คำในภาษาไทย หมวด ฉ
รวมคำในภาษาไทย หมวด ฉ
คำในภาษาไทย หมวด ฉ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ฉ
หมายถึง [ฉอ, ฉ้อ, ฉะ] ว. หก, สำหรับประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป.). - ฉ
หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๙ นับเป็นพวกอักษรสูง. - ฉก
หมายถึง น. ชื่อปาล์มชนิด Arenga westerhoutii Griff. วงศ์ Palmae ขึ้นตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ใบด้านล่างเป็นคราบสีเทา ไม่ใคร่หักหรือพับ จั่นเป็นพวงห้อย ออกผลเป็นทะลายใหญ่, รังกับ หรือ รังไก่ ก็เรียก. - ฉก
หมายถึง ก. ฉวยหรือชิงเอาโดยเร็ว; สับ, โขก, เช่น งูฉก. - ฉกจวัก
หมายถึง [-จะหฺวัก] ก. ชูหัวขึ้นแผ่พังพานทำท่าจะฉก (ใช้แก่งู). - ฉกฉวย
หมายถึง ก. ยื้อแย่งเอาไปต่อหน้า. - ฉกชิง
หมายถึง ก. แย่งชิงเอาไปซึ่งหน้า. - ฉกรรจ์
หมายถึง [ฉะกัน] ว. ห้าวหาญ เช่น ใจฉกรรจ์, แข็งแรงสมบูรณ์ เช่น วัยฉกรรจ์ ชายฉกรรจ์, รุนแรงอาจถึงตาย เช่น แผลฉกรรจ์. - ฉกรรจ์ลำเครื่อง
หมายถึง (โบ) น. ทหารที่เลือกคัดและแต่งเครื่องรบพร้อมที่จะเข้ารบได้ทันที เช่น พลฉกรรจ์ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย. (พงศ. เลขา). - ฉกษัตริย์
หมายถึง [ฉ้อกะสัด, ฉอกะสัด] น. กษัตริย์ ๖ พระองค์, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑๒ ของมหาชาติ. - ฉกาจ,ฉกาจฉกรรจ์
หมายถึง [ฉะกาด, ฉะกาดฉะกัน] ว. เก่งกาจ, ดุร้าย, กล้าแข็ง. - ฉกามาพจร,ฉกามาวจร
หมายถึง [ฉะกามาพะจอน, ฉะกามาวะจอน] น. สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ ๑. จาตุมหาราช หรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต ๕. นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี. (ป. ฉ + กาม + อวจร). - ฉง
หมายถึง ดู กระฉง. - ฉงน
หมายถึง [ฉะหฺงน] ก. สงสัย, ไม่แน่ใจ, แคลงใจ. - ฉงาย
หมายถึง [ฉะหฺงาย] ก. สงสัย. - ฉงาย
หมายถึง [ฉะหฺงาย] ว. ไกล, ห่าง. (ข.). - ฉทวาร
หมายถึง [ฉะทะวาน] น. ทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ. - ฉทานศาลา
หมายถึง [ฉ้อทานนะสาลา] น. ศาลาเป็นที่ทำทาน ๖ แห่ง, บางทีเขียนว่า ศาลาฉทาน. - ฉทึง
หมายถึง [ฉะ-] น. แม่นํ้า เช่น ฉทึงธารคีรีเหวผา. (ดุษฎีสังเวย), ใช้ว่า จทึง ชทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง). - ฉนวน
หมายถึง [ฉะหฺนวน] น. ทางเดินซึ่งมีเครื่องกำบัง ๒ ข้าง สำหรับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายฝ่ายในเสด็จขึ้นลงหรือเข้าออก. ก. กำบัง, คั่น, กั้น. - ฉนวน
หมายถึง [ฉะหฺนวน] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Dalbergia nigrescens Kurz ในวงศ์ Leguminosae เนื้อไม้อ่อน ไม่ทนทาน, สนวน หรือ ชนวน ก็เรียก. - ฉนวน
หมายถึง [ฉะหฺนวน] น. ดินแดนที่มีทางออกทะเลหรือที่ทำให้ดินแดนถูกแยกออกเป็น ๒ ฟาก. (อ. corridor). - ฉนวน
หมายถึง [ฉะหฺนวน] น. วัตถุที่ไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไม่ได้สะดวก, วัตถุที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้าหรือความร้อน. (อ. insulator). - ฉนัง
หมายถึง [ฉะหฺนัง] น. หม้อ, โบราณเขียนเป็น ฉนงง ก็มี เช่น ฉนงงบ่อมาทนนสาย แสบท้อง. (กำสรวล). (ข.). - ฉนาก
หมายถึง [ฉะหฺนาก] น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่ในสกุล Pristis วงศ์ Pristidae เป็นปลากระดูกอ่อน จัดอยู่ในอันดับ Rajiformes มีเหงือก ๕ คู่อยู่ใต้ส่วนหัว บริเวณปลายสุดของหัวมีแผ่นกระดูกยื่นยาวมาก ขอบทั้ง ๒ ข้างมีซี่กระดูกแข็งคล้ายฟันเรียงห่างกันอย่างสมํ่าเสมอข้างละ ๑ แถวโดยตลอด ชนิด P. cuspidatus มี ๒๓-๓๕ คู่, ชนิด P. microdon มี ๑๗-๒๐ คู่. - ฉนำ
หมายถึง [ฉะหฺนำ] น. ปี. (ข.). - ฉบบ
หมายถึง [ฉะ-] น. แบบ, เล่มหนังสือ, เรื่อง. (ข. จฺบาบ่). - ฉบัง
หมายถึง [ฉะ-] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง บทละ ๑๖ คำ แบ่งเป็น ๓ วรรค วรรคที่ ๑ และ ๓ มี ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ เช่น ไว้ปากไว้วากย์วาที ไว้วงศ์กระวี ไว้เกียรติ์และไว้นามกร (สามัคคีเภท). (ข. จฺบำง). - ฉบัด
หมายถึง [ฉะ-] (กลอน) ว. ชัด, สันทัด, ทันทีทันใด, เช่น เจ้าช้างจึ่งรู้ฉบัด. (ลอ), เร่งยอมนุญาตเยาวฉบัด. (สรรพสิทธิ์). (ข. จฺบาส่). - ฉบับ
หมายถึง [ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสำนวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือเขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่นที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่). - ฉพีสติม,ฉพีสติม-
หมายถึง [ฉะพีสะติมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒๖ เช่น ฉพีสติมสุรทิน ว่า วันที่ ๒๖ (แห่งเดือนสุริยคติ). (ป.). - ฉม
หมายถึง น. กลิ่นหอม, เครื่องหอม. - ฉมบ
หมายถึง [ฉะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็นเงา ๆ แต่ไม่ทำอันตรายใคร เช่น อนึ่งเปนสัจว่าเปนฉมบจะกละกะสือ แลมาฟ้องร้องเรียนแก่มุขลูกขุนก็ดี ๒๐. (สามดวง), ชมบ หรือ ทมบ ก็ว่า. (ข. ฉฺมบ ว่า หมอตำแย). - ฉมวก
หมายถึง [ฉะหฺมวก] น. เครื่องมือแทงปลาเป็นต้น มีง่ามเป็น ๑, ๓ หรือ ๕ ขา ที่ปลายขาทำเป็นเงี่ยง มีด้ามยาว. (ข. จฺบูก). - ฉมวย
หมายถึง [ฉะหฺมวย] (กลอน) ก. ฉวย, จับ; ได้. ว. แม่น, ขลัง. - ฉมัง
หมายถึง [ฉะหฺมัง] ว. แม่น เช่น มือฉมัง, ขลัง เช่น เป่ามนตร์ฉมัง. - ฉมัน
หมายถึง [ฉะหฺมัน] น. สมัน. - ฉมา
หมายถึง [ฉะมา] น. แผ่นดิน. (ป.; ส. กฺษมา). - ฉมำ
หมายถึง [ฉะหฺมำ] ว. แม่น, ไม่ผิด, ขลัง. - ฉม่อง
หมายถึง [ฉะหฺม่อง] น. คนตีฆ้อง เช่น พานรนายฉม่องว่องไว คุมคนธรรพ์ไป ประจานให้ร้องโทษา. (คำพากย์). - ฉล
หมายถึง [ฉะละ, ฉน] น. ความฉ้อโกง. ก. โกง. (ป., ส.). - ฉลวย
หมายถึง [ฉะหฺลวย] ว. สวยสะโอดสะอง. - ฉลวยฉลาด
หมายถึง ว. ปัญญาดีงาม. - ฉลอง
หมายถึง [ฉะหฺลอง] ก. แทน, ทดแทน, เช่น ฉลองคุณ. - ฉลอง
หมายถึง [ฉะหฺลอง] (โบ) ก. ข้าม ในคำว่า ท่าฉลอง คือ ท่าสำหรับข้าม. (ข. ฉฺลง). - ฉลอง
หมายถึง [ฉะหฺลอง] ก. จำลอง, รอง, แทน, ช่วย. - ฉลอง
หมายถึง [ฉะหฺลอง] ก. ทำบุญหรือบูชาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นงานเอิกเกริกเพื่อแสดงความปีติยินดี เช่น ฉลองพระ ฉลองหนังสือ ฉลองอายุ, จัดงานเอิกเกริกเพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ เช่น ฉลองปริญญา, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ เฉลิม เป็น เฉลิมฉลอง. - ฉลองพระกรน้อย
หมายถึง (ราชา) น. ชื่อเสื้อชั้นในที่แขนต่อแถบรัดคู่กับฉลองพระองค์ทรงประพาส, พระกรน้อย ก็ว่า. - ฉลองพระบาท
หมายถึง (ราชา) น. รองเท้า. - ฉลองพระศอ
หมายถึง (ราชา) น. สร้อยนวม. - ฉลองพระหัตถ์
หมายถึง (ราชา) น. ช้อนส้อม, ตะเกียบ, มีดสำหรับโต๊ะอาหาร, ใช้ว่า ฉลองพระหัตถ์ช้อนส้อม ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ ฉลองพระหัตถ์มีด. - ฉลองพระองค์,ฉลององค์
หมายถึง (ราชา) น. เสื้อ. - ฉลองพระเนตร
หมายถึง (ราชา) น. แว่นตา. - ฉลองศรัทธา
หมายถึง (ปาก) ก. ตอบแทนเต็มที่. - ฉลองได
หมายถึง (ราชา) น. ไม้เกาหลัง. - ฉลอม
หมายถึง [ฉะหฺลอม] น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือกระแชง หัวท้ายงอนเรียว กลางป่อง ตัวเรือเป็นเหลี่ยม กระดานข้างเรือเป็นทับเกล็ด นิยมใช้ตามหัวเมืองชายทะเลแถบปากอ่าว สำหรับบรรทุกสินค้าหรือหาปลา สมัยโบราณเวลาเกิดศึกสงครามก็จะถูกเกณฑ์ไปใช้ในราชการทัพด้วย อาจติดใบหรือไม่ก็ได้. - ฉลอมท้ายญวน
หมายถึง น. ชื่อเรือใบเดินทะเลรูปท้ายตัด ใช้ทางทะเลด้านตะวันออก. - ฉลัก
หมายถึง [ฉะหฺลัก] ก. สลัก, แกะให้เป็นลวดลาย. (ข. ฉฺลาก่ ว่า สลัก). - ฉลับ
หมายถึง [ฉะหฺลับ] (กลอน) ก. สลับ เช่น แล่นลล้าวฉลับพล. (สมุทรโฆษ). - ฉลาก
หมายถึง [ฉะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทำเป็นเครื่องหมายกำหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น; ป้ายบอกชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า ฉลากยา; สลาก ก็ว่า; (กฎ) รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยา อาหาร หรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ฉลากยา ฉลากเครื่องสำอาง. - ฉลากบาง
หมายถึง น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง. - ฉลาง
หมายถึง [ฉะหฺลาง] น. ชื่อชนชาติเดิมพวกหนึ่ง อยู่ทางทะเลด้านตะวันตกของแหลมมลายู, ชาวนํ้า หรือ ชาวเล ก็เรียก. (ม. ว่า ซะลัง); ชื่อผ้าที่มีลายชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผ้าลายฉลาง เช่น พวกโขลนเลวลายฉลางกับริ้วญวน. (ขุนช้างขุนแผน). - ฉลาด
หมายถึง [ฉะหฺลาด] ว. เฉียบแหลม, ไหวพริบดี, ปัญญาดี. (ข. ฉฺลาต, ฉฺลาส). - ฉลาด
หมายถึง [ฉะหฺลาด] ดู สลาด. - ฉลาดเฉลียว
หมายถึง ว. มีปัญญาและไหวพริบดี, เฉลียวฉลาด ก็ว่า. (ข. ฉฺลาตเฉฺลียว, ฉฺลาสเฉฺลียว). - ฉลาม
หมายถึง [ฉะหฺลาม] น. ชื่อปลาทะเลหลายวงศ์ในอันดับ Lamniformes เป็นปลากระดูกอ่อน เหงือกส่วนใหญ่มี ๕ คู่อยู่ข้างส่วนหัว แฉกบนของหางยกสูงขึ้นและยาวมาก ตัวผู้ขอบในของครีบท้องขยายใหญ่มีแท่งอวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า เดือย บางชนิดเป็นปลาผิวนํ้า เช่น ฉลามหนู (Scoliodon sorrakowvah), ฉลามเสือ เสือทะเล พิมพา หรือ ตะเพียนทอง (Galeocerdo cuvieri) บางชนิดอยู่สงบตามพื้นท้องทะเล เช่น ฉลามกบ หรือ ฉลามหิน (Chiloscyllium griseum) บางชนิดอยู่ในนํ้าลึกมาก เช่น ฉลามนํ้าลึก (Squalus fernandinus) บางชนิดขนาดใหญ่มาก เช่น ฉลามวาฬ (Rhincodon typus) บางชนิดหัวแผ่แบน เรียก ฉลามหัวค้อน หรือ อ้ายแบ้ เช่น ชนิด Sphyrna leweni. - ฉลามเสือ
หมายถึง ดู พิมพา. - ฉลาย
หมายถึง [ฉะหฺลาย] ก. สลาย, แตกพัง, ทลาย, ละลาย. - ฉลิว
หมายถึง [ฉะหฺลิว] น. เฉลว. - ฉลีก
หมายถึง [ฉะหฺลีก] (กลอน) ก. ฉีก, ทำให้ขาดจากกัน; แยกออกจากกัน. - ฉลุ
หมายถึง [ฉะหฺลุ] ก. ปรุ, สลัก. - ฉลุกฉลวย
หมายถึง [ฉะหฺลุกฉะหฺลวย] ว. รวดเร็ว. - ฉลุลาย
หมายถึง ก. ฉลุให้เป็นลาย, ลายที่ฉลุแล้ว เรียกว่า ลายฉลุ. - ฉลู
หมายถึง [ฉะหฺลู] น. ชื่อปีที่ ๒ ของรอบปีนักษัตร มีวัวเป็นเครื่องหมาย. (ข. ฉฺลูว). - ฉวย
หมายถึง ก. คว้า จับ หรือหยิบเอาโดยเร็ว. สัน. ถ้า, แม้. - ฉวยฉาบ
หมายถึง (กลอน) ก. จิกหรือหยิบแล้วบินหรือพาไป เช่น ฉวยฉาบคาบนาคี เป็นเหยื่อ. (เห่เรือ). - ฉวะ
หมายถึง [ฉะวะ] (แบบ) น. ร่างสัตว์หรือคนที่ตายแล้ว, ซากศพ. (ป.; ส. ศว). - ฉวัดเฉวียน
หมายถึง [ฉะหฺวัดฉะเหฺวียน] ก. อาการที่บินวนเวียนไปมาอย่างผาดโผน เช่น บินฉวัดเฉวียน, แล่นเร็วอย่างผาดโผน เช่น ขับรถฉวัดเฉวียน. ว. วนเวียน. (ข. ฉฺวาต่เฉวียล). - ฉวาง
หมายถึง [ฉะหฺวาง] น. วิธีเลขชั้นสูงของโบราณอย่างหนึ่ง. (ข. ฉฺวาง) ก. ขวาง เช่น อันว่าพยัคฆราช อันฉวางมรรคาพระมัทรี. (ม. คำหลวง มัทรี). - ฉวี
หมายถึง [ฉะหฺวี] น. ผิวกาย. (ป., ส. ฉวิ). - ฉศก
หมายถึง [ฉอสก] น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๖ เช่น ปีชวด ฉศก จุลศักราช ๑๓๔๖. - ฉอก
หมายถึง ว. แหว่ง, เว้า, (ใช้กับลักษณะของผม) ในคำว่า ผมฉอก, กระฉอก ก็ใช้. - ฉอด ๆ
หมายถึง ว. อาการที่พูดหรือเถียงไม่หยุดปาก เช่น พูดฉอด ๆ เถียงฉอด ๆ. - ฉอเลาะ
หมายถึง ว. พูดออดอ้อนหรือแสดงกิริยาทำนองนั้นเพื่อให้เขาเอ็นดูเป็นต้น (มักใช้เฉพาะเด็กหรือผู้หญิง). - ฉะ
หมายถึง ก. ฟันลงไป; (ปาก) คำใช้แทนกริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คำห้อมล้อม เช่น ฉะปาก หมายความว่า ต่อยปาก, ฉะข้าว หมายความว่า กินข้าว. - ฉะ
หมายถึง คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ. - ฉะกะ
หมายถึง ก. ระกะ เช่น โกมุทอุบลบานฉะกะ. (อนิรุทธ์). - ฉะฉาด
หมายถึง (กลอน) ว. ฉาด, เสียงอย่างเสียงของแข็งกระทบกัน. - ฉะฉาน
หมายถึง ว. อาการที่พูดห้าวหาญและชัดถ้อยชัดคำ, ฉาดฉาน ก็ใช้. - ฉะฉี่
หมายถึง (กลอน) ว. ฉี่, เสียงดังอย่างเสียงของที่ทอดนํ้ามัน. - ฉะฉ่ำ
หมายถึง (กลอน) ว. ฉํ่า, ชุ่มชื้น. - ฉะต้า
หมายถึง (โบ) อ. ชะต้า. - ฉะนั้น
หมายถึง ว. ฉันนั้น, เช่นนั้น, อย่างนั้น, ดังนั้น, ดั่งนั้น, เพราะฉะนั้น, เพราะเหตุนั้น. - ฉะนี้
หมายถึง ว. ฉันนี้, เช่นนี้, อย่างนี้, ดังนี้, ดั่งนี้, เพราะฉะนี้, เพราะเหตุนี้. - ฉะหน้าโรง
หมายถึง น. วิธีของเพลงทำนองหนึ่ง. - ฉะอ้อน
หมายถึง ก. แสดงกิริยาวาจาเพื่อให้เขาเมตตา, ชะอ้อน ก็ใช้. ว. กล้องแกล้ง, แน่งน้อย, รูปเล็กบาง, ชะอ้อน ก็ใช้. - ฉะเฉื่อย
หมายถึง (กลอน) ว. เฉื่อย, ช้า, เรื่อย ๆ, ไม่รีบร้อน. - ฉักกะ
หมายถึง (แบบ) น. หมวด ๖ คือ รวมสิ่งละหก ๆ. (ป.). - ฉัฐ
หมายถึง [ฉัดถะ] (แบบ) ว. ที่ ๖. (ป. ฉฏฺ). - ฉัด
หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. เตะ.