คำในภาษาไทย หมวด ส
รวมคำในภาษาไทย หมวด ส
คำในภาษาไทย หมวด ส ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ส
หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๔๐ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้นและตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สวย สงสาร สวิตช์ รส สัมผัส สวิส. - ส
หมายถึง คำประกอบหน้าคำอื่นที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บ่งความว่า กอบด้วย, พร้อมด้วย, เช่น สเทวก ว่า พร้อมด้วยเทวดา. (ป., ส.). - สก
หมายถึง (โบ) ก. สะเด็ดนํ้า เช่น เอาข้าวที่ซาวนํ้าแล้วใส่ในตะแกรงเพื่อให้นํ้าแห้ง เรียกว่า สก. - สก
หมายถึง น. ผม. (ข. สก่). - สก,สก-,สก-
หมายถึง [สะกะ-] ว. ของตน. (ป.; ส. สฺวก). - สกฏ,สกฏ-,สกฏะ
หมายถึง [สะกะตะ-] น. เกวียน. (ป.). - สกฏภาระ
หมายถึง [-พาระ] น. ของบรรทุกเกวียน. - สกทาคามิผล,สกิทาคามิผล
หมายถึง [สะกะ-, สะกิ-] น. ธรรมที่พระสกทาคามีได้บรรลุ. (ป. สกทาคามิผล, สกิทาคามิผล; ส. สกฺฤทาคามินฺ + ผล). (ดู ผล). - สกทาคามิมรรค,สกิทาคามิมรรค
หมายถึง [-มัก] น. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระสกทาคามี. (ส. สกฺฤทาคามินฺ + มารฺค; ป. สกทาคามิมคฺค, สกิทาคามิมคฺค). (ดู มรรค). - สกทาคามี,สกิทาคามี
หมายถึง [สะกะ-, สะกิ-] น. “ผู้มาสู่กามภพอีกครั้งหนึ่ง” เป็นชื่อพระอริยบุคคลชั้นที่ ๒ ใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีก็เรียกสั้น ๆ ว่า พระสกทาคา หรือ พระสกิทาคา. (ป.; ส. สกฺฤทาคามินฺ). - สกนธ์
หมายถึง [สะกน] น. ขันธ์, กอง, ส่วนร่างกาย, ร่างกาย. (ส.; ป. ขนฺธ). - สกปรก
หมายถึง [สกกะปฺรก] ว. เปรอะหรือเปื้อนด้วยสิ่งที่ถือว่าน่าเกลียดหรือที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เสื้อผ้าสกปรก เนื้อตัวสกปรกด้วยฝุ่นละออง, ขุ่นมัว, ไม่สะอาดหมดจด, เช่น น้ำสกปรก จิตใจสกปรก, ลักษณะกิริยาวาจาที่แสดงออกอย่างหยาบคาย เช่น พูดจาสกปรก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเป็นคนสกปรก เล่นสกปรก. - สกรณีย์
หมายถึง [สะกะระ-] (แบบ) น. ผู้ยังมีหน้าที่จะต้องทำ. (ป.). - สกรรจ์
หมายถึง [สะกัน] ว. ร้าย, ดุร้าย, เก่งกาจ, แข็งแรง, โดยมากใช้ ฉกรรจ์. - สกรรถ
หมายถึง [สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมายคงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำเช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ). - สกรรมกริยา
หมายถึง [สะกำกฺริยา, สะกำกะริยา] (ไว) น. กริยาที่มีกรรมหรือผู้ถูกกระทำมารับ เช่น ดื่มน้ำ เตะฟุตบอล. - สกล
หมายถึง [สะกน] ว. สากล. (ป., ส.). - สกล-
หมายถึง [สะกนละ-] ว. สากล. (ป., ส.). - สกลมหาสังฆปริณายก
หมายถึง [สะกนมะหาสังคะปะรินายก] (กฎ) น. ตำแหน่งของสมเด็จพระสังฆราชในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ทั้งปวง ทรงมีอำนาจบัญชาการคณะสงฆ์ ทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม. - สกลโลก
หมายถึง น. ทั้งโลก, โลกทั้งสิ้น, ทั่วโลก. - สกวาที
หมายถึง น. ผู้กล่าวถ้อยคำฝ่ายตน คือ ฝ่ายเสนอหรือฝ่ายถาม, คู่กับ ปรวาที. (ป.). - สกัด
หมายถึง ก. กั้น, ขวาง, เช่น สกัดหน้า; ตัดหรือกะเทาะของแข็งเช่นเหล็ก หิน ให้เป็นร่อง รอย ทะลุ หรือให้ขาดจากกัน, เรียกเหล็กที่ใช้ตัดหรือกะเทาะของแข็งเช่นนั้นว่า เหล็กสกัด; เค้นหรือแยกเอาออกมา เช่น สกัดนํ้ามัน สกัดน้ำหอมจากดอกกุหลาบ. (ข.). - สกัดแคร่
หมายถึง น. โคลงทวารประดับ. - สกา
หมายถึง น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่งใช้ลูกบาศก์ทอดแล้วเดินตัวสกาตามแต้มลูกบาศก์. (เทียบทมิฬ บาสกา). - สกาว
หมายถึง [สะกาว] ว. ขาว, สะอาด, หมดจด. - สกิทาคามี
หมายถึง น. สกทาคามี. - สกี
หมายถึง น. แผ่นไม้แคบ ๆ ๒ แผ่น ปรกติยาวแผ่นละ ๑.๕-๒.๔ เมตร มีที่สำหรับสวมเท้าผู้เล่น ใช้ในการเล่นสกี; กีฬาอย่างหนึ่ง ผู้เล่นยืนบนแผ่นสกี แล้วไถตัวให้ลื่นไถลลงไปตามเนินเขาที่มีหิมะปกคลุม โดยมีไม้คู่หนึ่งสำหรับยันหรือถ่อเวลาเล่น. (อ. ski). - สกีน้ำ
หมายถึง น. กีฬาอย่างหนึ่งคล้ายสกี แต่เล่นในนํ้า ใช้เรือยนต์ลาก. (อ. water ski). - สกุณ
หมายถึง น. นก. (ป.; ส. ศกุน). - สกุณา
หมายถึง (กลอน) น. นก. - สกุณี
หมายถึง (กลอน) น. นก. - สกุน
หมายถึง น. รก, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสกุน. - สกุนต์
หมายถึง น. นก. (ป.; ส. ศกุนฺต). - สกุล
หมายถึง [สะกุน] น. ตระกูล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์; เชื้อชาติผู้ดี เช่น เป็นคนมีสกุล ผู้ดีมีสกุล. - สกุลรุนชาติ
หมายถึง [สะกุนรุนชาด] น. ตระกูลผู้ดี เช่น เขาเป็นคนมีสกุลรุนชาติ. - สขะ,สขา,สขิ
หมายถึง (แบบ) น. เพื่อน, สหาย. (ป., ส.). - สง
หมายถึง ก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น สงข้าว สงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. ว. สุกจัด, แก่จัด, (ใช้แก่หมาก) ในคำว่า หมากสง. - สงกร
หมายถึง [-กอน] (แบบ) น. การปะปน, การคาบเกี่ยว. (ป.; ส. สํกร). - สงกรานต์
หมายถึง [-กฺราน] น. ชื่อสัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์สีรุ้ง ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ในทะเล ช่วงประมาณเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์. - สงกรานต์
หมายถึง [-กฺราน] น. เทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่งกำหนดตามสุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ เมษายน วันที่ ๑๓ คือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ คือวันเนา และวันที่ ๑๕ คือวันเถลิงศก. (ส. สงฺกฺรานฺติ). - สงกา
หมายถึง น. ความสงสัย. (ป. สงฺกา; ส. ศงฺกา). - สงคร
หมายถึง [-คอน] (แบบ) น. ความตกลง, สัญญา, ความผัดเพี้ยน. (ป. สงฺคร; ส. สํคร). - สงคราม
หมายถึง [-คฺราม] น. การรบใหญ่ที่มีคนจำนวนมากต่อสู้ฆ่าฟันกัน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สงครามชีวิต สงครามปาก. (ส. สํคฺราม; ป. สงฺคาม). - สงครามกลางเมือง
หมายถึง น. สงครามระหว่างชนที่อาศัยอยู่ในประเทศเดียวกัน. - สงครามนิวเคลียร์
หมายถึง น. สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์. - สงครามเย็น
หมายถึง น. การต่อสู้ระหว่างประเทศต่อประเทศโดยไม่ใช้อาวุธ แต่ใช้อำนาจอื่นแทน เช่น อำนาจทางการเมือง อำนาจทางเศรษฐกิจ. - สงครามโลก
หมายถึง น. สงครามใหญ่ที่มีประเทศมหาอำนาจเป็นคู่สงคราม. - สงค์
หมายถึง น. ความข้องอยู่, ความเกี่ยวพัน, การติดอยู่. (ป. สงฺค; ส. สํค). - สงฆ์
หมายถึง น. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคำ พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ). - สงบ
หมายถึง [สะหฺงบ] ก. ระงับ เช่น สงบจิตสงบใจ สงบสติอารมณ์ สงบศึก, หยุดนิ่ง เช่น คลื่นลมสงบ พายุสงบ, กลับเป็นปรกติ เช่น เหตุการณ์สงบแล้ว, ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น จิตใจสงบ, ไม่กำเริบ เช่น อาการไข้สงบลง ภูเขาไฟสงบ, ไม่วุ่นวาย เช่น บ้านเมืองสงบปราศจากโจรผู้ร้าย. - สงบปากสงบคำ
หมายถึง ก. นิ่ง, ไม่พูด, เช่น เขาเป็นคนสงบปากสงบคำ, ไม่โต้เถียง เช่น สงบปากสงบคำเสียบ้าง อย่าไปต่อล้อต่อเถียงเขาเลย. - สงบราบคาบ
หมายถึง ก. เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้างกระเดื่อง เช่น บ้านเมืองสงบราบคาบ. - สงบเงียบ
หมายถึง ก. ปราศจากเสียงรบกวน เช่น เด็ก ๆ ไม่อยู่บ้าน ทำให้บ้านสงบเงียบ. - สงบเสงี่ยม
หมายถึง ก. ระงับกิริยาวาจาด้วยความสุภาพเรียบร้อย เช่น เวลาอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ต้องสงบเสงี่ยมเจียมตัว. - สงวน
หมายถึง [สะหฺงวน] ก. ถนอมรักษาไว้ เช่น เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์ (โลกนิติ) สงวนมรดกของชาติ, หวงแหนไว้ เช่น สงวนเนื้อสงวนตัว สงวนลิขสิทธิ์ สงวนสิทธิ์. ว. ที่รักษาหวงแหนไว้ เช่น ป่าสงวน. - สงวนท่าที,สงวนทีท่า
หมายถึง ก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้ง เพื่อไม่ให้ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทายใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง. - สงวนปากสงวนคำ
หมายถึง ก. พูดด้วยความระมัดระวัง, ระมัดระวังคำพูด, เช่น จะพูดจาอะไร รู้จักสงวนปากสงวนคำไว้บ้าง ผู้อื่นจะรู้ความคิด. - สงสัย
หมายถึง ก. ไม่แน่ใจในข้อเท็จจริง เช่น สงสัยว่าทำดีจะได้ดีจริงหรือ, ลังเล เช่น เมื่อเดินไปถึงทาง ๒ แพร่ง สงสัยว่าจะไปทางไหนจึงจะถูก; ทราบไม่ได้แน่ชัด, เคลือบแคลง, เช่น สงสัยว่าคำตอบข้อไหนถูก สงสัยว่าเขาจะเป็นขโมย; เอาแน่ไม่ได้ เช่น สงสัยว่าเขาจะมาหรือไม่มา. (ป. สํสย; ส. สํศย). - สงสาร
หมายถึง [สงสาน] ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร. - สงสาร,สงสาร,สงสาร-
หมายถึง [สงสาน, สงสาระ-] น. การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด; โลก. (ป., ส. สํสาร). - สงสารทุกข์
หมายถึง น. ทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด. - สงสารวัฏ
หมายถึง น. การเวียนว่ายตายเกิด, สังสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร ก็ว่า. - สงัด
หมายถึง [สะหฺงัด] ก. เงียบสงบ เช่น คลื่นสงัด ลมสงัด. ว. เงียบเชียบ, สงบเงียบเพราะปราศจากเสียงรบกวน, เช่น ดึกสงัด ยามสงัด. - สงัดคลื่น
หมายถึง ก. ไม่มีเสียงคลื่น. - สงัดคลื่นสงัดลม
หมายถึง ก. ไม่มีคลื่นไม่มีลม เช่น ทะเลสงัดคลื่นสงัดลม. - สงัดผู้สงัดคน
หมายถึง ก. เงียบเชียบเพราะไม่มีผู้คนผ่านไปมา. - สงัดลม
หมายถึง ก. ไม่มีลมพัด. - สงเคราะห์
หมายถึง [-เคฺราะ] น. การช่วยเหลือ, การอุดหนุน, เช่น ฌาปนกิจสงเคราะห์; การรวบรวม เช่น หนังสือนามสงเคราะห์. ก. อุดหนุน เช่น สงเคราะห์เด็กกำพร้า. (ส. สงฺคฺรห; ป. สงฺคห). - สงเษป
หมายถึง [-เสบ] (แบบ) น. สังเขป เช่น สวมแสดงบันทึกสาร สงเษป ไส้พ่อ. (ยวนพ่าย). (ส. สํเกฺษป; ป. สงฺเขป). - สงโกจ
หมายถึง [-โกด] (แบบ) ก. หดเข้า, สั้นเข้า; สยิ้ว, หน้านิ่วคิ้วขมวด. (ป. สงฺโกจ; ส. สํโกจ). - สง่า
หมายถึง [สะหฺง่า] ว. มีลักษณะผึ่งผายเป็นที่น่ายำเกรงหรือน่านิยมยกย่อง เช่น ผู้นำจะต้องมีบุคลิกลักษณะสง่า, เป็นที่น่าเกรงขาม เช่น เสือโคร่งมีท่าทางสง่า. - สง่างาม
หมายถึง ว. มีท่าทางภูมิฐานแลดูงาม. - สง่าผ่าเผย
หมายถึง ว. มีท่าทางองอาจผึ่งผาย. - สง่าราศี
หมายถึง ว. มีท่าทางภูมิฐานผิวพรรณมีน้ำมีนวล. - สฐะ
หมายถึง (แบบ) ว. โกง, ล่อลวง; โอ้อวด. (ป.). - สณฑ์
หมายถึง (แบบ) น. ชัฏ, ดง, ที่รก, ที่ทึบ. (ป. สณฺฑ; ส. ษณฺฑ). - สด
หมายถึง ว. ใหม่ ใช้แก่ลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาหรือผลิตขึ้นใหม่ ๆ ยังไม่ทันเสื่อมหรือเสียคุณภาพของสิ่งนั้น คือ ไม่เหี่ยวแห้ง ซีดจาง และอาจบริโภคหรือใช้ได้ดีในสภาพของขณะนั้น เช่น ไข่สด กุ้งสด ปลาสด, มีอยู่หรือได้มาใหม่ ๆ เช่น ข่าวสด, ดิบ คือ ยังไม่สุกด้วยไฟ ไม่แห้งหรือหมักดองเป็นต้น เช่น น้ำพริกผักสด ผลไม้สด น้ำตาลสด เบียร์สด ขนมจีนแป้งสด. - สด ๆ,สด ๆ ร้อน ๆ
หมายถึง ว. หยก ๆ, ใหม่ ๆ, เร็ว ๆ นี้, ไว ๆ นี้, เช่น เขาเพิ่งจบการศึกษามาจากต่างประเทศสด ๆ ร้อน ๆ สินค้าเพิ่งผลิตออกจากโรงงานสด ๆ ร้อน ๆ; ซึ่ง ๆ หน้า เช่น เจ้าข้าเอ่ยบุคคลผู้ใดเลย ในโลกนี้ที่น่าจะเจรจาตลบเลี้ยวลดสด ๆ ร้อน ๆ เหมือนเจ้าพระยาเวสสันดรชีไพรเป็นว่าหามิได้นี้แล้วแล (เวสสันดร), โกหกสด ๆ ร้อน ๆ. - สดก
หมายถึง [สะดก] (แบบ) น. หมวด ๑๐๐, จำนวนร้อย. (ป. สตก; ส. ศตก). - สดคาว
หมายถึง ว. ดิบ ๆ และยังมีคาวอย่างปลาสดหรือเนื้อสด เช่น เขาชอบกินอาหารสดคาว, อาหารที่แสลงแก่โรค เช่น เป็นโรคริดสีดวงห้ามกินของสดคาว. - สดชื่น
หมายถึง ว. ใหม่และบริสุทธิ์ทำให้เบิกบานใจและกระปรี้กระเปร่าขึ้น เช่น จิตใจสดชื่น อากาศสดชื่น ดอกไม้บานสดชื่น ผิวพรรณสดชื่น หน้าตาสดชื่น. - สดน,สดัน
หมายถึง [สะดน, สะ-] (แบบ) น. เต้านม. (ส. สฺตน; ป. ถน). - สดมภ์
หมายถึง [สะดม] น. เสา, หลัก; (คณิต) ช่องในแนวตั้งสำหรับกรอกรายการต่าง ๆ เช่น ตัวเลข สัญลักษณ์ สูตร. (ส. สฺตมฺภ; ป. ถมฺภ). - สดับ
หมายถึง [สะดับ] ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคำตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง; (วรรณ) ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่. (วิวาหพระสมุท). (ข. สฎาบ่). - สดับตรับฟัง
หมายถึง ก. ฟังด้วยความเอาใจใส่ เช่น สดับตรับฟังพระธรรมเทศนา. - สดับปกรณ์
หมายถึง [สะดับปะกอน] ก. บังสุกุล (ใช้แก่ศพเจ้านาย). น. พิธีสวดมาติกาบังสุกุลเนื่องด้วยศพ ปัจจุบันใช้เฉพาะเจ้านาย. (ป. สตฺตปฺปกรณ; ส. สปฺตปฺรกรณ หมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์). - สดำ
หมายถึง [สะ-] ว. ขวา. (ข. สฺฎำ). - สดี
หมายถึง [สะ-] น. นางที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี. (ส. สตี). - สดุดี
หมายถึง [สะ-] น. คำยกย่อง, คำสรรเสริญ, (โดยปรกติใช้ในลักษณะเป็นพิธีการ), เช่น กล่าวสดุดีวีรกรรมของทหาร. (ส. สฺตุติ; ป. ถุติ). - สดูป
หมายถึง [สะดูบ] (แบบ) น. สถูป, สิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชามีกระดูกแห่งบุคคลที่นับถือเป็นต้น, สตูป ก็ว่า. (ส. สฺตูป; ป. ถูป). - สดใส
หมายถึง ว. ผ่องใส, ไม่ขุ่นมัว, เช่น หน้าตาสดใส สีสันสดใส. - สต,สต-,สตะ,สตะ
หมายถึง [สะตะ-] น. ร้อย (๑๐๐). (ป.; ส. ศต). - สตกะ
หมายถึง [สะตะ-] น. หมวด ๑๐๐, จำนวนร้อย. (ป.). - สตน,สตัน
หมายถึง [สะตน, สะ-] (แบบ) น. เต้านม. (ส. สฺตน; ป. ถน). - สตภิสชะ,ศตภิษัช
หมายถึง [สะตะพิดชะ, สะตะพิสัด] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๔ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปทิมทองหรือมังกร, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์ ก็เรียก. - สตมาหะ
หมายถึง น. วันที่ครบ ๑๐๐. - สตรอนเชียม
หมายถึง [สะตฺรอน-] น. ธาตุลำดับที่ ๓๘ สัญลักษณ์ Sr เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีเหลืองอ่อน ไวต่อปฏิกิริยาเคมี หลอมละลายที่ ๗๕๒ °ซ. (อ. strontium). - สตริกนิน
หมายถึง [สะตฺริก-] น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C21H22N2O2 ลักษณะเป็นผลึกหรือผงสีขาว ละลายได้เล็กน้อยในนํ้า หลอมละลายที่ ๒๖๘ °-๒๙๐ °ซ. เป็นพิษอย่างแรง. (อ. strychnine). - สตรี
หมายถึง [สัดตฺรี] น. ผู้หญิง, เพศหญิง, คู่กับ บุรุษ, (ใช้ในลักษณะที่สุภาพ). (ส.; ป. อิตฺถี, ถี). - สตรีลิงค์,สตรีลึงค์
หมายถึง (ไว) น. เพศของคำที่เป็นเพศหญิง เช่น ย่า ยาย แม่ นารี, อิตถีลิงค์ ก็ว่า. (ส. สฺตรีลิงฺค; ป. อิตฺถีลิงฺค).