คำในภาษาไทย หมวด ภ

คำในภาษาไทย หมวด ภ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ภ

คำในภาษาไทย หมวด ภ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๓๒ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ปรารภ ลาภ.
  2. ภควดี
    หมายถึง [พะคะวะดี] ใช้เป็นคำเรียกสตรีที่เคารพ เช่น พระมหิษี พระอุมา พระลักษมี. (ป., ส. ภควตี).
  3. ภควัต,ภควันต์,ภควา,ภควาน
    หมายถึง [พะคะ-] น. นามพระเป็นเจ้า, นามพระพุทธเจ้า, พระผู้เป็นเจ้า, พระผู้มีพระภาค. (ป., ส.).
  4. ภควัม
    หมายถึง [พะคะ-] น. พระเครื่องรางชนิดหนึ่ง มีพระพักตร์ควํ่าและปิดทวารทั้ง ๙ คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑, โดยปริยายใช้เรียกคนที่ทำหน้าควํ่าหน้างอไม่รับแขกว่า ทำหน้าเป็นภควัม หรือหน้าควํ่าเป็นภควัม; หินชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปร่างอย่างนั้น.
  5. ภคะ
    หมายถึง (แบบ) น. โชคดี, ความเจริญ, เกียรติ. (ป., ส.).
  6. ภคันทลา
    หมายถึง [พะคันทะลา] น. โรคริดสีดวงทวารหนัก. (ป.; ส. ภคํทร).
  7. ภคินี
    หมายถึง [พะ-] น. พี่หญิง, น้องหญิง. (ป., ส.).
  8. ภณะ
    หมายถึง [พะ-] (แบบ) ก. กล่าว, พูด, บอก. (ป., ส.).
  9. ภณิดา
    หมายถึง [พะ-] น. ผู้พูด, ผู้บอก. (ส. ภณิตา).
  10. ภพ
    หมายถึง [พบ] น. โลก, แผ่นดิน; วัฏสงสาร. (ป. ภว).
  11. ภมการ
    หมายถึง [พะมะกาน] น. ช่างกลึง. (ป.).
  12. ภมร
    หมายถึง [พะมอน] น. แมลงผึ้ง, แมลงภู่, ใช้ว่า ภุมระ ก็มี; เครื่องกลึง. ก. หมุน. (ป.; ส. ภฺรมร).
  13. ภมริน
    หมายถึง [พะมะริน] น. ผึ้งทั่วไป, ใช้ว่า ภุมริน ก็ได้.
  14. ภมรี
    หมายถึง [พะมะรี] น. ผึ้ง, ผึ้งตัวเมีย, ผึ้งทั่วไป, ใช้ว่า ภุมรี ก็ได้. (ป.).
  15. ภมุ,ภมุกะ,ภมุกา
    หมายถึง [พะ-] น. คิ้ว. (ป.; ส. ภฺรู).
  16. ภย,ภย-
    หมายถึง [พะยะ-] (แบบ) น. ความกลัว, ของที่น่ากลัว. (ป., ส.).
  17. ภยันตราย
    หมายถึง [พะยันตะราย] น. ภัยและอันตราย. (ป.).
  18. ภยาคติ
    หมายถึง [พะยาคะติ] น. ความลำเอียงเพราะความกลัว เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. ภย + อคติ).
  19. ภรณี
    หมายถึง [พะระนี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปแม่ไก่, ดาวก้อนเส้า ก็เรียก. (ป., ส.).
  20. ภรณีภู
    หมายถึง น. ผู้เกิดจากดาวภรณี คือ พระราหู. (ส.).
  21. ภรต,ภรต-
    หมายถึง [พะรด, พะระตะ-, พะรดตะ-] น. ผู้เต้นรำ, ผู้แสดงละคร. (ส.).
  22. ภรตวรรษ
    หมายถึง [พะรดตะวัด] น. แผ่นดินแห่งท้าวภรต คือ อินเดีย. (ส. ภรตวรฺษ).
  23. ภรตศาสตร์
    หมายถึง [พะรดตะ-] น. วิชาฟ้อนรำทำเพลง.
  24. ภรรดร,ภรรดา
    หมายถึง [พันดอน, พันดา] น. ผัว เช่น ปัญหามีแต่จักหา ภรรดาสมศักดิ์สมศรี หาได้ใช่ง่ายชายดี สมกับเทวีลูกเรา. (กนกนคร), ใช้ว่า ภัสดา ก็ได้, โบราณใช้ว่า ภรัสดาษ ก็มี. (ส. ภรฺตฺฤ; ป. ภตฺตา).
  25. ภรรยา
    หมายถึง [พันยา, พันระยา] น. ภริยา, เมีย, หญิงที่เป็นคู่ครองของชาย, คู่กับ สามี. (ส. ภารฺยา; ป. ภริยา).
  26. ภระ
    หมายถึง ก. เลี้ยงดู, คํ้าจุน. (ป.).
  27. ภระมร
    หมายถึง [พฺระมอน] น. ภมร.
  28. ภระมรี
    หมายถึง [พฺระมะรี] น. ภมรี.
  29. ภรัสดาษ
    หมายถึง [พฺรัดสะดาด] (โบ) น. ภรรดา, ผัว.
  30. ภราดร,ภราดา,ภราตร,ภราตร-,ภราตฤ,ภราตฤ-
    หมายถึง [พะราดอน, พะราดา, พะราตฺระ-, พะราตฺรึ-] น. พี่ชาย, น้องชาย. (ส. ภฺราตฺฤ; ป. ภาตา, ภาตุ).
  31. ภราดรภาพ,ภราตรภาพ,ภราตฤภาพ
    หมายถึง [พะราดะระพาบ, พะราดอนระพาบ, -ตฺระ-, -ตฺรึ-] น. ความเป็นฉันพี่น้องกัน.
  32. ภริยา
    หมายถึง [พะริ-] น. ภรรยา, เมีย, หญิงที่เป็นคู่ครองของชาย, คู่กับ สามี. (ป.; ส. ภารฺยา).
  33. ภรู
    หมายถึง [พฺรู] น. คิ้ว. (ส. ภฺรู; ป. ภู).
  34. ภรูมณฑล
    หมายถึง น. คิ้ว. (ส.).
  35. ภฤงคาร
    หมายถึง [พฺริง-] น. หม้อนํ้า, เต้านํ้า. (ส.; ป. ภิงฺคาร).
  36. ภฤดก
    หมายถึง [พฺรึ-] น. ลูกจ้าง. (ส. ภฺฤตก; ป. ภตก).
  37. ภฤดี
    หมายถึง [พฺรึ-] น. ค่าจ้าง, สินจ้าง. (ส. ภฺฤติ; ป. ภติ).
  38. ภฤตย์
    หมายถึง [พฺรึด] น. คนรับใช้, คนใช้. (ส. ภฺฤตฺย; ป. ภจฺจ).
  39. ภฤศ
    หมายถึง [พฺรึด] ว. มาก, กล้า, จัด. (ส. ภฺฤศมฺ; ป. ภุส).
  40. ภฤษฏ์
    หมายถึง [พฺรึด] ก. ตก, ร่วง, หล่น. [ส. ภฺรษฺฏ (ภฺรํศฺ ธาตุ); ป. ภฏฺ].
  41. ภฤษฏ์
    หมายถึง [พฺรึด] ก. ปิ้ง เคี่ยว หรือคั่วแล้ว. [ส. ภฺรษฺฏ (ภฺรชฺชฺ ธาตุ); ป. ภฏฺ].
  42. ภว,ภว-,ภวะ
    หมายถึง [พะวะ-] น. ความเกิด, ความมี, ความเป็น; ภพ. (ป., ส.).
  43. ภวกษัย
    หมายถึง [พะวะกะไส] น. ความสิ้นภพ, นิพพาน. (ส.).
  44. ภวตัณหา
    หมายถึง น. ตัณหาเป็นไปในภพ คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากเกิด. (ป.).
  45. ภวนะ
    หมายถึง [พะวะ-] น. เรือนขนาดใหญ่. (ส.).
  46. ภวปาระ
    หมายถึง น. ฝั่งแห่งภพ คือ นิพพาน. (ป.).
  47. ภวัคระ
    หมายถึง [พะวักคฺระ] น. พรหมชั้นสูง, เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็เรียก. (ส. ภวาคฺร; ป. ภวคฺค).
  48. ภวังค,ภวังค-,ภวังค์
    หมายถึง [พะวังคะ-] น. ส่วนที่สืบต่อระหว่างปฏิสนธิกับจุติ มิได้เสวยอารมณ์ในทวารทั้ง ๖ มีจักษุทวารเป็นต้น. (ป.); ความเป็นอยู่โดยไม่รู้สึกตัว.
  49. ภวังคจิต
    หมายถึง น. จิตเป็นภวังค์. (ป.).
  50. ภวันดร
    หมายถึง [พะวันดอน] น. ภพอื่น, ภพภายหน้า. (ป.; ส. ภวานฺตร).
  51. ภวาภพ
    หมายถึง น. ความเป็นอยู่และมิใช่ความเป็นอยู่, ภพและมิใช่ภพ; ภพน้อยภพใหญ่. (ป., ส. ภวาภว).
  52. ภักขะ
    หมายถึง น. เหยื่อ, อาหาร. (ป. ภกฺข; ส. ภกฺษ).
  53. ภักดี
    หมายถึง น. ความจงรัก, ความเลื่อมใสยิ่ง. (ส. ภกฺติ; ป. ภตฺติ).
  54. ภักต,ภักต-,ภักตะ
    หมายถึง [พักตะ-] น. ผู้ภักดี, สาวก. (ส.); อาหาร, ข้าวสุก, ของกินซึ่งสุกด้วยน้ำ. (ส. ภกฺต; ป. ภตฺต).
  55. ภักตกฤตย์
    หมายถึง [-กฺริด] น. การกินอาหาร. (ส. ภกฺตกฺฤตฺย; ป. ภตฺตกิจฺจ).
  56. ภักติ
    หมายถึง น. ภักดี. (ส.; ป. ภตฺติ).
  57. ภักษ,ภักษ-,ภักษ์
    หมายถึง [พักสะ-, พัก] น. เหยื่อ, อาหาร. ก. กิน. (ส. ภกฺษ; ป. ภกฺข).
  58. ภักษการ
    หมายถึง น. คนทำอาหาร, คนครัว. (ส.).
  59. ภักษา
    หมายถึง น. เหยื่อ, อาหาร. (ส. ภกฺษ; ป. ภตฺต).
  60. ภักษาหาร
    หมายถึง น. เหยื่อ, อาหาร, อาหารที่กินประจำ, เช่น เนื้อเป็นภักษาหารของเสือ หญ้าเป็นภักษาหารของวัว.
  61. ภัค
    หมายถึง น. โชคดี, ความเจริญ, เกียรติ. (ป. ภค).
  62. ภัคน์
    หมายถึง น. แตก, หัก. (ส. ภคฺน).
  63. ภังค,ภังค-,ภังคะ
    หมายถึง [-คะ-] น. การแตก, การทำลาย; ความยับเยินล่มจม. (ป., ส.); ผ้าชนิดหนึ่งทอด้วยของหลายสิ่งเช่นผ้าด้ายแกมไหม.
  64. ภังคี
    หมายถึง น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
  65. ภัจ
    หมายถึง น. ภฤตย์, คนรับใช้, คนใช้. (ป. ภจฺจ; ส. ภฺฤตฺย).
  66. ภัญชะ
    หมายถึง ก. ทำให้แตก, หัก. (ป., ส.).
  67. ภัณฑ,ภัณฑ-,ภัณฑ์
    หมายถึง น. สิ่งของ, เครื่องใช้. (ป.; ส. ภาณฺฑ).
  68. ภัณฑครรภ
    หมายถึง [พันดะคับ] น. ห้องเก็บของ. (ส. ภาณฺฑครฺภ; ป. ภณฺฑคพฺภ).
  69. ภัณฑนะ
    หมายถึง [พันดะนะ] (แบบ) น. การทะเลาะ, การทุ่มเถียง, การแก่งแย่ง. (ป.; ส. ภณฺฑน, ภาณฺฑน).
  70. ภัณฑาคาร
    หมายถึง [พันดาคาน, พันทาคาน] น. โรงไว้ของ, คลังเก็บของ. (ป.).
  71. ภัณฑาคาริก
    หมายถึง [พันดาคาริก, พันทาคาริก] น. เจ้าหน้าที่ผู้รักษาคลังเก็บสิ่งของของสงฆ์. (ป.).
  72. ภัณฑารักษ์
    หมายถึง [พันทารัก] น. ผู้ดูแลรักษาสิ่งของ โดยมากได้แก่จำพวกโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในพิพิธภัณฑสถานเป็นต้น. (ส. ภาณฺฑารกฺษ).
  73. ภัณฑู
    หมายถึง [พันดู] (แบบ) ว. โล้น, ล้าน. (ป. ภณฺฑุ).
  74. ภัณฑูกรรม
    หมายถึง น. การปลงผม. (ป. ภณฺฑุกมฺม).
  75. ภัต,ภัต-,ภัตร
    หมายถึง [พัด, พัดตะ-, พัด] น. อาหาร, ข้าว. (ป. ภตฺต).
  76. ภัตกิจ
    หมายถึง น. การกินอาหาร.
  77. ภัตตาคาร
    หมายถึง น. อาคารที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ค่อนข้างใหญ่และหรูหรา. (ป. ภตฺต + อคาร).
  78. ภัตตาหาร
    หมายถึง น. อาหารสำหรับภิกษุสามเณรฉัน. (ป. ภตฺต + อาหาร).
  79. ภัทร,ภัทร-,ภัทระ
    หมายถึง [พัดทฺระ-] ว. ดี, เจริญ, ประเสริฐ, งาม, น่ารัก, เป็นมงคล. (ส. ภทฺร; ป. ภทฺท, ภทฺร).
  80. ภัทรกัป
    หมายถึง น. กัปอันเจริญ คือ กัปปัจจุบัน มีพระพุทธเจ้าถึง ๕ พระองค์. (ป. ภทฺรกปฺป, ภทฺทกปฺป).
  81. ภัทรกุมภ์
    หมายถึง น. หม้อบรรจุนํ้าศักดิ์สิทธิ์. (ส.).
  82. ภัทรบทมาส
    หมายถึง [พัดทฺระบดทะมาด] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ภัทรปทา คือ เดือน ๑๐ ตกในราวเดือนกันยายน.
  83. ภัทรบิฐ
    หมายถึง น. แท่นสำหรับเทพบดี หรือพระราชาประทับ ถือว่าเป็นมงคล. (ส.).
  84. ภัพ
    หมายถึง ว. ดี, งาม, เหมาะ, ควร. (ป. ภพฺพ; ส. ภวฺย, ภาวฺย).
  85. ภัย
    หมายถึง น. สิ่งที่น่ากลัว, อันตราย, เช่น อัคคีภัย คือ ภัยที่เกิดจากไฟ อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดจากน้ำ. (ป., ส. ภย).
  86. ภัสดา
    หมายถึง [พัดสะ-] น. ภรรดา, ผัว. (ส. ภฺรตฺฤ; ป. ภตฺตา).
  87. ภัสตรา
    หมายถึง [พัดสะตฺรา] (แบบ) น. สูบลม. (ส.).
  88. ภัสมะ
    หมายถึง [พัดสะ-] น. เถ้า, ธุลี. ก. ทำให้แหลก. ว. แหลก, ละเอียด. (ป., ส.).
  89. ภัสสร
    หมายถึง [พัดสอน] น. แสงสว่าง, รัศมี. (ป.).
  90. ภา
    หมายถึง น. แสงสว่าง, รัศมี. (ป., ส.).
  91. ภากร
    หมายถึง น. พระอาทิตย์. (ป.).
  92. ภาค,ภาค-
    หมายถึง [พาก, พากคะ-] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษาภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้านการปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).
  93. ภาคตัดกรวย
    หมายถึง (คณิต) น. ระบบเส้นโค้งซึ่งกำหนดขึ้นโดยอัตราส่วนระหว่างระยะจากจุดบนเส้นโค้งไปยังจุดโฟกัสกับระยะตั้งฉากจากจุดนั้นไปยังเส้นไดเรกตริกซ์ อัตราส่วนดังกล่าวมีค่าคงตัวเสมอ.
  94. ภาคทฤษฎี
    หมายถึง น. ภาคที่เกี่ยวกับความคิดเห็นอันเนื่องด้วยหลักวิชา, คู่กับ ภาคปฏิบัติ.
  95. ภาคทัณฑ์
    หมายถึง [พากทัน] ก. ตำหนิโทษ, คาดโทษ, ลงโทษเพียงว่ากล่าว, ลงโทษข้าราชการพลเรือนโดยตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นการลงโทษขั้นเบาที่สุด. (ส. วาคฺทณฺฑ = ลงโทษเพียงว่ากล่าว).
  96. ภาคนิพนธ์
    หมายถึง [พากคะ-, พาก-] น. รายงานการค้นคว้าประจำภาคเรียน. (อ. term paper).
  97. ภาคปฏิบัติ
    หมายถึง น. ภาคลงมือทดลองทำจริง ๆ, คู่กับ ภาคทฤษฎี.
  98. ภาคพื้น
    หมายถึง น. พื้นแผ่นดิน, แผ่นดินใหญ่ เช่น ภาคพื้นยุโรป ภาคพื้นเอเชีย.
  99. ภาคภูมิ
    หมายถึง [พากพูม] ว. มีสง่า, ผึ่งผาย, เช่น เขาแต่งตัวภาคภูมิ ท่าทางเขาภาคภูมิ.
  100. ภาคภูมิใจ
    หมายถึง ก. กระหยิ่มใจ, รู้สึกว่ามีเกียรติยศ, เช่น เขาภาคภูมิใจในความสำเร็จ.

 แสดงความคิดเห็น