกสาลิกา. (กล่อมช้างของเก่า).
  6. ชค,ชค-
    หมายถึง [ชะคะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชคสัตว์ ว่า สัตว์ที่อาศัยแผ่นดิน. (ป., ส.).
  7. ชคดี
    หมายถึง [ชะคะดี] น. แผ่นดิน เช่น แลเนืองนองด้วยมนุษยชาติ เดียรดาษชคดี. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. ชคติ; ส. ชคตี).
  8. ชคัตตรัย
    หมายถึง [ชะคัดไตฺร] (แบบ) น. โลก ๓ เช่น ชคัตตรยาพดง ว่า ผู้เป็นยอดของโลก ๓. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
  9. ชง
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. งง, ชะงัก, ประหม่า.
  10. ชง
    หมายถึง ก. เทนํ้าร้อนลงบนใบชาหรือยาเป็นต้นเพื่อให้รสออก.
  11. ชงคา
    หมายถึง (กลอน) น. ราชโองการ เช่น ชุลีกรรับชงคาครรไล. (นิ. เกาะแก้วกัลกตา).
  12. ชงฆ,ชงฆ-,ชงฆ์,ชงฆา
    หมายถึง [ชงคะ-] (กลอน; แบบ) น. แข้ง, ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์. (ป. ชงฺฆ; ส. ชงฺฆา).
  13. ชงโค
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Bauhinia purpurea L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีชมพูอมแดงหรือม่วงแดง.
  14. ชงโลง
    หมายถึง ดู กดเหลือง.
  15. ชงโลง
    หมายถึง น. โพง, เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวนเข้ากับขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ, โชงโลง ก็ว่า, (ถิ่น-อีสาน) กะโซ้. (ข. โชฺรง).
  16. ชฎา
    หมายถึง [ชะดา] น. เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวยสูงขึ้น. (ป., ส. ชฏา).
  17. ชฎากลีบ
    หมายถึง น. ชฎารูปเหมือนชฎาเดินหน แต่มีกลีบเป็นลายประดับมาก.
  18. ชฎาธาร
    หมายถึง น. ผู้ทรงไว้ซึ่งชฎา.
  19. ชฎาพอก
    หมายถึง น. ชฎาที่ทำสำหรับสวมพระศพเจ้านาย.
  20. ชฎามหากฐิน
    หมายถึง น. ชฎาที่ทำยอดเป็น ๕ ยอด มีขนนกการเวกปักตอนบน, ชฎาห้ายอด ก็เรียก.
  21. ชฎามังษี,ชฎามังสี
    หมายถึง น. โกฐชฎามังษี. (ดู โกฐชฎามังษี, โกฐชฎามังสี).
  22. ชฎาเดินหน
    หมายถึง น. ชฎายอดงอนที่มีกลีบ.
  23. ชฎาแปลง
    หมายถึง น. ชฎารูปเหมือนชฎากลีบแต่ไม่มีลวดลาย.
  24. ชฎิล
    หมายถึง น. ผู้มีผมมุ่นเป็นชฎา, นักพรตพวกหนึ่งที่เราเรียกว่า ฤษี. (ป., ส.).
  25. ชด
    หมายถึง ก. ทำให้ชุ่มชื่น, ใช้แทนที่เสียไป. ว. อ่อน, ช้อย, งอนอย่างงอนรถ.
  26. ชดช้อย
    หมายถึง ว. อ่อนช้อย เช่น กิริยาชดช้อย; มีลักษณะกิริยาท่าทางงดงาม เช่น คนชดช้อย, ช้อยชด ก็ว่า.
  27. ชดเชย
    หมายถึง ก. ใช้แทนสิ่งที่เสียไป, เพิ่มเติม.
  28. ชดใช้
    หมายถึง ก. ใช้ค่าใช้จ่ายที่ทดรองจ่ายไปก่อนแล้ว, ให้ทดแทนสิ่งที่ใช้หรือเสียไป.
  29. ชทึง
    หมายถึง [ชะ-] (กลอน) น. แม่นํ้า เช่น ชลชทึงบึงบาง. (ประกาศพระราชพิธี), ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทิง ว่า คลอง).
  30. ชน
    หมายถึง ก. โดนแรง ๆ เช่น รถยนต์ชนต้นไม้, ชิดจนติด เช่น ตั้งตู้ชนฝา; บรรจบ เช่น ชนขวบ; ให้ต่อสู้กัน เช่น ชนโค ชนไก่. น. เรียกไก่อูชนิดหนึ่งที่เลี้ยงไว้ชนกันว่า ไก่ชน.
  31. ชน,ชน,ชน-
    หมายถึง [ชนนะ-] น. คน (มักใช้ในภาษาหนังสือ).(ป., ส.).
  32. ชนก,ชนก-
    หมายถึง [ชะนก, ชะนะกะ-] น. ชายผู้ให้เกิด, พ่อ. (ป., ส.).
  33. ชนกกรรม
    หมายถึง [ชะนะกะกำ] น. กรรมอันนำให้เกิดหรือกรรมอันเป็นต้นเค้าทั้งข้างดีหรือข้างชั่ว เช่น กรรมอันทำให้เกิดเป็นคนชั้นสูง เป็นชนกกรรมฝ่ายกุศล. (อรรถศาสน์).
  34. ชนกลุ่มน้อย,ชนหมู่น้อย
    หมายถึง น. ชนต่างเผ่าหรือต่างเชื้อชาติที่อยู่อาศัยรวมกันกับชนเผ่าอื่นหรือเชื้อชาติอื่นที่มีจำนวนมากกว่า.
  35. ชนช้าง
    หมายถึง ก. ขี่ช้างรบกัน.
  36. ชนนี
    หมายถึง [ชนนะนี] น. หญิงผู้ให้เกิด, แม่. (ป., ส.).
  37. ชนบท
    หมายถึง [ชนนะบด] น. บ้านนอก, เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป. (ป., ส. ชนปท).
  38. ชนม,ชนม-,ชนม์
    หมายถึง [ชนมะ-, ชน] น. การเกิด. (ส. ชนฺมนฺ).
  39. ชนมพรรษา
    หมายถึง [ชนมะพันสา] น. อายุ. (ส. ชนฺมวรฺษ ว่า ขวบปีที่เกิดมา).
  40. ชนมาพิธี,ชนมายุพิธี
    หมายถึง [ชนนะ-] น. อายุ, อายุขัย, กำหนดอายุ, เช่น ครั้นว่าจะสิ้นชนมาพิธีแล้วก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแล. (ไตรภูมิ), ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธี ในธรณีดลน้นน. (ม. คำหลวง ทศพร). (พิธี ว่า กำหนด).
  41. ชนวน
    หมายถึง [ชะ-] ดู ฉนวน ๔.
  42. ชนวน
    หมายถึง [ชะ-] น. ชื่อหินชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ ซ้อนติดกัน เนื้อแน่นและละเอียด มีสีต่าง ๆ กัน ตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีเทาแก่ และสีดำ สีน้ำเงิน ที่มีสีแดง สีเขียว สีม่วง ก็มี; เรียกกระดานเขียนหนังสือทำด้วยไม้ทาสมุกบ้าง ด้วยแผ่นหินชนวนบ้าง ว่า กระดานชนวน; ดินปืนที่ใช้จุดให้ไฟลุกแล่นเข้าไปติดดินระเบิด, ถ้ามีกระดาษห่อดินปืนม้วนเป็นเส้น เรียกว่า สายชนวน; เรียกเทียนที่จุดไว้เพื่อใช้จุดต่อว่า เทียนชนวน; โดยปริยายหมายความว่า ต้นเหตุให้เกิดเรื่องอื่นขึ้นต่อไป เช่น ชนวนสงคราม.
  43. ชนะ
    หมายถึง [ชะ-] น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปเหมือนกลองแขก ใช้ตีด้วยไม้ ใช้เฉพาะในงานหลวง.
  44. ชนะ
    หมายถึง [ชะ-] ก. ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้.
  45. ชนัก
    หมายถึง [ชะ-] น. เครื่องแทงสัตว์ชนิดหนึ่ง ทำด้วยเหล็กปลายเป็นรูปลูกศร มีด้ามยาว มีเชือกชักเมื่อเวลาพุ่งไปถูกสัตว์; เครื่องผูกคอช้างทำด้วยเชือกเป็นปมหรือห่วงห้อยพาดลงมา เพื่อให้คนที่ขี่คอใช้หัวแม่เท้าคีบกันตก.
  46. ชนักติดหลัง
    หมายถึง (สำ) น. ความชั่วหรือความผิดที่ยังติดตัวอยู่.
  47. ชนา
    หมายถึง [ชะ-] (กลอน) น. ชน เช่น เอาลวดถักคั่นกันชนา. (นิ. เกาะแก้วกัลกตา).
  48. ชนาง
    หมายถึง [ชะ-] น. เครื่องดักปลาและสัตว์ป่า เช่น บ้างวงข่ายรายรอบปากชนาง. (ไชยเชฐ). (ข.).
  49. ชนิด
    หมายถึง [ชะ-] น. อย่าง เช่น มี ๒ ชนิด, จำพวก เช่น คนชนิดนี้.
  50. ชนินทร์
    หมายถึง น. ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน. (ส. ชน + อินฺทฺร).
  51. ชบา
    หมายถึง [ชะ-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Hibiscus rosasinensis L. ในวงศ์ Malvaceae ดอกมีสีต่าง ๆ พันธุ์ที่สีแดงดอกและยอดใช้ทำยาได้.
  52. ชบาหนู
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิด ในสกุล Malvaviscus วงศ์ Malvaceae ลักษณะคล้ายดอกชบาแต่ดอกเล็กกว่าและไม่บาน ชนิด M. arboreus Cav. ดอกตั้ง ชนิด M. penduliflorus DC. ดอกห้อยลง.
  53. ชปโยค
    หมายถึง [ชะปะโยก] (แบบ) น. มนตร์กระซิบ เช่น สมมุขบ่ายบูชา ชปโยค. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ส. ชปฺ + โยค).
  54. ชม
    หมายถึง ก. สรรเสริญ, ยกย่อง; ดู (ใช้ในที่สุภาพ) เช่น เชิญชมของในร้าน, ดูเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจหรือชื่นใจ เช่น ชมสวน ชมนกชมไม้.
  55. ชม
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ชม เช่น ชมดง ชมตลาด.
  56. ชมชัว
    หมายถึง ก. ชื่นชม, รื่นรมย์, เช่น สองฟากนํ้าพลชมชัว. (สมุทรโฆษ), ชัวชม ก็ว่า.
  57. ชมชาญ
    หมายถึง ก. เหิม, รื่นเริง, เช่น เสียงโห่เอาชัยชมชาญ. (สมุทรโฆษ).
  58. ชมดชม้อย
    หมายถึง [ชะมดชะม้อย] ก. อายเหนียมอย่างชดช้อย.
  59. ชมนาด
    หมายถึง [ชมมะ-] น. ชื่อไม้เถาชนิด Vallaris glabra Kuntze ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาวเป็นช่อ กลิ่นเหมือนข้าวใหม่, ดอกข้าวใหม่ ก็เรียก, เขียนเป็น ชำมะนาด ก็มี.
  60. ชมบ
    หมายถึง [ชะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็นเงา ๆ แต่ไม่ทำอันตรายใคร, ฉมบ หรือ ทมบ ก็ว่า.
  61. ชมพู
    หมายถึง (แบบ) น. ไม้หว้า. (ป., ส. ชมฺพุ).
  62. ชมพู
    หมายถึง ว. สีแดงอ่อน, สีแดงเจือขาว.
  63. ชมพูทวีป
    หมายถึง (แบบ) น. ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล และบังกลาเทศในปัจจุบัน; ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป.
  64. ชมพูนท,ชมพูนุท
    หมายถึง น. ทองคำเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่าเกิดใต้ต้นหว้า), ใช้ว่า ชามพูนท ก็มี. (ส. ชามฺพูนท ว่า เกิดในแม่นํ้าชมพูนที).
  65. ชมพูพาดบ่า
    หมายถึง น. ท่ารำชนิดหนึ่งแห่งควาญช้าง รำเมื่อนำช้างบำรูงาเสร็จครั้งแรกแล้ว.
  66. ชมพู่
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Syzygium วงศ์ Myrtaceae ผลกินได้ เช่น ชมพู่แก้มแหม่ม [S. samarangense (Blume) Merr. et L.M. Perry] ชมพู่นํ้าดอกไม้ [S. jambos (L.) Alston] ชมพู่สาแหรก [S. malaccensis (L.) Merr. et L.M. Perry].
  67. ชมรม
    หมายถึง น. ที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล; ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น ชมรมนักวรรณศิลป์ ชมรมพุทธศาสตร์, โชมโรม ก็ว่า.
  68. ชมสวนสวรรค์
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  69. ชมัน
    หมายถึง [ชะ-] ดู กระโดงแดง (๑).
  70. ชมา
    หมายถึง [ชะ-] น. แมว. (ข.).
  71. ชมเชย
    หมายถึง ก. ยกย่อง, สรรเสริญ; แสดงกิริยาเสน่หา.
  72. ชมเปาะ
    หมายถึง ก. ชมไม่ขาดปาก, ชมด้วยความจริงใจ.
  73. ชมเลาะ
    หมายถึง (โบ) ก. ทะเลาะ เช่น ความชมเลาะกันก็จแรก. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ข. เฌฺลาะ ว่า ทะเลาะ).
  74. ชมไช
    หมายถึง (กลอน) ก. ชื่นชมยินดี, รื่นเริง, เช่น พนคณนกหคชมไช. (ม. คำหลวง มหาพน).
  75. ชม้อย
    หมายถึง [ชะ-] ก. ช้อนตาลอบชำเลืองดูด้วยความสนใจ.
  76. ชม้าย
    หมายถึง [ชะ-] ก. ชายหางตาดูด้วยความสนใจ.
  77. ชย,ชย-
    หมายถึง [ชะยะ] น. การชนะ. (ป., ส.). (ดู ชัย).
  78. ชยา
    หมายถึง [ชะ-] (แบบ) น. สายธนู. (ป. ชิยา; ส. ชฺยา).
  79. ชร
    หมายถึง [ชอน] น. ลวดลาย, ลายประกอบริม, ระบาย, เช่น ขนนเขนยชร. (ข.).
  80. ชร
    หมายถึง [ชอน] น. น้ำ เช่น ชรเซาะเขาเราตกแต่ง. (คำฤษดี), ชรธารา. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
  81. ชร,ชร-,ชร-
    หมายถึง [ชฺระ-] เป็นพยางค์หน้าของคำที่ตั้งต้นด้วยตัว ช ในบทกลอน เช่น ชทึง เป็น ชรทึง.
  82. ชรงำ
    หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. คลุ้ม, มืด, งำ, เช่น เปนไพรชัฏชรงำผลู. (สมุทรโฆษ).
  83. ชรทึง
    หมายถึง [ชฺระ-] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
  84. ชรราง
    หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ก. ราง ๆ เช่น แฝงข่าวยินเยียชรราง. (แช่งนํ้า).
  85. ชรริน
    หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ก. ประดับ เช่น ชรรินชรเรือดแฝง มณิเพ็ญดูเพรี้ยมพราย. (สมุทรโฆษ).
  86. ชรอกชรัง
    หมายถึง [ชฺรอกชฺรัง] ก. ซอกซอน, ซอกแซก.
  87. ชรออบ
    หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ก. ชอบ เช่น ธมาพักชรออบ คืนเดียวชอบชีนอน. (ม. คำหลวง กุมาร).
  88. ชรอัด
    หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. ชัด เช่น ลางหมู่งาชรอัดชรแอ้น. (ม. คำหลวง มหาราช).
  89. ชรอื้อ
    หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. ชื้อ, ชอื้อ, มืดมัว, มืดคลุ้ม, ครึ้ม, อับแสง, เช่น ด่งงไซรชรเอมชรอื้อ อรทื้อแทบทางเดอร. (ม. คำหลวง ชูชก), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).
  90. ชรอุ่ม
    หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. ชอุ่ม, มืดคลุ้ม, มืดมัว, เช่น อากาศชรอุ่มอับ ทิศบังด้วยธุลี. (สุมทรโฆษ).
  91. ชรอ่ำ
    หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. ชอํ่า, มืดมัว, มืดครึ้ม, เช่น ชรอ่ำฟ้าใต้แผ่นหงาย. (แช่งน้ำ), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).
  92. ชระ
    หมายถึง [ชฺระ] เป็นพยางค์หน้าของคำในบทกลอน เช่น ชระงม ชระง่อน.
  93. ชระ
    หมายถึง [ชฺระ] ว. สะอาด, บริสุทธิ์, เช่น ให้ฉลักแสบกภาพอันชระ. (สมุทรโฆษ).
  94. ชระงม
    หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) น. ป่ากว้าง, ป่าใหญ่. ว. เปลี่ยวเปล่า, เงียบสงัด, เช่น อยู่ชระงมนั้น. (ม. คำหลวง มหาราช).
  95. ชระงำ
    หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. คลุ้ม, มืด, งำ.
  96. ชระง่อน
    หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) น. ชะง่อน, หินที่เป็นปุ่มเป็นแง่ยื่นออกมาจากเขา.
  97. ชระดัด
    หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ก. ดัด.
  98. ชระดื่น
    หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. ดื่น.
  99. ชระบอบ
    หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ก. บอบชํ้า, เมื่อยล้า.
  100. ชระบาบ
    หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. ราบเรียบ, เสมอ.

 แสดงความคิดเห็น