คำสมาส: คำสมาสแบบคำสนธิ คืออะไร

ครั้งก่อนเราได้ทราบกันแล้วว่า “คำสนธิ” จริง ๆ แล้วไม่มี เพราะสนธิเป็นวิธีการเชื่อมเสียงเท่านั้น เราจะเรียกว่าคำสมาสเป็นหลักใหญ่เท่านั้น สมาส เป็นวิธีการสร้างคำในภาษาบาลี สันสกฤต (เท่านั้น) ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาต่อกัน

ครั้งก่อนเราได้ทราบกันแล้วว่า “คำสนธิ” จริง ๆ แล้วไม่มี เพราะสนธิเป็นวิธีการเชื่อมเสียงเท่านั้น เราจะเรียกว่าคำสมาสเป็นหลักใหญ่เท่านั้น สมาส เป็นวิธีการสร้างคำในภาษาบาลี สันสกฤต (เท่านั้น) ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาต่อกัน แต่จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ต่อแบบคำชนกันปกติ เราเรียก “สมาสแบบสมาส” กับ ต่อแบบเชื่อมเสียง มีการเปลี่ยนรูปศัพท์ เราเรียก “สมาสแบบสนธิ” เรียกได้ว่า สนธิ เป็น Subset ในคำสมาสนั่งเอง แต่คนไทยเราชอบอะไรง่าย ๆ จึงเรียก คำสมาส คำสนธิ ไปเลย มีสูตรหากินที่ท่องว่า “สมาสชน สนธิเชื่อม

 

วันนี้เราจะมาลงลึกถึง สนธิเชื่อม นั่นคือ สมาสแบบสนธิ มาดูกันว่าจะเชื่อมได้ง่ายหรือเปล่า

 

คำสมาสแบบสนธิ

คำสมาสแบบสนธิ คือ การรวมกันของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปเข้าเป็นคำเดียว โดยการเชื่อมเสียงท้ายพยางค์หน้ากับเสียงหน้าพยางค์หลังให้กลมกลืนกัน หรืออาจมีการเปลี่ยนรูปคำของศัพท์หลัง

การสนธิ มีกี่แบบ?

การสนธิ มี 3 ลักษณะ คือ 1. สระสนธิ 2. พยัญชนะสนธิ และ 3. นิคหิตสนธิ

 

1. สระสนธิ

สระสนธิ คือ การเชื่อมระหว่างเสียงสระพยางค์ท้ายของคำหน้ากับเสียงสระพยางค์แรกของคำหลัง ให้เหลือเพียงเสียงเดียว ซึ่งอาจเป็นเสียงสระพยางค์ท้ายของคำหน้า หรือเสียงสระพยางค์แรกของคำหลังหรือเสียงสระคงที่ หรืออาจแปลงเป็นเสียงสระอื่นก็ได้ 

1.1 อะ, อา สนธิกับ อะ, อา = อะ, อา เช่น

เทศ() + ภิบาล = เทศาภิบาล
ธน() + อาคาร = ธนาคาร

1.2 อะ, อา สนธิกับ อะ, อา ที่มีตัวสะกด = อะ, อา ที่มีตัวสะกด เช่น

สรรพ() + งฺค = สรรพางค์
มห + อัศจรรย์ = มหัศจรรย์

1.3 อะ, อา สนธิกับ อิ, อี = อิ, เอ, อี เช่น

นร() + อินทร์ = นรินทร์, นเรนทร์
มห + อิสี = มเหสี

1.4 อะ, อา สนธิกับ อุ, อู = อุ, อู, โอ เช่น

สุข() + อุทัย = สุโขทัย
มัคค() + อุเทศก์ = มัคคุเทศก์

1.5 อะ, อา สนธิกับ เอ, โอ, ไอ, เอา = เอ, โอ, ไอ, เอา เช่น

อน() + เอก = อเนก
มห + โอฬาร = มโหฬาร
โภค() + ไอศวรรย์ = โภไคศวรรย์

1.6  อิ, อี สนธิกับ อิ, อี = อิ, อี เช่น

ภูมิ + อินทร์      =    ภูมินทร์
โกสี + อินทร์    =    โกสินทร์

1.7 ถ้าสระอิ อี สนธิกับสระอื่น เช่น อะ อา อุ โอ มีวิธีการ 2 อย่าง คือ

1.7.1 แปลงรูปอิ อี เป็น ย ก่อน แล้วจึงนำไปสนธิตามแบบ อะ อา แต่ถ้าคำนั้นมีตัวสะกดตัวตาม ต้องตัดตัวตาม (ตัวหลัง) ออกก่อน เช่น อัคคี เป็น อัคย ไม่ใช่ อัคคย (อัค + โอภาส = อัคโยภาส)
1.7.2 ตัด อิ อี ออก แล้วสนธิแบบ อะ อา เช่น ศักดิ เป็น ศักด (ศัก+ อานุภาพ = ศักดานุภาพ)

1.8 อุ, อู สนธิกับ อุ, อู = อุ, อู เช่น

คุรุ + อุปถัมภ์ = คุรุปถัมภ์, คุรูปถัมภ์

1.9 แต่ถ้า อุ อู สนธิกับสระอื่น จะต้องเปลี่ยนรูป อุ อู เป็น ว แล้วสนธิตามแบบ อะ อา เช่น

นู + อาคม เปลี่ยน อู เป็น ว =  ธนว(ะ) + อาคม  =   ธันวาคม

2. พยัญชนะสนธิ

พยัญชนะสนธิ คือ การนำคำที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะไปเชื่อมเสียงกับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ เช่น

2.1 พยางค์หลังของคำหน้าลงท้ายด้วย ส

2.1.1 ส สนธิกับ คำหลังที่เป็นอักษรกลาง ให้คง ส ไว้ เช่น

นมั + าร = นมัสการ

2.1.2 ส สนธิกับ พยัญชนะ ให้เปลี่ยน ส เป็น โอ เช่น

รหั + าน = รโหฐาน

2.1.3 ทุส, นิส สนธิกับ พยัญชนะ เปลี่ยน ส เป็น ร เช่น

ทุ + กันดาร = ทุรกันดาร
นิ + ภัย = นิรภัย

2.2 พยางค์หลังของคำหน้าลงท้ายด้วย น ให้ตัด น ออก เช่น

พรหม + าติ = พรหมชาติ

2.3 พยางค์หลังของคำหน้าลงท้ายด้วย ต

2.3.1 ต สนธิกับ อักษรสูง/อักษรกลาง ยกเว้น ห ให้คงไว้ เช่น

อุ + าห = อุตสาหะ

2.3.2 ต สนธิกับ อักษรต่ำ/ อ  เปลี่ยน ต เป็น ท เช่น

สั + รรม = สัทธรรม

 

3. นิคหิตสนธิ หรือนฤคหิตสนธิ

นิคหิตสนธิ หรือ นฤคหิตสนธิ คือ การเชื่อมเสียงของคำที่มีนิคหิตหรือมีพยางค์ท้ายเป็นนิคหิตกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระหรือพยัญชนะก็ได้ เมื่อสนธิแล้วนิคหิตจะเปลี่ยนเป็นตัวอักษร (นิคหิต =  ํ )

3.1 นิคหิต สนธิกับ สระ ให้เปลี่ยน  ํ เป็น ม แล้วตัด อ ทิ้ง เช่น

สํ + าคม = สมาคม

3.2 นิคหิต สนธิกับ พยัญชนะวรรค ให้เปลี่ยนนิคหิตเป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของวรรคก่อน ได้แก่

3.2.1 สนธิกับวรรค กะ เปลี่ยน  ํ เป็น ง เช่น สํ + คีต = สังคีต

3.2.2 สนธิกับวรรค จะ เปลี่ยน  ํ เป็น ญ เช่น สํ + ร = สัญจร

3.2.3 สนธิกับวรรค ฏะ เปลี่ยน  ํ เป็น ณ เช่น สํ + าน = สัณฐาน

3.2.4 สนธิกับวรรค ตะ เปลี่ยน  ํ เป็น น เช่น สํ + าน = สันดาน

3.2.5 สนธิกับวรรค ปะ เปลี่ยน  ํ เป็น ม เช่น สํ + พันธ์ = สัมพันธ์

3.3 นิคหิต สนธิกับ เศษวรรค (ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ ) เปลี่ยน  ํ เป็น ง เช่น

สํ + ร = สังวร
สํ + าร = สังหาร

ตัวอย่างคำสมาสแบบสนธิ

มกราคม วโรกาส บรรณารักษ์ นเรศวร ราชูปถัมภ์ วิทยาลัย หิมาลัย สุขาภิบาล โลกาภิวัตน์ เมษายน พฤศจิกายน ราโชวาท กรรมาธิการ ศิลปากร นโยบาย คุณูปการ อัธยาศัย มโนธรรม มโนคติ นิราศ เนรเทศ ทรชน ทรพิษ สัมฤทธิ์ สมาคม สังคีต สังเกต สังขาร สัญญาณ สัญญา สัญจร สันโดษ สันนิบาต สัมปทาน สมเพช สังหรณ์ สังวร ชลาลัย ทรัพยากร ประชากร วชิราวุธ พุทโธวาท คทาวุธ  คเชนทร์ นิโลบล กตัญชลี ยโสธร อมรินทร์ หัสดินทร์ โภไคศวรรย์ เทพารักษ์ คงคาลัย กุศโลบาย อนามัย มิถุนายน 

 

 ข้อมูลน่าสนใจ

  1. คำสนธิ คืออะไร?

    สนธิเป็นวิธีการเชื่อมเสียงเท่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วคำสนธิเป็นเพียงประเภทหนึ่งของคำสมาส

  2. คำสมาสแบบสนธิ คืออะไร?

    คำสมาสแบบสนธิ คือ การรวมกันของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปเข้าเป็นคำเดียว

  3. คำสนธิ เป็นคำสมาสหรือไม่?

    คำสนธิทั้งหมดนั้นล้วนเป็นคำสมาส


ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับคำสนธิ

คำสนธิ รวมคำสนธิ คำสมาสแบบสนธิ ตัวอย่าง การใช้คำสนธิคำสนธิ คือ การเชื่อมคำเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยคำบาลีและสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป

คำสนธิที่เกี่ยวข้อง


 หมวดหมู่ ภาษาไทย คำสนธิ
ชอบเนื้อหาชุดนี้ กดให้คะแนน 5 ดาวกับเราได้เลยจ้า
 แสดงความคิดเห็น