คำในภาษาไทย หมวด ท

คำในภาษาไทย หมวด ท ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ท

คำในภาษาไทย หมวด ท ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง ใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคำบางคำ เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคำบางคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.

  2. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๒๓ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ประมาท บท ธาตุบิสมัท.

  3. หมายถึง [ทะ] ใช้เป็นคำนำหน้านาม แปลว่า คน, ผู้, เช่น ทนาย ทแกล้ว.
  4. ทก
    หมายถึง (แบบ) น. นํ้า. (ป., ส.).
  5. ทก
    หมายถึง (โบ) ว. ทุก เช่น ทกพวก ทกพาย.
  6. ทกล้า,ทแกล้ว
    หมายถึง [ทะกฺล้า, ทะแกฺล้ว] น. ผู้กล้า, ทหาร.
  7. ทงัน
    หมายถึง [ทะงัน] (กลอน) ว. ตระหง่าน, กว้างใหญ่, สูงใหญ่.
  8. ทชี
    หมายถึง [ทะชี] น. นักบวช. (กร่อนมาจาก ท่านชี).
  9. ทด
    หมายถึง ก. กันไว้, กั้นไว้, ทำให้นํ้าท่วมท้นขึ้นมาด้วยทำนบเป็นต้น เช่น ทดนํ้า; แทน, เป็นคำใช้เข้าคู่กันว่า ทดแทน เนื้อความกลายเป็นตอบแทน, บางทีใช้ ทด คำเดียว เช่น ทดข้าวทดปลา; เพิ่ม. น. สิ่งที่ใช้กั้นนํ้า.
  10. ทดรอง
    หมายถึง ก. ออกเงินหรือทรัพย์รองจ่ายไปก่อน.
  11. ทดลอง
    หมายถึง ก. ลองทำ, ลองให้ทำ, ทดสอบข้อสมมุติฐานเป็นต้น.
  12. ทดสอบ
    หมายถึง ก. ตรวจสอบเพื่อความถูกต้องแน่นอน เช่น ทดสอบเครื่องยนต์; (การศึกษา) สอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถเป็นต้น เช่น ทดสอบความรู้ของนักเรียนด้วยการให้ลองปฏิบัติ.
  13. ทดเลข
    หมายถึง ก. ยกจำนวนเลขครบสิบไปไว้เพื่อบวกกับผลของหลักหน้า.
  14. ทดแทน
    หมายถึง ก. ตอบแทน, ชดใช้หรือชดเชยสิ่งที่เสียไป.
  15. ทดโทร่ห
    หมายถึง [-โทฺร่] (แบบ) ก. การคิดประทุษร้าย, ใช้เข้าคู่กับคำ กบฏ เป็น กบฏทดโทร่ห, ทดโท่ ก็ว่า.
  16. ทท
    หมายถึง [ทด, ทะทะ] น. ผู้ให้, มักใช้ประกอบท้ายศัพท์ เช่น กามทท = ผู้ให้สิ่งที่น่าปรารถนา. (ป., ส.).
  17. ทธิ
    หมายถึง [ทะทิ] (แบบ) น. นมส้ม คือนมที่ขึ้นฝาแปรสภาพเป็นนมเปรี้ยว อยู่ในจำพวกเบญจโครส. (ป., ส.).
  18. ทน
    หมายถึง ก. อดกลั้นได้, ทานอยู่ได้, เช่น ทนด่า ทนทุกข์ ทนหนาว, ไม่แตกหักหรือบุบสลายง่าย เช่น ของดีใช้ทน ไม้สักทนกว่าไม้ยาง. ว. แข็งแรง, มั่นคง, เช่น ฟันทน, อึด เช่น วิ่งทน ดำนํ้าทน.
  19. ทนดี
    หมายถึง (แบบ) น. ช้าง. (ป. ทนฺตี; ส. ทนฺตินฺ ว่า สัตว์มีงา).
  20. ทนดี
    หมายถึง ดู ตองแตก.
  21. ทนต,ทนต-,ทนต์
    หมายถึง [ทนตะ-, ทน] (แบบ) น. ฟัน, งาช้าง. (ป., ส. ทนฺต).
  22. ทนตกาษฐ์
    หมายถึง [-กาด] น. ไม้สีฟัน คือท่อนไม้เล็ก ๆ สำหรับถูฟันให้สะอาด ทำจากต้นไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้คนทา. (ส. ทนฺต + กาษฺ).
  23. ทนทาน
    หมายถึง ว. มั่นคง, ไม่เสียหายง่าย.
  24. ทนม
    หมายถึง [ทะนม] (กลอน) น. การข่มใจ, การทรมาน, การฝึกสอนตน. (ป., ส. ทมน).
  25. ทนาย
    หมายถึง [ทะ-] น. ผู้รับใช้, ผู้แทนนาย, (ใช้แก่ผู้มีอำนาจ); คำเรียกทนายความอย่างสั้น ๆ.
  26. ทนายความ
    หมายถึง น. ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่องอรรถคดี, เรียกสั้น ๆ ว่า ทนาย; (กฎ) ผู้ที่สภาทนายความได้รับจดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ; (ปาก) หมอความ; (โบ) ผู้พากย์หนัง.
  27. ทนายหน้าหอ
    หมายถึง (ปาก) น. หัวหน้าคนรับใช้ที่ใช้ออกหน้าออกตา, ผู้รับหน้าแทนนาย.
  28. ทนายเรือน
    หมายถึง (โบ) น. พนักงานฝ่ายในมีหน้าที่ติดต่อกับสถานที่ต่าง ๆ ในพระราชวัง.
  29. ทนายเลือก
    หมายถึง (โบ) น. นักมวยสำหรับป้องกันพระเจ้าแผ่นดิน; ชื่อกรมกรมหนึ่งมีหน้าที่กำกับมวย.
  30. ทนายแผ่นดิน
    หมายถึง (กฎ) ดู อัยการ.
  31. ทนโท่
    หมายถึง ว. ปรากฏชัดแก่ตา, จะแจ้ง, เช่น เห็นอยู่ทนโท่, โทนโท่ ก็ว่า.
  32. ทบ
    หมายถึง ก. พับเข้ามา เช่น ทบผ้า ทบเชือก, เพิ่มเข้า เช่น เอาเชือกมาทบเข้าอีกเส้นหนึ่ง, ลักษณนามเรียกสิ่งที่พับเข้ามาหรือเพิ่มเข้ามา เช่น ผ้าทบหนึ่ง ผ้า ๒ ทบ.
  33. ทบ
    หมายถึง (กลอน) ก. กระทบ เช่น ของ้าวทบทะกัน. (ตะเลงพ่าย).
  34. ทบทวน
    หมายถึง ก. ย้อนกลับทำซํ้าอีกเพื่อให้แม่นยำ เช่น ทบทวนตำรา, ทวนทบ ก็ว่า; พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เช่น ทบทวนนโยบาย.
  35. ทบท่าว
    หมายถึง ก. ทรุดลง, ล้มลง, เช่น เอนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น. (ตะเลงพ่าย).
  36. ทบวง
    หมายถึง [ทะ-] (กฎ) น. ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นกระทรวง อาจสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงก็ได้; ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง แต่เรียกชื่อว่า ทบวง เช่น ทบวงมหาวิทยาลัย.
  37. ทบวงการ
    หมายถึง น. องค์การทางราชการ.
  38. ทบวงการเมือง
    หมายถึง (กฎ) น. ส่วนราชการและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีอำนาจหน้าที่ในทางปกครอง เช่น กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล.
  39. ทมก
    หมายถึง [ทะมก, ทะมะกะ] (แบบ) น. ผู้ทรมาน, ผู้ฝึกตน. (ป.).
  40. ทมนะ
    หมายถึง [ทะมะนะ] (แบบ) น. การทรมาน, การข่ม, การฝึกสอนตน, การปราบ. (ป., ส.).
  41. ทมบ
    หมายถึง [ทะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็นเงา ๆ แต่ไม่ทำอันตรายใคร, ฉมบ หรือ ชมบ ก็ว่า. (ข. ฉฺมบ ว่า หมอตำแย).
  42. ทมอ
    หมายถึง [ทะมอ] ว. สีมอ, สีนกกระเรียน.
  43. ทมะ
    หมายถึง [ทะ-] (แบบ) น. การข่มใจ, การทรมาน, การฝึกตน; อาชญา, การปรับไหม. (ป., ส.).
  44. ทมิฬ
    หมายถึง [ทะมิน] น. ชนพื้นเมืองอินเดียเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันมีอยู่มากทางอินเดียแถบใต้และเกาะลังกาแถบเหนือ, ชื่อภาษาของชนเผ่านั้น. ว. ดุร้าย, ร้ายกาจ, เช่น ใจทมิฬ ยุคทมิฬ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หินชาติ เป็น ใจทมิฬหินชาติ. (ป.).
  45. ทยอย
    หมายถึง [ทะ-] ว. หย่อย ๆ กันไปไม่ขาดระยะ, อาการที่ไปหรือมาทีละน้อย.
  46. ทยอย
    หมายถึง [ทะ-] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง มีชนิดย่อยเป็น ทยอยนอก ทยอยใน ทยอยโอด.
  47. ทยา
    หมายถึง [ทะ-] ว. ดี, สำคัญ, ต้องการ, เช่น ของทยาของเจ้าตะเภาทอง. (ไกรทอง), กูจะให้ขนมเข่งของทยา กินอร่อยหนักหนาประสาจน. (สังข์ทอง), ทายา ก็ใช้.
  48. ทยา
    หมายถึง [ทะ-] (แบบ) น. ความเอ็นดู, ความกรุณา, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น ทยาทิคุณ. (ป., ส.).
  49. ทยาลุ,ทยาลุก
    หมายถึง (แบบ) ว. มีความเอ็นดู, มีความสงสาร. (ป., ส.).
  50. ทร,ทร-
    หมายถึง [ทอระ-] คำอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (ป. ทุ, ทุรฺ; ส. ทุสฺ).
  51. ทรกรรม
    หมายถึง น. การทำให้ลำบาก.
  52. ทรง
    หมายถึง [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  53. ทรงกระเทียม
    หมายถึง [ซง-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Eleocharis dulcis (Burm.f.) Hensch. var. dulcis.ในวงศ์ Cyperaceae ลำต้นกลม มีกาบบาง ๆ หุ้มที่โคน ดอกเป็นกระจุก มีหัวกินได้.
  54. ทรงกลด
    หมายถึง ว. มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์.
  55. ทรงข้าวบิณฑ์
    หมายถึง ดู พุ่มทรงข้าวบิณฑ์.
  56. ทรงตัก
    หมายถึง (ราชา) น. กระบวยสำหรับตักนํ้าอบ.
  57. ทรงบาดาล
    หมายถึง [ซง-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Senna surattensis (Burm.f.) Irwin et Barneby ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบใกล้ยอด ใบอ่อนกินได้ เปลือกและใบใช้ทำยา.
  58. ทรงประพาส
    หมายถึง น. ชื่อฉลองพระองค์ มีรูปเป็นเสื้อกั๊กมีชาย, คู่กับ พระกรน้อย เป็นเสื้อชั้นใน ที่แขนต่อแถบรัด มีสายรัดกับเสื้อทรงประพาส, ชื่อเสื้อยศผู้ว่าราชการเมืองครั้งก่อน; ชื่อหมวกเครื่องยศรูปเป็นกลีบ ๆ มีชายปกข้างและหลัง.
  59. ทรงพระเครื่องใหญ่
    หมายถึง (ราชา) ก. ตัดผม (ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน).
  60. ทรงมัณฑ์
    หมายถึง [ซงมัน] ว. มีรูปทรงกลมหรือเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เรียวขึ้นไปอย่างหัวเม็ดเสาเกย. (สันนิษฐานกันว่า คำว่า มัณฑ์ น่าจะตัดมาจากคำ มณฑป).
  61. ทรงลังกา
    หมายถึง ว. เรียกเจดีย์รูปทรงกลม มีฐานล่างเป็นฐานบัวลูกแก้ว องค์ครรภธาตุมีรูปทรงคล้ายระฆังควํ่า ตอนบนเป็นที่ตั้งของรัตนบัลลังก์ มียอดประดับด้วยปล้องไฉน.
  62. ทรงหม้อตาล
    หมายถึง น. เรียกหมวกที่มีรูปทรงคล้ายหม้อตาลอย่างหมวกที่พลทหารเรือและจ่าทหารเรือเป็นต้นสวมว่า หมวกทรงหม้อตาล.
  63. ทรงเครื่อง
    หมายถึง ก. แต่งตัวมีเครื่องประดับ เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง, มีเครื่องปรุงพิเศษกว่าปรกติ เช่น กระท้อนทรงเครื่อง, ประดิดประดอยให้งดงามเป็นพิเศษ เช่น ตัวหนังสือทรงเครื่อง; (ราชา) ตัดผม (ใช้แก่เจ้านาย).
  64. ทรงเครื่องใหญ่
    หมายถึง (ราชา) ก. ตัดผม (ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน).
  65. ทรงเจ้า
    หมายถึง ก. ทำพิธีเชิญเจ้าเข้าสิงคนทรง. น. เรียกคนสำหรับทรงเจ้าว่า คนทรงเจ้า.
  66. ทรงเจ้าเข้าผี
    หมายถึง ก. เข้าผี, ลงผี.
  67. ทรชน
    หมายถึง น. คนชั่วร้าย, ทุรชน ก็ว่า.
  68. ทรชาติ
    หมายถึง น. ชาติชั่ว.
  69. ทรทึง
    หมายถึง [ทฺระ-] (กลอน) ก. บ่น, บ่นถึง, ทรรทึง ก็ใช้.
  70. ทรทึง
    หมายถึง [ทฺระ-] (กลอน) ก. คอยท่า, ห่วงใย, ทรรทึง ก็ใช้. (ข.).
  71. ทรธึก
    หมายถึง ว. ชั่วยิ่ง, ใช้เรียกวันในตำราหมอดูว่า วันทรธึก หมายความว่า วันชั่วยิ่ง ห้ามทำการมงคลต่าง ๆ.
  72. ทรนาว,ทระนาว
    หมายถึง [ทอระ-] ว. ระนาว, มากมาย, เช่น พบโพหนึ่งในไพรสณฑ์ สาขานฤมล แลลำทรนาวสาวสาร. (สมุทรโฆษ), งั่วนาวทรนาวเนก กรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คำหลวง จุลพน).
  73. ทรพล
    หมายถึง ว. มีกำลังน้อย, อ่อนแอ, ท้อแท้; เลวทราม.
  74. ทรพิษ
    หมายถึง น. ชื่อโรคระบาด มักขึ้นตามตัว เป็นเม็ดเล็ก ๆ ดาษทั่วไป เรียกว่า ไข้ทรพิษ, ฝีดาษ ก็ว่า.
  75. ทรพี
    หมายถึง [ทอระ-] น. เรียกลูกที่ไม่รู้คุณพ่อแม่ว่า ลูกทรพี. ว. เนรคุณถึงประทุษร้ายพ่อแม่.
  76. ทรพี
    หมายถึง [ทอระ-] น. เครื่องตักข้าวและแกงมีรูปร่างคล้ายช้อน แต่ใหญ่กว่า ทำด้วยทองเหลืองเป็นต้น, ทัพพี ก็ว่า. (ส. ทรฺวี; ป. ทพฺพิ).
  77. ทรภิกษ์
    หมายถึง น. การขาดแคลนอาหาร, ข้าวยากหมากแพง.
  78. ทรมาทรกรรม
    หมายถึง [ทอระมาทอระกำ] (ปาก) ก. ทำให้ทนทุกข์ทรมานไม่รู้จักจบจักสิ้น, ทำให้ทนทุกข์ทรมานอย่างยืดเยื้อ.
  79. ทรมาน
    หมายถึง [ทอระมาน] ก. ทำให้ลำบาก, ทำทารุณ เช่น ทรมานตัว ทรมานสัตว์, ทำให้ละพยศหรือลดทิฐิมานะลง. น. ชื่อปางพระพุทธรูปที่ขึ้นต้นด้วยคำนี้ เช่นว่า ปางทรมานช้างนาฬาคิรี ปางทรมานพญานาค. (ป., ส. ทมน).
  80. ทรมุก
    หมายถึง [ทอระ-] น. กรักขี เช่น ทรมุกพรรณดวงจาวก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).
  81. ทรยศ
    หมายถึง ก. คิดร้ายต่อผู้มีอุปการะ, กบฏ.
  82. ทรยุค
    หมายถึง น. ยุคชั่ว.
  83. ทรรทึง
    หมายถึง [ทัน-] (กลอน) ก. บ่น, บ่นถึง, ทรทึง ก็ใช้.
  84. ทรรทึง
    หมายถึง [ทัน-] (กลอน) ก. คอยท่า, ห่วงใย, ทรทึง ก็ใช้. (ข.).
  85. ทรรป
    หมายถึง [ทับ] น. ความโง่, ความเซ่อ; ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความเย่อหยิ่ง, เช่น แลมาให้แก่บาคค่อมขวลทรรป. (ม. คำหลวง ชูชก), ทัป ก็ว่า. (ส. ทรฺป; ป. ทปฺป).
  86. ทรรปณ์,ทรรปณะ
    หมายถึง [ทับ, ทับปะนะ] (แบบ) น. แว่นส่องหน้า, ทัปนะ ก็ใช้. (ส. ทรฺปณ; ป. ทปฺปน).
  87. ทรรศนะ
    หมายถึง [ทัดสะนะ] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทัศนะ ก็ใช้. (ส. ทรฺศน; ป. ทสฺสน).
  88. ทรรศนาการ
    หมายถึง น. อาการดู.
  89. ทรรศนีย์
    หมายถึง [ทัดสะนี] ว. น่าดู, งาม, ทัศนีย์ ก็ใช้. (ส. ทรฺศนีย; ป. ทสฺสนีย).
  90. ทรราช
    หมายถึง น. ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำความเดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน. (อ. tyrant), เรียกลัทธิเช่นนั้นว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราชย์. (อ. tyranny).
  91. ทรลักษณ์
    หมายถึง ว. มีลักษณะที่ถือว่าไม่ดี.
  92. ทรวง
    หมายถึง [ซวง] น. อก, ใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ อก เป็น ทรวงอก, โดยมากใช้ในบทกลอน, ที่ใช้เป็นสามัญก็มีบ้าง เช่น เย็นทรวง. (ข. ทฺรูง).
  93. ทรวด
    หมายถึง [ซวด] (โบ) ก. นูนขึ้น เช่น อันว่าสวภาพท้องบมิทรวดเสมออก. (ม. คำหลวง ทศพร).
  94. ทรวดทรง
    หมายถึง [ซวดซง] น. รูปร่าง, สัณฐาน, (โบ) ซวดทรง.
  95. ทรวาร
    หมายถึง [ทอระวาน] (กลอน) น. ประตู เช่น ตื่นนอนใครแลมาเทงทรวาร. (ม. คำหลวง กุมาร).
  96. ทรสองทรสุม
    หมายถึง [ทอระสองทอระสุม] (กลอน) ก. ซ่องสุม, ประชุมกัน, เช่น ดูทรสองทรสุมผกา. (ม. คำหลวง มหาพน).
  97. ทรสาย
    หมายถึง [ทอระ-] (กลอน) น. พุ่มไม้. ว. สยาย, รุงรัง, เช่น ทรสายกิ่งชื้อชัฏ. (ม. คำหลวง จุลพน), ใช้เข้าคู่กับคำ ทรสุม เป็น ทรสายทรสุม ก็มี เช่น กิ่งทรสายทรสุมผกา. (ม. คำหลวง มหาพน).
  98. ทรสุม
    หมายถึง [ทอระ-] (กลอน) ว. ซึ่งสุมกัน, เป็นกลุ่ม, เป็นพุ่ม, เป็นช่อ, เช่น ไม้ทรสุมสมกิ่งวันนี้. (ม. คำหลวง กุมาร), ใช้เข้าคู่กับคำ ทรสาย เป็น ทรสุมทรสาย ก็มี เช่น ใบทรสุมทรสายศาล. (ม. คำหลวง จุลพน).
  99. ทรหด
    หมายถึง [ทอระ-] ว. อดทน, บึกบึน, ไม่ย่อท้อ, (มักใช้แก่กริยาสู้).
  100. ทรหน
    หมายถึง [ทอระ-] (กลอน) น. ทางลำบาก, ทางกันดาร.

 แสดงความคิดเห็น