คำในภาษาไทย หมวด ข
รวมคำในภาษาไทย หมวด ข
คำในภาษาไทย หมวด ข ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ข
หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๒ เป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต. - ขง
หมายถึง (โบ) น. กรุง, บางทีเขียนเป็น โขง. (“กรุง” เป็น “ขุง” และเป็น “ขง” อย่าง ทุ่ง-ท่ง, มุ่ง-ม่ง). - ขงจื๊อ
หมายถึง น. ชื่อศาสนาสำคัญศาสนาหนึ่งของจีน มีศาสดาชื่อขงจื๊อ. - ขจร
หมายถึง [ขะจอน] ดู สลิด ๑. - ขจร
หมายถึง [ขะจอน] ก. ฟุ้งไป. (ข. ขฺจร ว่า ฟุ้งไป แผลงเป็น กำจร ก็ได้; ป., ส. ข = อากาศ + จร = ไป). - ขจรจบ
หมายถึง [ขะจอน-] น. ชื่อหญ้าชนิด Pennisetum pedicellatum Trin. และ P. polystachyon (L.) Schult. ในวงศ์ Gramineae แพร่พันธุ์รวดเร็วมากและปราบยาก หญ้าทั้ง ๒ ชนิดนี้ต้นอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์ ต้นแก่ใช้ทำกระดาษได้. - ขจอก
หมายถึง [ขะ-] ว. กระจอก, ง่อย, ขาเขยก. (ข. ขฺจก ว่า ขาเขยก, พิการ). - ขจัด
หมายถึง [ขะ-] ก. กำจัด เช่น ขจัดความสกปรก; กระจัด, แยกย้ายออกไป. (ข. ขฺจาต่ ว่า พลัด, แยก). - ขจัดขจาย
หมายถึง ก. กระจัดกระจาย. - ขจาย
หมายถึง [ขะ-] ก. กระจาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ขจร เป็น ขจรขจาย. (ข. ขฺจาย). - ขจาว
หมายถึง [ขะ-] (ถิ่น-พายัพ, ปักษ์ใต้) น. ต้นกระเชา. (ดู กระเชา). - ขจิต
หมายถึง [ขะ-] ก. ประดับ, ตกแต่ง. (ป.). - ขจิริด
หมายถึง [ขะ-] ว. กระจิริด. - ขจี
หมายถึง [ขะ-] ว. งามสดใส, ใช้ในคำว่า เขียวขจี. (ข. ขฺจี ว่า ดิบ, อ่อน). - ขจุย
หมายถึง [ขะ-] ว. กระจุย. - ขจ่าง
หมายถึง [ขะ-] ก. กระจ่าง เช่น จวบแจ้งขจ่างจา มิกราจำรัสศรี. (สรรพสิทธิ์). - ขณะ
หมายถึง [ขะหฺนะ] น. ครู่, ครั้ง, คราว, เวลา, สมัย. (ป.; ส. กษณ). - ขด
หมายถึง ก. ม้วนตัวให้เป็นวง ๆ เช่น งูขด, ทำให้เป็นวง ๆ เช่นนั้น เช่น เอาลวดมาขด, งอหรือทำให้งอ เช่น นอนขด ขดให้เป็นลวดลาย. น. สิ่งที่เป็นวง ๆ, ลักษณนามเรียกของที่เป็นวง ๆ เช่นนั้น เช่น เชือก ๓ ขด. - ขด
หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) ก. ขยด, เขยิบ, กระเถิบ. - ขดถวาย
หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) ก. ขัดสมาธิ. - ขดาน
หมายถึง [ขะ-] (โบ) น. กระดาน เช่น นางทายขดานผทับแด ไฟสมรลามแล ลืมพาษปธาราราย. (สมุทรโฆษ). - ขตอย
หมายถึง [ขะ-] น. แมงป่อง. (ข. ขฺทวย). - ขทิง
หมายถึง [ขะ-] (โบ) น. ปลากระทิง. - ขทิง
หมายถึง [ขะ-] (โบ) น. กระดิ่ง, กระดึง, เช่น ขทิงทอง รนนทดโยง ลยวแล่ง. (กำสรวล). - ขทิง
หมายถึง [ขะ-] (โบ) น. ต้นกระทิง. - ขทึง
หมายถึง [ขะ-] (โบ) น. กระดิ่ง, กระดึง. - ขทึง
หมายถึง [ขะ-] (โบ) น. ต้นกระทิง. - ขน
หมายถึง น. ชื่อหญ้าชนิด Brachiaria mutica (Forssk.) Stapf ในวงศ์ Gramineae ขึ้นในที่ชื้นและชายนํ้า ข้อ กาบใบ และใบมีขน ใช้เป็นอาหารสัตว์, ปล้องขน ก็เรียก. - ขน
หมายถึง น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา. - ขน
หมายถึง ก. เอาสิ่งของเป็นต้นจำนวนมากจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยบรรทุก หาบ หาม หรือด้วยวิธีอื่น. - ขน
หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) ก. กรน เช่น คนนอนหลับขน ว่า คนนอนหลับกรน. - ขนง
หมายถึง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง. - ขนงเนื้อ
หมายถึง [ขะหฺนง-] น. หนังสัตว์ที่เผาไฟให้สุกแล้วต้มให้เปื่อย เพื่อปรุงเป็นอาหาร. - ขนด
หมายถึง [ขะหฺนด] น. ตัวงูที่ขด; ลูกบวบจีวร; โคนหางงู มักเรียกว่า ขนดหาง. - ขนทรายเข้าวัด
หมายถึง ก. ทำบุญกุศลโดยวิธีนำหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ทรายเป็นต้นที่วัด, (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม. - ขนน
หมายถึง [ขะหฺนน] น. หมอนอิง. (ข. ขฺนล่ ว่า หมอนอิง, ขอนที่ใช้เป็นหมอน). - ขนบ
หมายถึง [ขะหฺนบ] น. แบบอย่าง, แผน, ระเบียบ; กลีบ, รอยที่พับ (ของสมุดข่อย หรือผ้าจีบ หรือจีวร เป็นต้น); ชั้น เช่น ขนบหิน. (ข. ขฺนบ่ ว่า สิ่งที่อยู่ในห่อ, ที่หมก). - ขนบธรรมเนียม
หมายถึง [ขะหฺนบทำ-] น. แบบอย่างที่นิยมกันมา. - ขนบประเพณี
หมายถึง น. จารีตประเพณีที่วางเป็นระเบียบแบบแผนไว้แล้ว. - ขนพอง
หมายถึง น. ขนตั้งชันฟูขึ้น เกิดจากความตกใจหรือความกลัวเป็นต้น. - ขนพองสยองเกล้า
หมายถึง น. ขนและผมตั้งชันขึ้นเพราะรู้สึกสยดสยองมากเป็นต้น. - ขนม
หมายถึง [ขะหฺนม] น. ของกินที่ไม่ใช่กับข้าว มักปรุงด้วยแป้งหรือข้าวกับกะทิหรือนํ้าตาล, ของหวาน, ทางเหนือเรียกว่า ข้าวหนม. - ขนมครก
หมายถึง น. ขนมทำด้วยแป้งกับกะทิหยอดในภาชนะกระเบื้องหรือโลหะที่ทำเป็นหลุม ๆ ตั้งบนไฟ. - ขนมจีน
หมายถึง [ขะหฺนม-] น. อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเป็นเส้นกลม ๆ คล้ายเส้นหมี่ กินกับนํ้ายา นํ้าพริก เป็นต้น. - ขนมทราย
หมายถึง (ราชา) น. ขนมขี้หนู. - ขนมผสมน้ำยา
หมายถึง (สำ) ว. พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันก็ไม่ได้. - ขนมผักกาด,ขนมหัวผักกาด
หมายถึง น. ของคาวชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งผสมหัวผักกาด นึ่งให้สุก แล้วผัดกับถั่วงอก ผักกุยช่าย. - ขนมเปียก
หมายถึง น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อและกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรยถั่วทองคั่ว. - ขนมเปียกปูน
หมายถึง น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าวเผาให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิ และน้ำปูนใส เมื่อสุกเทลงใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ก็เรียก. - ขนมเส้น
หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. ขนมจีน, ข้าวเส้น ก็เรียก. - ขนลุก
หมายถึง น. ขนตั้งชันขึ้นเพราะอากาศเย็นเยือก ความตกใจ หรือความเสียวซ่าน เป็นต้น. - ขนลุกขนชัน,ขนลุกขนพอง
หมายถึง น. ขนตั้งชันขึ้นเพราะความขยะแขยงหรือตกใจกลัวเป็นต้น. - ขนสัตว์
หมายถึง น. เรียกผ้าที่ทอจากขนของสัตว์บางชนิดเช่นแกะว่า ผ้าขนสัตว์. - ขนส่ง
หมายถึง น. ธุรกิจเกี่ยวด้วยการขนและส่ง เช่น ขนส่งสินค้า. - ขนหนู
หมายถึง น. เรียกผ้าที่มีลักษณะเป็นขนขดใช้ห่มหรือเช็ดตัวเป็นต้นว่า ผ้าขนหนู. - ขนหน้าแข้งไม่ร่วง
หมายถึง (สำ) ว. ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน (ใช้แก่คนมั่งมีที่ต้องจ่ายเงินแม้จะมากแต่ก็ดูเหมือนเป็นจำนวนเล็ก ๆ น้อย ๆ). - ขนหย็อง
หมายถึง น. ขนหัวตั้งชัน ตัวลีบ หางตก เป็นอาการของไก่หรือนกที่รู้สึกกลัวไม่กล้าสู้. ก. โดยปริยายใช้แก่คนที่ไม่กล้าสู้, กลัว. - ขนหัวลุก
หมายถึง (สำ) ว. อาการที่ตกใจหรือกลัวมากเป็นต้นจนรู้สึกคล้ายกับผมตั้งชันขึ้น. - ขนอง
หมายถึง [ขะหฺนอง] น. หลัง, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนอง, ปฤษฎางค์ ก็ว่า. (ข. ขฺนง). - ขนอน
หมายถึง [ขะหฺนอน] (โบ) น. ที่ตั้งอากรการผ่านเขต, ที่คอย. - ขนอบ
หมายถึง [ขะหฺนอบ] น. ไม้ ๒ อันประกับเป็นขอบหรือกรอบของสิ่งของเพื่อให้แน่น เช่น ไม้ขนอบใบลาน. - ขนอบ
หมายถึง [ขะหฺนอบ] ก. นิ่ง. (ต.). - ขนอุย
หมายถึง น. ขนอ่อนหรือขนเพิ่งแรกขึ้น. - ขนัด
หมายถึง [ขะหฺนัด] น. แถว, แนว, เช่น เรือแล่นเป็นขนัด; ลักษณนามใช้เรียกสวนที่มีคันดินกั้นเป็นตอน ๆ เช่น สวนขนัดหนึ่ง สวน ๒ ขนัด. ว. แออัด ในคำว่า แน่นขนัด. - ขนัน
หมายถึง [ขะหฺนัน] ก. กัน, บัง, ขวาง, เช่น ขนันนํ้า; วง, ล้อม, เช่น ล้อมขนัน; ผูก, รัด, เช่น ขนันศพเด็ก. ว. ขัน. - ขนัน
หมายถึง [ขะหฺนัน] น. ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง, คู่กับ ขนุน. (ปรัดเล). - ขนาก
หมายถึง [ขะหฺนาก] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Juncellus inundatus C.B. Clarke ในวงศ์ Juncaceae ขึ้นอยู่ในทุ่งนาและริมแม่นํ้า คล้ายกก, กระหนาก ก็เรียก. - ขนาง
หมายถึง [ขะหฺนาง] ก. กระดาก, อาย. - ขนาด
หมายถึง [ขะหฺนาด] น. ลักษณะของรูปที่กำหนดสังเกตได้ว่าใหญ่ เล็ก สั้น ยาว หนัก หรือ เบา เท่านั้นเท่านี้ เช่น ขนาดใหญ่ ขนาดยาว ขนาด ๒ ๑ เมตร; อัตรา, เกณฑ์ที่กำหนดไว้, เช่น ดีถึงขนาด เกินขนาด ไม่ได้ขนาด. - ขนาด
หมายถึง [ขะหฺนาด] น. เครื่องสาดนํ้ารดต้นไม้ โดยมากสานด้วยไม้ไผ่ รูปแบน ๆ มีด้ามสำหรับถือ. - ขนาน
หมายถึง [ขะหฺนาน] ก. เรียงคู่กันไป เช่น เรือแล่นขนานกันไป วิ่งขนาน, เรียกเรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสำหรับข้ามฟากว่า เรือขนาน; เรียก, ตั้ง, เช่น ขนานนาม ว่า ตั้งชื่อ. (คณิต) น. เรียกเส้นตรงคู่ใด ๆ ซึ่งอยู่ห่างกันเป็นระยะเท่ากันโดยตลอดว่า เส้นขนาน. (ข. ขฺนาน ว่า เทียบ). - ขนาน
หมายถึง [ขะหฺนาน] น. หมู่; ลักษณนามเรียกยาที่ปรุงขึ้น เช่น ยาขนานหนึ่ง ยา ๒ ขนาน. - ขนานน้ำ
หมายถึง น. ท่าที่เอาเรือ ๒ ลำมาจอดเทียบเคียงกันแล้วปูกระดานเพื่อให้ขึ้นลงสะดวก. - ขนานลี่
หมายถึง น. เรือแล่นคู่เคียงกันไป. - ขนานใหญ่
หมายถึง (ปาก) ว. มาก เช่น สับเปลี่ยนตำแหน่งกันขนานใหญ่. - ขนาบ
หมายถึง [ขะหฺนาบ] ก. ประกบเข้าให้แน่น เช่น เอาไม้ขนาบทั้งข้างล่างข้างบนหรือขนาบข้างเป็นต้น, ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีขนาบ, ติดชิดกันอยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น ที่ดินขนาบคาบเกี่ยวกัน; (ปาก) ดุดันเอา เช่น ถูกขนาบ; โดยปริยายหมายความว่า เรื่อยมา, ตลอดมา, เช่น รับของถวายกันขนาบมา. (ประพาสมลายู). - ขนาย
หมายถึง [ขะหฺนาย] น. งาช้างพัง. (ข. ขฺนาย ว่า เขี้ยวหมู). - ขนำ
หมายถึง [ขะหฺนำ] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กระท่อมชั่วคราวในทุ่งนาเป็นต้น. - ขนิษฐ,ขนิษฐา
หมายถึง [ขะนิด, ขะนิดถา] น. น้อง. (เลือนมาจาก กนิษฐ, กนิษฐา). - ขนุน
หมายถึง [ขะหฺนุน] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือสีจำปา รสหวาน กินได้ แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า, พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจำปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด. - ขนุน
หมายถึง [ขะหฺนุน] ดู ใบขนุน (๑). - ขนุนญวน
หมายถึง ดู ใบขนุน (๑). - ขนุนนก
หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Palaquiumobovatum Engl. ในวงศ์ Sapotaceae มีนํ้ายางขาว จับเป็นก้อนแข็งเมื่อผสมกับยางอื่น ๆ ใช้ยาเรือได้. - ขนุนป่า
หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus lanceifolius Roxb. ในวงศ์ Moraceae เกิดในป่าดิบ. - ขนุนสำปะลอ
หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Artocarpus altilis Fosberg ในวงศ์ Moraceae ใบใหญ่เป็นแฉก ๆ ผลมีเมล็ดมาก กินได้ พันธุ์ที่ผลไม่มีเมล็ด เรียก สาเก เนื้อกินได้. - ขนเพชร
หมายถึง น. ขนสีขาวที่ขึ้นแปลกเป็นพิเศษ มีลักษณะยาวกว่าปรกติ. - ขนแมว
หมายถึง น. รอยเป็นเส้น ๆ อยู่บนสิ่งที่ขัดเงายังไม่เกลี้ยงหรือบนผิวของเพชรที่เจียระไนแล้ว. - ขบ
หมายถึง ดู คางเบือน. - ขบ
หมายถึง ก. เอาฟันเน้นเพื่อให้แตก เช่น ขบเมล็ดแตงโม, เอาฟันเน้นกัน เช่น ขบฟัน; กัด เช่น หมาใดตัวร้ายขบ บาทา. (โลกนิติ); อาการที่เมื่อยปวดเหมือนมีอะไรบีบหรือกดอยู่ที่ตรงนั้น เรียกว่า เมื่อยขบ, ลักษณะของสิ่งที่ยังเข้ากันได้ไม่สนิท ยังปีนหรือเกยกันอยู่ เช่น บานประตูขบกัน; อาการที่เล็บมือเล็บเท้ายาวจนกดเนื้อข้างเล็บ เรียกว่า เล็บขบ. - ขบขัน
หมายถึง ว. น่าหัวเราะ, ชวนหัวเราะ, ขัน ก็ว่า. - ขบคิด
หมายถึง ก. คิดตรึกตรองอย่างหนัก. - ขบฉัน
หมายถึง ก. เคี้ยวกิน (ใช้แก่นักบวช). น. เรียกอาหารการกินของนักบวชว่า ของขบฉัน. - ขบถ
หมายถึง [ขะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ผู้ทรยศ, กบฏ ก็ว่า. - ขบปัญหา
หมายถึง ก. คิดแก้ปัญหา. - ขบวน
หมายถึง [ขะ-] น. กระบวน, พวกที่จัดเป็นแถวเป็นแนวหรือเป็นหมวดเป็นหมู่อย่างขบวนแห่ ขบวนรถ ขบวนเรือ; ทางขี้ผึ้งในการหล่อรูป. - ขบวนการ
หมายถึง น. กลุ่มบุคคลที่รวมกันเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง. - ขบูร,ขบวร
หมายถึง [ขะบูน, ขะบวน] (แบบ) ว. แต่ง, ประดับ. - ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน
หมายถึง ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทำอะไรเขาไม่ได้. - ขบเผาะ
หมายถึง ว. เรียกผลมะม่วงอ่อน ๆ ขนาดหัวแม่มือว่า มะม่วงขบเผาะ หมายเอาเสียงเวลาเอาฟันขบดังเผาะ; โดยปริยายเรียกวัยของเด็กหญิงที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาวว่า วัยขบเผาะ. - ขบไม่แตก
หมายถึง ก. คิดไม่ออก, แก้ไม่ตก, (ใช้แก่ปัญหา).