คำในภาษาไทย หมวด บ

คำในภาษาไทย หมวด บ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด บ

คำในภาษาไทย หมวด บ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๒๖ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบ.
  2. บ,บ,บ่
    หมายถึง [บอ, บ่อ] ว. ไม่, มักใช้ในหนังสือเก่าหรือกวีนิพนธ์ หรือบางท้องถิ่น, ในที่ใช้ บ เมื่อใช้ว่า บ่ ก็มีความเช่นเดียวกัน.
  3. บก
    หมายถึง น. ส่วนของผิวพื้นโลกที่ไม่ใช่ทะเลหรือแม่นํ้าลำคลองเป็นต้น, ภาคพื้นดิน เช่น ทหารบก ทางบก, ที่ที่แห้ง, ที่ที่พ้นจากนํ้า, เช่น ขึ้นบก บนบก. ว. แห้ง, พร่อง, ลดลง, เช่น นมบกอกพร่อง; ย่อยยับหมดกำลัง เช่น โจมปรปักษบกบาง. (ตะเลงพ่าย).
  4. บกพร่อง
    หมายถึง ก. ไม่ครบบริบูรณ์เท่าที่ควรมีควรเป็น เช่น ข้อความบกพร่อง, หย่อนความสามารถ เช่น ทำงานบกพร่อง.
  5. บง
    หมายถึง (โบ) ก. บ่ง, ชี้, ระบุ, เช่น แถลงปางแสดงดิพรเกื้อ บุญบง บาปนา. (ยวนพ่าย).
  6. บง
    หมายถึง ก. คล้อง, ห่ม, เช่น บงบ่าเฉวียง. (ม. คำหลวง จุลพน). (ข. บงกอ ว่า คล้องคอ).
  7. บง
    หมายถึง น. ชื่อไผ่ชนิด Bambusa tulda Roxb. ในวงศ์ Gramineae ไม่มีหนาม ปล้องสั้น เนื้อลำหนา ใช้จักตอก.
  8. บง
    หมายถึง (กลอน) ก. มองดู, แลดู, เช่น พลางพระบงจัตุบาท. (ตะเลงพ่าย).
  9. บงก,บงก-,บงก์
    หมายถึง (แบบ) น. เปือกตม, โคลน, โดยมากใช้ประกอบหน้าคำอื่น เช่น บงกช ว่า ของที่เกิดในเปือกตม คือ บัว. (ป., ส. ปงฺก).
  10. บงกช
    หมายถึง [บงกด] น. บัว. (ป., ส. ปงฺกช).
  11. บงกชกร
    หมายถึง [-กดชะกอน] (กลอน) น. มือมีรูปอย่างดอกบัวตูม, กระพุ่มมือ, มือ เช่น กระพุ่มบงกชกร. (เพชรมงกุฎ).
  12. บงการ
    หมายถึง ก. ระบุชี้ให้ดำเนินการตาม, ควบคุมดูแลสั่งการเฉียบขาด.
  13. บงสุ,บงสุ-,บงสุ์
    หมายถึง (แบบ) น. ฝุ่น, ละออง, ธุลี. (ป. ปํสุ; ส. ปำสุ).
  14. บงสุกุล
    หมายถึง น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักออกจากศพว่า ผ้าบงสุกุล, โดยปรกติใช้ว่า บังสุกุล. (ดู บังสุกุล). (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น).
  15. บงสุกูลิก
    หมายถึง น. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม คือ ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).
  16. บงอับบงรา,บ่งอับบ่งรา
    หมายถึง ก. เข้าที่อับจน.
  17. บฏ
    หมายถึง (แบบ) น. ผ้าทอ, ผืนผ้า; เรียกผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชาว่า พระบฏ. (ป. ปฏ).
  18. บด
    หมายถึง ก. ทำให้เปลือกแตก เช่น บดข้าวเปลือก, ทำให้แหลก เช่น บดข้าวสุก, ทำให้เป็นผง เช่น บดยานัตถุ์, ทำให้เรียบและแน่น เช่น บดถนน.
  19. บด
    หมายถึง น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่งรูปเพรียว หัวท้ายเรียว, ถ้าใช้กรรเชียงมักท้ายตัดอย่างเรือบดทหารเรือ.
  20. บดขยี้
    หมายถึง ก. ทำลายให้ย่อยยับแหลกลาญ.
  21. บดบัง
    หมายถึง ก. บังแสง, บังรัศมี.
  22. บดินทร์
    หมายถึง [บอดิน] น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. ปติ + อินฺทฺร).
  23. บดี
    หมายถึง [บอดี] (แบบ) น. นาย, เจ้าของ, เจ้า, ผู้ครอง, ผู้บังคับบัญชา; ผัว. (ป., ส. ปติ), ในสันสกฤตมีเกณฑ์ว่าศัพท์นี้เมื่ออยู่เฉพาะหมายความว่า นาย หรือ ผัว, ถ้ามีศัพท์อื่นมาเข้าสมาสเป็นคำท้ายด้วยหมายความแต่ผัว เช่น บดีพรต, ในบทกลอนใช้ว่า บดิ ก็มี เพื่อเข้าบังคับลหุ.
  24. บดีธรรม
    หมายถึง น. หน้าที่ของผัว. (ส. ปติธรฺม).
  25. บดีพรต,บดีวรดา
    หมายถึง น. การประพฤติซื่อสัตย์ต่อผัว คือ หญิงมอบตัวแก่ผัวเท่านั้น, ถ้าเป็นชายก็ว่า สทารสันโดษ คือ ยินดีแต่เมียตนเท่านั้น. (ส. ปติวฺรต, ปติวฺรตา).
  26. บดีศร
    หมายถึง [บอดีสอน] (กลอน) น. นายผู้เป็นใหญ่.
  27. บดเอื้อง
    หมายถึง ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ, เคี้ยวเอื้อง ก็ว่า.
  28. บถ
    หมายถึง (แบบ) น. ทาง เช่น กรรมบถ. (ป. ปถ).
  29. บท,บท,บท-,บท-
    หมายถึง [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กำหนดคำประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คำที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คำประพันธ์ที่เขียนขึ้นสำหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคำเช่น บทจะทำก็ทำกันใหญ่ บทจะไปก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
  30. บท,บท,บท-,บท-
    หมายถึง (แบบ) เท้า, รอยเท้า, เช่น จตุบท, ในบทกลอนใช้ประสมกับคำอื่น ๆ หมายความว่า เท้า คือ บทบงกช บทบงสุ์ บทมาลย์ บทรัช บทศรี บทเรศ, (ดูคำแปลที่คำนั้น ๆ). (ป. ปท).
  31. บทกลอน
    หมายถึง น. คำประพันธ์ที่เป็นบทร้อยกรอง.
  32. บทกวีนิพนธ์
    หมายถึง น. บทร้อยกรองที่กวีแต่ง.
  33. บทกำหนดโทษ
    หมายถึง (กฎ) น. บทบัญญัติในกฎหมายที่กำหนดโทษทางอาญา.
  34. บทความ
    หมายถึง น. ข้อเขียนซึ่งอาจจะเป็นรายงานหรือการแสดงความคิดเห็น มักตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ วารสาร สารานุกรม เป็นต้น.
  35. บทคัดย่อ
    หมายถึง น. ข้อความที่ย่อแต่ใจความสำคัญ, ข้อคัดย่อ ก็ว่า. (อ. abstract).
  36. บทจร
    หมายถึง [บดทะ-] (กลอน) ก. เดินไป. (ป.).
  37. บทดอกสร้อย
    หมายถึง น. ชื่อคำร้อยกรองชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ มี ๔ คำ มี เอ๋ย เป็นคำที่ ๒ เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว มักมี ๔ คำกลอน และคำลงจบบทให้ลงว่า เอย, ดอกสร้อย ก็ว่า.
  38. บทนำ
    หมายถึง น. บทบรรณาธิการ.
  39. บทบงกช
    หมายถึง [บดทะ-] (กลอน) น. บัวบาท, เท้า. (ส. ปทปงฺกช).
  40. บทบงสุ์
    หมายถึง [บดทะ-] น. ละอองเท้า. (ป.).
  41. บทบรรณาธิการ
    หมายถึง น. ข้อเขียนที่บรรณาธิการหรือนักเขียนชั้นนำเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นอันเป็นแนวของหนังสือนั้น ๆ, บทนำ ก็ว่า.
  42. บทบัญญัติ
    หมายถึง (กฎ) น. ข้อความที่กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมาย.
  43. บทบาท
    หมายถึง [บดบาด] น. การทำท่าตามบท, การรำตามบท, โดยปริยายหมายความว่า การทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ เช่น บทบาทของพ่อแม่ บทบาทของครู.
  44. บทบาทมาก
    หมายถึง (ปาก) ว. มีท่าทางมาก, ยืดยาดเพราะพิธีรีตองมาก, เช่น กว่าจะออกจากบ้านได้บทบาทมากเหลือเกิน.
  45. บทบูรณ์
    หมายถึง [บดทะ-] น. คำที่ทำให้บทประพันธ์ครบพยางค์ตามฉันทลักษณ์ ไม่สู้มีความหมายอะไร เช่น แต่งอเนกนุประการ คำ “นุ” เป็นบทบูรณ์. (ป. ปทปูรณ).
  46. บทประพันธ์
    หมายถึง น. เรื่องที่แต่งขึ้นเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง.
  47. บทพากย์
    หมายถึง น. คำกล่าวเรื่องราวเป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น.
  48. บทภาชนีย์
    หมายถึง [บดทะ-] น. บทที่ตั้งไว้เพื่อไขความ, บทที่ต้องอธิบาย. (ป.).
  49. บทภาชน์
    หมายถึง [บดทะ-] น. บทไขความ. (ป.).
  50. บทมาลย์
    หมายถึง [บดทะ-] (แบบ) น. เท้าผู้มีบุญ เช่นกษัตริย์.
  51. บทรัช
    หมายถึง [บดทะ-] (แบบ) น. ละอองเท้า เช่น นางโรยนางรื่นล้าง บทรัช. (ลอ).
  52. บทร้อง
    หมายถึง น. คำประพันธ์สำหรับขับร้อง, คำร้อง เนื้อร้อง หรือ บทเพลง ก็ว่า.
  53. บทลงโทษ
    หมายถึง น. ข้อบัญญัติโทษทางอาญา.
  54. บทวลัญช์
    หมายถึง [บดทะวะลัน] (แบบ) น. รอยเท้า. (ป. ปทวลญฺช).
  55. บทวาร
    หมายถึง [บดทะวาน] (แบบ) น. ชั่วก้าวเท้า, ระยะก้าวเท้า, เช่น ทางเล็ก ควรบทวารผู้หนึ่งจะพึงไป. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
  56. บทวเรศ
    หมายถึง [บดทะวะเรด] (แบบ) น. เท้า เช่น ถวายทศนัขประณตบทวเรศราชชนนี. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์).
  57. บทศรี
    หมายถึง [บดทะ-] (กลอน) น. เท้า (ใช้แก่เจ้านาย).
  58. บทสนทนา
    หมายถึง น. คำพูดที่โต้ตอบกันในการเรียนภาษา.
  59. บทสังขยา
    หมายถึง น. ชื่อโคลงแบบโบราณ.
  60. บทอัศจรรย์
    หมายถึง น. บทร้อยกรองตามธรรมเนียมนิยมในวรรณคดี พรรณนาเพศสัมพันธ์ของชายหญิง มักกล่าวให้เป็นที่เข้าใจโดยใช้โวหารเป็นสัญลักษณ์หรืออุปมาอุปไมยเป็นต้น.
  61. บทามพุช
    หมายถึง [บะทามะพุด] (แบบ) น. บัวบาท, เท้า, เช่น ทูลพระบทามพุช. (ยวนพ่าย). (ป. ปท + อมฺพุช).
  62. บทเจรจา
    หมายถึง น. คำที่ตัวละครพูดเป็นร้อยกรองหรือถ้อยคำธรรมดา.
  63. บทเฉพาะกาล
    หมายถึง (กฎ) น. บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติให้ใช้เฉพาะในช่วงเวลาหนึ่งหรือกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อนวันใช้บังคับกฎหมายนั้น.
  64. บทเพลง
    หมายถึง น. คำประพันธ์สำหรับขับร้อง, คำร้อง เนื้อร้อง หรือ บทร้อง ก็ว่า.
  65. บทเรศ
    หมายถึง [บดทะ-] (กลอน) น. เท้า เช่น กราบบทเรศราชบิดา ท่านแล. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์).
  66. บทเรียน
    หมายถึง น. คำสอนที่กำหนดให้เรียน, ข้อที่เป็นคติเตือนใจ เช่น บทเรียนในชีวิต.
  67. บน
    หมายถึง น. คำ เช่น ให้บนถ้อยคำ. (จินดามณี); คำที่จดไว้เป็นหลักฐาน, คำให้การที่จดไว้เป็นหลักฐาน, เช่น เอาบนเขาไว้, ให้คาดบนไว้. (สามดวง).
  68. บน
    หมายถึง ก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คำมั่นว่าจะให้สิ่งของตอบแทนหรือทำตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสำเร็จ, บนบาน ก็ว่า. ว. เบื้องสูง, ตรงข้ามกับ เบื้องล่าง, เช่น ข้างบน ชั้นบน เบื้องบน. บ. ในที่ซึ่งอยู่สูงหรือเหนือ เช่น นั่งอยู่บนเรือน วางมือบนหนังสือ มีหนังสือวางอยู่บนโต๊ะ.
  69. บนข้าวผี ตีข้าวพระ
    หมายถึง (สำ) ก. ขอร้องให้ผีสางเทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือโดยจะแก้บนเมื่อสำเร็จประสงค์แล้ว.
  70. บนบาน
    หมายถึง ก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คำมั่นว่าจะให้สิ่งของตอบแทนหรือทำตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสำเร็จ, บน ก็ว่า.
  71. บนบานศาลกล่าว
    หมายถึง (สำ) ก. ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ.
  72. บพิตร
    หมายถึง [บอพิด] (แบบ) น. พระองค์ท่าน เช่น บำรุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคำที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย เช่น บรมวงศบพิตร.
  73. บพิตรพระราชสมภาร
    หมายถึง ส. คำที่พระสงฆ์เรียกพระมหากษัตริย์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  74. บพิธ
    หมายถึง [บอพิด] ก. แต่ง, สร้าง. (ป. ป + วิ + ธา).
  75. บมิ
    หมายถึง (กลอน) ว. ไม่.
  76. บร,บร-
    หมายถึง [บอระ-] (แบบ; กลอน) น. ฝ่ายอื่น เช่น บรเทศ, ข้าศึก เช่น บรปักษ์. (ป., ส. ปร).
  77. บรทาร
    หมายถึง [-ทาน] (แบบ) น. เมียเขา. (ส.).
  78. บรทารกรรม
    หมายถึง [-ทาระ-] (แบบ) น. การประพฤติผิดในเมียเขา. (ส.).
  79. บรม,บรม-
    หมายถึง [บอรมมะ-] ว. อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นำหน้าคำที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ.
  80. บรมครู
    หมายถึง น. คำที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ.
  81. บรมธาตุ
    หมายถึง น. กระดูกพระพุทธเจ้า.
  82. บรมบพิตร
    หมายถึง [บอรมมะบอพิด] น. คำที่พระสงฆ์ใช้สำหรับแทนพระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสี, เดิมใช้ว่า มหาบพิตร.
  83. บรมวงศานุวงศ์
    หมายถึง (ราชา) น. ญาติ.
  84. บรมอัฐิ
    หมายถึง น. กระดูกพระมหากษัตริย์หรือพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง.
  85. บรมัตถ์
    หมายถึง [บอระมัด] น. ปรมัตถ์, ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างสูง, ความจริงที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก เรียกว่า บรมัตถ์, และยังใช้นำหน้าศัพท์ เช่น บรมัตถบารมี บรมัตถประโยชน์. (ป. ปรมตฺถ).
  86. บรรกวด
    หมายถึง [บัน-] ก. ประกวด, แข่งขัน.
  87. บรรจง
    หมายถึง [บัน-] ก. ตั้งใจทำ เช่น บรรจงเขียน, ทำโดยระมัดระวัง เช่น มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง. ว. อย่างประณีต เช่น เขียนบรรจง, ตัวบรรจง.
  88. บรรจถรณ์
    หมายถึง [บันจะถอน] (แบบ) น. เครื่องลาด, เครื่องปู, ที่นอน. (ป. ปจฺจตฺถรณ).
  89. บรรจบ
    หมายถึง [บัน-] ก. เพิ่มให้ครบจำนวน เช่น บรรจบให้ครบร้อย บรรจบให้ครบถ้วน; จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้บรรจบกัน ทาง ๒ สายมาบรรจบกัน, ทำให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่างให้มุมบรรจบกัน; ชนขวบ เช่น บรรจบรอบปี, ประจบ ก็ใช้.
  90. บรรจวบ
    หมายถึง [บัน-] ก. ประจวบ, ประสบ, พบปะ, สบเหมาะ, บังเอิญพบ.
  91. บรรจุ
    หมายถึง [บัน-] ก. ประจุ, ใส่ลงในขวด หีบ หรือถุง เป็นต้น, ใส่ลงไว้ในภาชนะหรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่งที่มิดชิด เช่น บรรจุอังคาร บรรจุอัฐิ บรรจุศพ; โดยปริยายหมายความว่า ให้เข้าประจำที่, ให้เข้าประจำตำแหน่งครั้งแรก, เช่น บรรจุให้เป็นข้าราชการ, ใส่ลงไว้ตามอัตรา เช่น บรรจุเข้าไว้ในรายการ.
  92. บรรณ,บรรณ-
    หมายถึง [บัน, บันนะ-] น. ปีก; หนังสือ; ใบไม้. (ส. ปรฺณ; ป. ปณฺณ).
  93. บรรณกุฎี
    หมายถึง น. กระท่อมอันมุงบังด้วยใบไม้. (ส. ปรฺณ + กุฏิ).
  94. บรรณพิภพ,บรรณโลก
    หมายถึง (แบบ) น. วงการหนังสือ.
  95. บรรณศาลา
    หมายถึง น. ที่สำนักของฤๅษีหรือผู้บำเพ็ญพรตเป็นต้น ถือกันว่ามุงบังด้วยใบไม้. (ส. ปรฺณศาลา; ป. ปณฺณสาลา ว่า โรงที่มุงและบังด้วยใบไม้).
  96. บรรณสาร
    หมายถึง (โบ) น. หนังสือราชการ.
  97. บรรณาการ
    หมายถึง [บันนากาน] น. สิ่งที่ส่งไปให้ด้วยความเคารพนับถือหรือด้วยไมตรี. (ป. ปณฺณาการ; ส. ปรฺณาการ), ในบทประพันธ์ใช้ว่า บรรณา ก็มี.
  98. บรรณาคม
    หมายถึง [บันนาคม] น. ห้องหนังสือ.
  99. บรรณาธิกร
    หมายถึง [บันนา-] (โบ) ก. รวบรวมและจัดเลือกเฟ้นเรื่องลงพิมพ์.
  100. บรรณาธิการ
    หมายถึง [บันนาทิกาน] น. ผู้จัดเลือกเฟ้น รวบรวม ปรับปรุง และรับผิดชอบเรื่องลงพิมพ์; (กฎ) บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์.

 แสดงความคิดเห็น