คำในภาษาไทย หมวด อ

คำในภาษาไทย หมวด อ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด อ

คำในภาษาไทย หมวด อ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง [อะ] เป็นอักษรใช้นำหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).

  2. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้นได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นำพยัญชนะเดี่ยวได้อย่างอักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นำตัว ย ให้เป็นเสียงอักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็นเครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และประสมกับเครื่องหมายเป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.
  3. อก
    หมายถึง น. ส่วนของร่างกายด้านหน้าอยู่ระหว่างคอกับท้อง; ใจ เช่น อกกรม อกเขาอกเรา; เรียกไม้ที่เป็นแกนกลางของตัวว่าวว่า อกว่าว; เรียกเลื่อยที่มีไม้ยันกลางว่า เลื่อยอก, เรียกไม้อันกลางที่ยันเลื่อยให้ตึงว่า อกเลื่อย.
  4. อก
    หมายถึง น. พวก, หมู่. (อนันตวิภาค).
  5. อก
    หมายถึง ว. หก, (โบ) เรียกลูกหญิงคนที่ ๖ ว่า ลูกอก, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๖ ว่า ลูกลก.
  6. อกกรม
    หมายถึง ว. มีความระทมใจ มักใช้เข้าคู่กับคำ หน้าชื่น เป็น หน้าชื่นอกกรม, หน้าชื่นอกตรม ก็ว่า.
  7. อกคราก
    หมายถึง ว. คำที่กล่าวเปล่งออกมาหมายความว่า หนักเหลือเกิน, เดือดร้อนเหลือเกิน.
  8. อกจะแตก
    หมายถึง อ. คำพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจเป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกจะแตก, อกแตก ก็ว่า.
  9. อกตัญญุตา
    หมายถึง [อะกะตัน-] น. ความเป็นผู้ไม่รู้อุปการคุณที่ท่านทำแก่ตน. (ป.).
  10. อกตัญญู
    หมายถึง [อะกะตัน-] น. ผู้ไม่รู้อุปการคุณที่ท่านทำแก่ตน. (ป.).
  11. อกตั้ง
    หมายถึง ว. เต็มที่, เต็มแรง, เช่น วิ่งอกตั้ง เดินอกตั้ง; เรียกอาการที่นั่งหรือยืนตัวตรงว่า นั่งอกตั้ง ยืนอกตั้ง.
  12. อกตเวทิตา
    หมายถึง [อะกะตะ-] น. ความเป็นผู้ไม่ประกาศอุปการคุณที่ท่านทำแก่ตน, ความเป็นผู้ไม่ตอบแทนอุปการคุณที่ท่านได้ทำแก่ตน, เป็นคำคู่กันกับ อกตัญญุตา. [ป. อ ว่า ไม่ + กต ว่า (อุปการะ) ที่ท่านทำแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ + ตา ว่า ความเป็น].
  13. อกตเวที
    หมายถึง [อะกะตะ-] น. ผู้ไม่ประกาศอุปการคุณที่ท่านทำแก่ตน, ผู้ไม่ตอบแทนอุปการคุณที่ท่านได้ทำแก่ตน, เป็นคำคู่กันกับ อกตัญญู. [ป. อ ว่า ไม่ + กต ว่า (อุปการะ) ที่ท่านทำแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ].
  14. อกทะเล
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง มักร้องหรือบรรเลงเป็นเพลงลา.
  15. อกนิษฐ์
    หมายถึง [อะกะ-] น. รูปพรหมชั้นสูงสุดในพรหม ๑๖ ชั้น. (ส. อกนิษฺ; ป. อกนิฏฺ). ว. ใหญ่ที่สุด, สูงสุด, มากที่สุด.
  16. อกผายไหล่ผึ่ง
    หมายถึง ว. สง่า, องอาจ, ผึ่งผาย.
  17. อกรณีย์
    หมายถึง [อะกะระนี, อะกอระนี] น. กิจที่ไม่ควรทำ. (ป.).
  18. อกรรมกริยา
    หมายถึง [อะกำกฺริยา, อะกำกะริยา] (ไว) น. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน. (ส.).
  19. อกรวบ
    หมายถึง น. อกไม่ผาย. ว. อาการของคนที่วิ่งจนเหนื่อยหอบแทบจะหมดเรี่ยวแรง เรียกว่า วิ่งจนอกรวบ.
  20. อกรา
    หมายถึง ดู กุแล.
  21. อกรากล้วย
    หมายถึง ดู กุแล.
  22. อกร่อง
    หมายถึง น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. อกเป็นร่อง.
  23. อกสั่นขวัญหนี
    หมายถึง ก. ตกใจสุดขีด, ตกใจกลัวอย่างยิ่ง.
  24. อกสั่นขวัญหาย
    หมายถึง ก. ตกใจสุดขีด, ตกใจกลัวอย่างยิ่ง.
  25. อกสั่นขวัญแขวน
    หมายถึง ก. ตกใจสุดขีด, ตกใจกลัวอย่างยิ่ง.
  26. อกสามศอก
    หมายถึง ว. มีร่างกายกำยำล่ำสัน, แข็งแรง, (ใช้แก่ผู้ชาย).
  27. อกหัก
    หมายถึง ว. พลาดหวัง (มักใช้ในด้านความรัก).
  28. อกอีปุกแตก,อกอีแป้นแตก
    หมายถึง อ. คำพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจเป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง).
  29. อกัปปิย,อกัปปิย-,อกัปปิยะ
    หมายถึง [อะกับปิยะ-] ว. ไม่ควร, ไม่เหมาะ. (ป.).
  30. อกัปปิยวัตถุ
    หมายถึง น. สิ่งที่ต้องห้ามไม่ให้บริโภคใช้สอย (ใช้แก่ภิกษุ). (ป.).
  31. อกัปปิยโวหาร
    หมายถึง น. ถ้อยคำที่ไม่ควรใช้พูด. (ป.).
  32. อกุศล,อกุศล-
    หมายถึง [อะกุสน, อะกุสนละ-] ว. ชั่ว, ไม่ดี, ไม่เป็นมงคล. (ส.; ป. อกุสล). น. สิ่งที่ไม่ดี, บาป.
  33. อกุศลกรรม
    หมายถึง [อะกุสนละกำ] น. ความชั่วร้าย, โทษ, บาป. (ส. อกุศล + กรฺมนฺ; ป. อกุสลกมฺม).
  34. อกุศลกรรมบถ
    หมายถึง [อะกุสนละกำมะบด] น. ทางแห่งความชั่ว, ทางบาป, มี ๑๐ อย่าง คือ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓. (ส. อกุศล + กรฺมนฺ + ปถ; ป. อกุสลกมฺมปถ).
  35. อกุศลมูล
    หมายถึง [อะกุสนละมูน] น. รากเหง้าแห่งความชั่ว มี ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ.
  36. อกุศลเจตนา
    หมายถึง [อะกุสนละเจดตะนา] น. ความตั้งใจเป็นบาป, ความคิดชั่ว. (ส.; ป. อกุสลเจตนา).
  37. อกเต่า
    หมายถึง ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะแบนแฟบอย่างอกของเต่า.
  38. อกเมือง
    หมายถึง (กลอน) น. ส่วนสำคัญของเมือง.
  39. อกเลา
    หมายถึง น. ไม้ที่เป็นสันทาบอยู่ที่บานประตูหรือหน้าต่างแบบโบราณ เพื่อบังช่องที่บานประตูหรือหน้าต่างทั้ง ๒ บานประกับกัน.
  40. อกแตก
    หมายถึง ว. ลักษณะของเมืองหรือวัดเป็นต้นซึ่งมีลำนํ้าหรือทางผ่ากลาง เรียกว่า เมืองอกแตก วัดอกแตก; อาการของคนที่เก็บความรู้สึกอัดอั้นตันใจไว้จนทนไม่ไหว. อ. คำพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจเป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกแตก, อกจะแตก ก็ว่า.
  41. อกแล
    หมายถึง ดู กุแล.
  42. อกแลกล้วย
    หมายถึง ดู กุแล.
  43. อกโรย
    หมายถึง ว. อาการของคนที่มีลักษณะผอมจนเห็นกระดูกอก.
  44. อกไก่
    หมายถึง น. เรียกอกคนที่มีลักษณะนูนยื่นออกมาอย่างอกของไก่; ชื่อลวดบัวแบบหนึ่ง มีลักษณะนูนเป็นสันขึ้นอย่างอกของไก่ เรียกว่า บัวอกไก่.
  45. อกไก่
    หมายถึง น. ไม้เครื่องบนที่พาดเบื้องบนเป็นสันหลังคาเหนือใบดั้ง.
  46. อกไหม้ไส้ขม
    หมายถึง (สำ) ก. เป็นทุกข์อย่างแสนสาหัส.
  47. อคติ
    หมายถึง [อะคะ-] น. ความลำเอียง มี ๔ อย่าง คือ ฉันทาคติ = ความลำเอียงเพราะรัก โทสาคติ = ความลำเอียงเพราะโกรธ ภยาคติ = ความลำเอียงเพราะกลัว โมหาคติ = ความลำเอียงเพราะเขลา. (ป.).
  48. อคาธ
    หมายถึง [อะคาด] น. เหว. ว. หยั่งไม่ถึง. (ป., ส.).
  49. อคาร,อคาร-
    หมายถึง [อะคาระ-] น. อาคาร. (ป., ส.).
  50. อคเนสัน
    หมายถึง [อะคะ-] น. ชื่อฝีร้ายชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นที่กลางหลัง.
  51. อฆะ
    หมายถึง [อะคะ] น. อากาศ, ฟ้า. (ป.).
  52. อฆะ
    หมายถึง [อะคะ] น. ความชั่ว, บาป, ความทุกข์ร้อน. (ป., ส.).
  53. อง
    หมายถึง น. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกายชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. (ญ.).
  54. องก์
    หมายถึง น. ตอนหนึ่ง ๆ ในบทละคร แต่ละตอนอาจมีเพียงฉากเดียวหรือหลายฉากก็ได้. (ป., ส. องฺก).
  55. องค-
    หมายถึง [องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).
  56. องค
    หมายถึง [องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).
  57. องคชาต
    หมายถึง [องคะ-] น. อวัยวะสืบพันธุ์ของชาย. (ป., ส. องฺคชาต ว่า อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหญิง).
  58. องคมนตรี
    หมายถึง [องคะ-] น. ผู้มีตำแหน่งที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์.
  59. องคมรรษ
    หมายถึง [องคะมัด] น. โรคขัดในข้อ. (ส. องฺคมรฺษ).
  60. องครักษ์
    หมายถึง [องคะ-] น. ผู้ทำหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกัน เช่น องครักษ์นักการเมือง.
  61. องควิการ
    หมายถึง [องคะวิกาน] น. ความชำรุดแห่งอวัยวะต่าง ๆ มีตาบอด แขนหัก เป็นต้น. (ป.).
  62. องควิทยา
    หมายถึง [องคะ-] น. ความรู้เรื่องลักษณะดีชั่วปรากฏตามร่างกาย. (ส.; ป. องฺควิชฺชา).
  63. องควิเกษป
    หมายถึง [องคะวิกะเสบ] น. ท่าทาง, อาการเคลื่อนไหว. (ส. องฺควิเกฺษป; ป. องฺค + วิกฺเขป).
  64. องคาพยพ
    หมายถึง [องคาบพะยบ, องคาพะยบ] น. ส่วนน้อยและใหญ่แห่งร่างกาย, อวัยวะน้อยใหญ่. (ป. องฺค+ อวยว).
  65. องคุละ
    หมายถึง [-คุละ] น. นิ้วมือ, นิ้วเท้า. (ป., ส.).
  66. องคุลี
    หมายถึง น. นิ้วมือ; ชื่อมาตราวัดแต่โบราณ ยาวเท่ากับข้อปลายของนิ้วกลาง. (ป., ส.).
  67. องค์
    หมายถึง [อง] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).
  68. องค์กฐิน
    หมายถึง น. ผ้ากฐิน, ผ้าผืนที่ถวายสงฆ์เพื่อกรานกฐิน.
  69. องค์กร
    หมายถึง น. บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรของรัฐสภา, ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย. (อ. organ).
  70. องค์การ
    หมายถึง น. ศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายหรือในตราสารจัดตั้งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ. (อ. organization).
  71. องค์การสหประชาชาติ
    หมายถึง ดู สหประชาชาติ.
  72. องค์ประกอบ
    หมายถึง น. สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่, ส่วนของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบทำให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ, ส่วนประกอบ ก็เรียก
  73. องค์ประชุม
    หมายถึง น. จำนวนสมาชิกหรือกรรมการที่มาประชุมตามข้อบังคับการประชุมที่กำหนดไว้ เช่น กรรมการต้องมาประชุมอย่างน้อยครึ่งหนึ่งจึงจะถือว่าเป็นองค์ประชุม.
  74. องศา
    หมายถึง น. หน่วยในการวัดขนาดของมุม โดยกำหนดให้มุมที่รองรับโค้ง ๑ ใน ๓๖๐ ส่วนของเส้นรอบวง มีขนาด ๑ องศา และ ๙๐ องศา เป็น ๑ มุมฉาก; หน่วยในการวัดอุณหภูมิตามชนิดของเครื่องวัด; (โหร) น. ส่วนหนึ่งของจักรราศี คือ วงกลมในท้องฟ้า แบ่งจักรราศีออกเป็น ๑๒ ราศี และแบ่ง ๑ ราศีออกเป็น ๓๐ องศา ฉะนั้นวงกลมจึงเท่ากับ ๓๖๐ องศา. (ส. อํศ).
  75. องศ์
    หมายถึง น. ส่วน, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ไตรยางศ์ (ตฺรย + อํศฺ) ว่า ๓ ส่วน.
  76. องอาจ
    หมายถึง ว. มีลักษณะสง่าผึ่งผาย, อาจอง ก็ว่า.
  77. องุ่น
    หมายถึง [อะหฺงุ่น] น. ชื่อไม้เถาชนิด Vitis vinifera L. ในวงศ์ Vitaceae ผลเป็นพวง กินได้หรือใช้หมักทำเหล้า เรียก เหล้าองุ่น.
  78. อจระ
    หมายถึง [อะจะระ] ว. เคลื่อนไม่ได้, ไปไม่ได้. (ป., ส.).
  79. อจล,อจล-
    หมายถึง [อะจะละ-] ว. ไม่หวั่นไหว, ไม่คลอนแคลน, เช่น อจลศรัทธา. (ป., ส.).
  80. อจลา
    หมายถึง [อะจะ-] น. แผ่นดิน. (ส.).
  81. อจิตติ
    หมายถึง น. ความขาดสติ, ความมัวเมา. (ส.).
  82. อจินตา
    หมายถึง [-จิน-] น. การขาดความคิด. (ส.).
  83. อจินไตย
    หมายถึง [-จินไต] ว. ที่พ้นความคิด, ไม่ควรคิด, (สิ่งที่เป็นอจินไตยมีอยู่ ๔ อย่างด้วยกัน คือ พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑). (ป. อจินฺเตยฺย; ส. อจินฺตฺย).
  84. อจิร,อจิร-,อจิระ
    หมายถึง [อะจิระ-] ว. ไม่นาน. (ป., ส.).
  85. อชะ
    หมายถึง [อะชะ] น. แพะ. (ป., ส.).
  86. อชา
    หมายถึง น. แพะตัวเมีย. (ป., ส.).
  87. อชิน
    หมายถึง น. หนังรองนั่งของนักพรต; หนังสัตว์, หนังเสือ. (ป., ส.).
  88. อชินี
    หมายถึง น. เสือเหลือง. (ป.).
  89. อชิระ
    หมายถึง น. สนามรบ, ที่ว่าง, ลาน. ว. คล่อง, ว่องไว, ตัวเบา. (ส.).
  90. อฏวี
    หมายถึง [อะตะ-] น. ดง, ป่า, พง. (ป., ส.).
  91. อณิ
    หมายถึง น. ลิ่ม, สลัก, ลิ่มที่สลักปลายเพลาไม่ให้ลูกล้อหลุด; ขอบ, ที่สุด. (ป., ส. อาณิ).
  92. อณุ,อณู,อณู
    หมายถึง น. มาตราวัดโบราณ ๓๖ ปรมาณู เป็น ๑ อณู. ว. เล็ก, น้อย; ละเอียด. (ป., ส. อณุ).
  93. อณู
    หมายถึง น. ส่วนของสารที่ประกอบด้วยปรมาณู. (ป., ส. อณุ).
  94. อด
    หมายถึง ก. กลั้น เช่น เหลืออด, งดเว้น เช่น อดฝิ่น อดอาหาร; ไม่ได้, ไม่สมหวัง, เช่น อดรับรางวัล อดดู; ไม่มีอะไรกิน เช่น อดอยู่ทั้งวัน. ว. ทน เช่น ดำนํ้าอด.
  95. อด ๆ อยาก ๆ
    หมายถึง ก. กินอยู่อย่างฝืดเคือง, มีกินบ้างไม่มีกินบ้าง.
  96. อดกลั้น
    หมายถึง ก. ระงับอารมณ์.
  97. อดตาหลับขับตานอน
    หมายถึง ก. สู้ทนอดนอน.
  98. อดทน
    หมายถึง ก. บึกบึน, ยอมรับสภาพความยากลำบาก.
  99. อดนม
    หมายถึง ก. เลิกกินนมแม่ (ใช้แก่เด็กและลูกสัตว์), หย่านม ก็ว่า.
  100. อดมื้อกินมื้อ
    หมายถึง ก. มีกินบ้างไม่มีกินบ้าง.

 แสดงความคิดเห็น