คำในภาษาไทย หมวด ฆ

คำในภาษาไทย หมวด ฆ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ฆ

คำในภาษาไทย หมวด ฆ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๖ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ใช้เขียนในคำไทยมีบ้างเล็กน้อย คือ ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ระฆัง ตะเฆ่.
  2. ฆน
    หมายถึง [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับอันคละฆนศิลา. (ดุษฎีคำฉันท์). (ป., ส.).
  3. ฆน-
    หมายถึง [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับอันคละฆนศิลา. (ดุษฎีคำฉันท์). (ป., ส.).
  4. ฆนะ
    หมายถึง [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับอันคละฆนศิลา. (ดุษฎีคำฉันท์). (ป., ส.).
  5. ฆร,ฆร-,ฆระ
    หมายถึง [คะระ-] น. เรือน. (ส. คฺฤห).
  6. ฆรณี
    หมายถึง [คอระนี] น. แม่เรือน, เมีย. (ป., ส.).
  7. ฆราวาส
    หมายถึง [คะราวาด] น. คนผู้อยู่ครองเรือน, คนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่บรรพชิตหรือนักบวช. (ป.).
  8. ฆาฏ
    หมายถึง (โบ; เลิก) น. การฆ่า, การทำลาย. ก. ตี.
  9. ฆาต,ฆาต-
    หมายถึง [คาด, คาดตะ-] น. การฆ่า, การทำลาย. ก. ตี เช่น เจ้าวิลาสฆาตกลองเร่งกองรบ. (อภัย).
  10. ฆาตกร
    หมายถึง น. ผู้ที่ฆ่าคน.
  11. ฆาตกรรม
    หมายถึง น. การฆ่าคน. (ป. ฆาต + ส. กรฺมนฺ).
  12. ฆาน
    หมายถึง [คาน] (แบบ) น. จมูก, ประสาทที่รับรู้กลิ่น. (ป.).
  13. ฆาน-
    หมายถึง [คานะ-] (แบบ) น. จมูก, ประสาทที่รับรู้กลิ่น. (ป.).
  14. ฆานประสาท
    หมายถึง น. ประสาทที่รับรู้กลิ่น.
  15. ฆานินทรีย์
    หมายถึง น. จมูกซึ่งเป็นใหญ่ในการดมกลิ่น. (ป. ฆาน + อินฺทฺริย).
  16. ฆ่า
    หมายถึง ก. ทำให้ตาย เช่น ฆ่าคน ฆ่าสัตว์; ทำให้หมดไป, ทำให้สิ้นไป, เช่น ฆ่าเวลา ฆ่ากลิ่น ฆ่าข้อความ.
  17. ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก
    หมายถึง (สำ) ก. ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่.
  18. ฆ่าควายเสียดายเกลือ
    หมายถึง (สำ) ก. ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่.
  19. ฆ่าช้างเอางา
    หมายถึง (สำ) ก. ทำลายของใหญ่เพื่อให้ได้ของเล็กน้อยซึ่งไม่คุ้มค่ากัน.
  20. ฆ่าฟัน
    หมายถึง ก. ใช้อาวุธฆ่ากัน.
  21. ฆ่าแกง
    หมายถึง (ปาก) ก. ทำให้ตาย.
  22. ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด
    หมายถึง (สำ) ก. ตัดเยื่อใยไม่ขาด (มักใช้แก่พ่อแม่ที่รักลูกมากถึงจะโกรธจะเกลียดอย่างไรก็ตัดไม่ขาด).
  23. ฆ้อง
    หมายถึง น. เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง ทำด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่นวงกลม มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีปุ่มกลมตรงกลางสำหรับตี มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง.
  24. ฆ้องกระแต
    หมายถึง น. ฆ้องขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ โดยทำร้านฆ้องโค้งงอขึ้นเหมือนฆ้องมอญแต่ปลายสั้นกว่า วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก หรือใช้แขวนกับไม้สำหรับถือตีเป็นสัญญาณในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ.
  25. ฆ้องคู่
    หมายถึง น. ฆ้องที่ใช้บรรเลงในการเชิดหนังตะลุงและละครโนราชาตรี ชุดหนึ่งมี ๒ ลูก, ปักษ์ใต้เรียก โหม่ง.
  26. ฆ้องชัย
    หมายถึง น. ฆ้องขนาดใหญ่ สมัยโบราณใช้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ในปัจจุบันใช้ตีในงานพิธีมงคลต่าง ๆ, ฆ้องหุ่ย ก็เรียก.
  27. ฆ้องปากแตก
    หมายถึง (สำ) ว. ปากโป้ง, เก็บความลับไม่อยู่, ชอบนำความลับของผู้อื่นไปโพนทะนา.
  28. ฆ้องวง
    หมายถึง น. ฆ้องที่ใช้ตีดำเนินทำนอง เจาะรูที่ใบฉัตร ๔ รู สำหรับร้อยหนังตีเกลียวผูกโยงกับวงที่ทำด้วยต้นหวายโป่ง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๖-๑๙ ลูก ทุกลูกเทียบเสียงตํ่าสูงเรียงกันเป็นลำดับ มีหลายชนิด คือ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมโหรี ฆ้องวงเล็กมโหรี.
  29. ฆ้องสามย่าน
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Kalanchoe วงศ์ Crassulaceae ใบอวบนํ้า ใช้ทำยาได้ เช่น ชนิด K. laciniata DC. ดอกสีเหลือง.
  30. ฆ้องหุ่ย
    หมายถึง ดู ฆ้องชัย.
  31. ฆ้องเหม่ง
    หมายถึง น. ฆ้องขนาดเขื่องกว่าฆ้องกระแต หนามาก มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยกับไม้สำหรับถือตีประกอบจังหวะ.
  32. ฆ้องโหม่ง
    หมายถึง น. ฆ้องขนาดใหญ่กว่าฆ้องเหม่ง มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยทางตั้งกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตรงหัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้ากับเชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรี, สมัยโบราณใช้ตีในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอก “โมง” คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลากลางคืนบอก “ทุ่ม”.
  33. เฆี่ยน
    หมายถึง ก. ตีด้วยหวายหรือไม้เรียวเป็นต้นเป็นการลงโทษ; (ปาก) เร่งความเร็ว เช่น เฆี่ยนมาด้วยความเร็ว ๑๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง, เอาชนะคู่แข่งขันอย่างขาดลอย เช่น เฆี่ยนฝ่ายตรงข้าม ๓ เกมรวด.
  34. โฆรวิส
    หมายถึง [โคระวิด] น. งูพิษ. ว. มีพิษร้าย. (ป.).
  35. โฆษก
    หมายถึง [โคสก] น. ผู้ประกาศ, ผู้โฆษณา, เช่น โฆษกสถานีวิทยุ; ผู้แถลงข่าวแทน เช่น โฆษกพรรคการเมือง. (ส.; ป. โฆสก ว่า ผู้ป่าวร้อง, ผู้โฆษณา).
  36. โฆษณา
    หมายถึง [โคดสะนา] ก. เผยแพร่ข้อความออกไปยังสาธารณชน; ป่าวร้อง, ป่าวประกาศ, เช่น โฆษณาสินค้า; (กฎ) กระทำการไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า. (ส.; ป. โฆสนา).
  37. โฆษณาการ
    หมายถึง น. การป่าวร้องให้ทราบ, การแจ้งความให้ทราบ. (ส. โฆษณา + อาการ).
  38. โฆษณาชวนเชื่อ
    หมายถึง ก. เผยแพร่อุดมการณ์หรือความคิดเห็น ด้วยกลอุบายต่าง ๆ เพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้เห็นคล้อยตาม.
  39. โฆษะ
    หมายถึง ว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่นในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).
  40. โฆษิต
    หมายถึง ก. กึกก้อง, ป่าวร้อง. (ส.; ป. โฆสิต).

 แสดงความคิดเห็น