คำในภาษาไทย หมวด ย
รวมคำในภาษาไทย หมวด ย
คำในภาษาไทย หมวด ย ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ย
หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๓๔ เป็นพวกอักษรตํ่า เป็นได้ทั้งตัวต้นและตัวสะกดในแม่เกย. - ยก
หมายถึง น. มาตราวัดไม้ คือ หน้ากว้าง ๑ ศอก ยาว ๑๖ วา หนา ๑ นิ้ว เป็น ๑ ยก ตามอัตราไม้นิ้ว; กำหนดเวลาระยะหนึ่ง ๆ หรือจำนวนหนึ่ง เช่น มวยยกหนึ่งกำหนด ๒-๓ นาที เฆี่ยนยกหนึ่งกำหนด ๓๐ ที; กระดาษแผ่นหนึ่งขนาด ๓๑ ๔๒ นิ้ว ถ้าพิมพ์ได้ ๔ หน้า เรียกว่า ขนาด ๔ หน้ายก ถ้าพิมพ์ได้ ๘ หน้า ๑๖ หน้า หรือ ๓๒ หน้า เรียกว่า ขนาด ๘ หน้ายก ๑๖ หน้ายก หรือ ๓๒ หน้ายก; กำหนดเวลาที่พระรูปหนึ่ง ๆ เทศน์ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เรียกว่า ยกหนึ่ง เป็นต้น. - ยก
หมายถึง ก. เอาขึ้นให้สูงจากที่เดิมทั้งโดยตรงและโดยปริยาย; เคลื่อนไป, พากันไป, เช่น ยกทัพ ยกพวก; งดเว้น, เพิกถอน, เช่น ยกโทษ ยกภาษี ยกคำสั่ง; มอบ เช่น ยกลูกสาวให้ ยกสมบัติให้; อ้าง เช่น ยกตัวอย่าง. น. เรียกผ้าไหมชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลายเด่นขึ้นว่า ผ้ายก. - ยกกระบัตร
หมายถึง (โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงานรักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียนเป็น ยุกกระบัตร ก็มี. - ยกกระเปาะ
หมายถึง ก. ยกขอบขึ้นเป็นรูปทรงกระบอกขนาดเล็ก เพื่อใช้ฝังเพชรพลอยในงานโลหะรูปพรรณ. - ยกกลีบ
หมายถึง ก. ยกกลีบผ้าโจงกระเบนข้างหลังให้โก่งขึ้น, รีดกางเกงตามแนวพับด้านหน้าและด้านหลังขาให้เป็นสันขึ้น. - ยกครู
หมายถึง ก. ทำพิธีบูชาครูเป็นประจำปี กล่าวคือ นำขันล้างหน้า ผ้าขาว เงิน ไปบูชาครูเป็นการคำนับ, ทำพิธีมอบตัวให้เป็นศิษย์ของครู กล่าวคือ นำดอกไม้ ธูป เทียน หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ไปบูชาครู. - ยกตนข่มท่าน
หมายถึง (สำ) ก. ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น, พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า. - ยกตัวขึ้นเหนือลม
หมายถึง (สำ) ก. ปัดความผิดให้พ้นตัว, ยกตัวเองให้พ้นผิด, ยกตนเหนือคนอื่น. - ยกทรง
หมายถึง น. เสื้อชั้นในหญิงที่ยกเต้านมเพื่อให้ได้รูปทรง. - ยกธงขาว
หมายถึง (ปาก) ก. ยอมแพ้. - ยกนะ
หมายถึง [ยะกะนะ] น. ตับ. (ป.; ส. ยกนฺ, ยกฺฤต). - ยกนิ้ว
หมายถึง (ปาก) ก. ยอมให้เป็นเยี่ยม. - ยกบัตร
หมายถึง [ยกกะบัด] (โบ) น. ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกกระบัตร หรือ พนักงานรักษาพระอัยการ ก็เรียก, เขียนเป็น ยกบัตร์ ก็มี. - ยกพื้น
หมายถึง น. พื้นที่สูงกว่าบริเวณโดยรอบ. ก. ทำพื้นให้สูงขึ้น. - ยกฟ้อง
หมายถึง (กฎ) ก. พิพากษาให้คดีตกไป โดยไม่บังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์. - ยกภูเขาออกจากอก
หมายถึง (สำ) ก. โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลดเปลื้องภาระที่หนักอกหนักใจให้หมดไป. - ยกมือ
หมายถึง ก. แสดงว่าเห็นด้วย. - ยกยอ
หมายถึง ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, พูดส่งเสริมให้ดีขึ้น; ยกย่องเกินความจริง. - ยกยอด
หมายถึง ก. ทำพิธีเอายอดเมรุยอดปราสาทขึ้น; เก็บเอาสิ่งที่ทำค้างไว้ไปทำให้เสร็จในคราวเดียวกัน; เก็บเอาความเจ็บแค้นไว้แก้แค้นในคราวเดียว; โอนจำนวนเงินจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง. - ยกยอปอปั้น
หมายถึง (ปาก) ก. ยกให้, มอบให้, เช่น ยกยอปอปั้นลูกสาวให้เขาไป; ยกย่องเกินจริง เช่น ยกยอปอปั้นให้เป็นคุณหญิง. - ยกย่อง
หมายถึง ก. เชิดชู. - ยกหยิบ
หมายถึง (กลอน) ก. หยิบยก เช่น จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง. (นิ. ภูเขาทอง). - ยกหางตัวเอง
หมายถึง (สำ) ก. ยกตนเองว่าดีว่าเก่ง. - ยกเก็จ
หมายถึง ก. ทำเก็จให้ยื่นออกมาจากฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน, คู่กับ ย่อเก็จ. - ยกเครื่อง
หมายถึง (ปาก) ก. ซ่อมใหญ่เครื่องยนต์ของรถยนต์หรือเรือยนต์เป็นต้น. - ยกเค้า
หมายถึง ก. เอาต้นทุนหรือกองทุนไปหมด (ใช้แก่การพนัน) เช่น แทงยกเค้า; (ปาก) ขโมยทรัพย์สินไปหมด เช่น เขาถูกยกเค้า. - ยกเมฆ
หมายถึง ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น. - ยกเลิก
หมายถึง ก. เพิกถอน, ไม่ใช้ต่อไป. - ยกเว้น
หมายถึง ก. ไม่เกี่ยวด้วย, กันเอาออก, ยอมให้เป็นพิเศษ. บ. นอกจาก, เว้นแต่, เว้นเสียแต่. - ยกเหลี่ยม
หมายถึง ก. ยกหน้ากระดานขึ้นเป็นสันคมไปทางยาว เช่น ยกเหลี่ยมอกเลาของบานประตู. - ยกใหญ่
หมายถึง (ปาก) ว. มากมาย, เป็นการใหญ่, เช่น ร้องไห้เสียยกใหญ่. - ยกไว้
หมายถึง ก. งดไว้, พักไว้, หยุดไว้. - ยง
หมายถึง ว. กล้าหาญ เช่น ยงยุทธ์ เยี่ยมยง, เก่งกล้าสามารถ เช่น ตัวยง. - ยง
หมายถึง ว. อร่ามเรือง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น โฉมยง ยุพยง. - ยง
หมายถึง ว. ยั่งยืน, มั่นคง, คงทน, ยืนนาน, เช่น อยู่ยงคงกระพัน ยืนยง. - ยงโย่
หมายถึง ก. กิริยาที่นั่งยอง ๆ หรือยืนขยับตัวขึ้น ๆ ลง ๆ ก้ม ๆ เงย ๆ ไม่เป็นระเบียบ, โยงโย่ ก็เรียก. - ยงโย่ยงหยก
หมายถึง ก. กิริยาที่จะยืนก็ไม่ใช่จะนั่งก็ไม่เชิง. - ยชุรเวท
หมายถึง [ยะชุระ-] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ ของพระเวท กล่าวถึงพิธีบูชาสำคัญหลายพิธี เช่น พิธีราชสูยะ พิธีอัศวเมธ รายละเอียดในการประกอบพิธีและเรื่องเล่าแต่งเป็นร้อยแก้ว ส่วนบทสวดเป็นฉันท์นำมาจากฤคเวท. (ส.). (ดู เวท, เวท- ประกอบ). - ยติ
หมายถึง น. ผู้สำรวมอินทรีย์, พระภิกษุ. (ป.; ส. ยติ, ยตินฺ). - ยติ
หมายถึง น. การหยุดเป็นจังหวะตามกำหนดในการอ่านฉันท์. (ป., ส.). - ยติภังค์
หมายถึง น. โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คำไม่หมดตรงที่กำหนดไว้ตามข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท- ธวิสุทธศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น - ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับพยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคำเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ในบรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี. - ยถากรรม
หมายถึง [ยะถากำ] ว. ตามบุญตามกรรม, ตามแต่จะเป็นไป. (ส.; ป. ยถากมฺม). - ยถาภูตญาณ
หมายถึง [ยะถาพูตะ-] น. ความรู้ตามความเป็นจริง. (ป.; ส. ยถาภูต + ชฺาน). - ยนต์,ยนตร์
หมายถึง น. เครื่องกลไก, เครื่องจักรที่ให้กำเนิดพลังงานหรือทำให้วัตถุเคลื่อนที่. (ป. ยนฺต; ส. ยนฺตฺร). - ยม
หมายถึง ก. ร้องไห้. (ข.). - ยม
หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Meliaceae เช่น ยมหิน (Chukrasia tabularis Juss.) ยมหอม (Toona ciliata M. Roem.). - ยม,ยม,ยม-
หมายถึง [ยม, ยมมะ-] น. เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ประจำโลกของคนตาย; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๙ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕,๙๐๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง ๒,๕๘๐ ถึง ๓,๕๓๐ กิโลเมตร ทางโคจรเป็นวงรีมาก ทำให้ส่วนหนึ่งของทางโคจรอยู่ภายในวงโคจรของดาวเนปจูน, ดาวพลูโต ก็เรียก. (ป., ส.). - ยมก
หมายถึง [ยะมก] น. คู่, แฝด, ๒ ชั้น; เรียกเครื่องหมายรูปดังนี้ ๆ ว่า ไม้ยมก สำหรับอ่านซํ้าความหรือซํ้าคำข้างหน้า ๒ หน. (ป., ส.). - ยมกปาฏิหาริย์
หมายถึง น. ปาฏิหาริย์ที่แสดงเป็นคู่ ๆ เป็นปาฏิหาริย์ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำที่ต้นมะม่วงซึ่งเรียกว่าคัณฑามพพฤกษ์ คือ ทรงบันดาลท่อนํ้าท่อไฟออกจากส่วนของพระกายเป็นคู่ ๆ กัน. (ป.). - ยมขันธ์
หมายถึง น. ชื่อยามที่เป็นอัปมงคล. - ยมทัณฑ์
หมายถึง น. ไม้อาญาสิทธิ์ของพระยม. (ส.). - ยมทูต
หมายถึง น. ผู้นำคนตายไปยังบัลลังก์พระยมเพื่อรอคำตัดสิน. (ป., ส.). - ยมนา
หมายถึง [ยมมะนา] น. แม่นํ้าใหญ่, ชื่อแม่นํ้าสายหนึ่งในอินเดีย คือ แม่นํ้ายมุนา ซึ่งเรียกเพี้ยนเป็น ชุมนา ก็มี. (ป., ส. ยมุนา). - ยมบาล
หมายถึง น. เจ้าพนักงานเมืองนรก มีหน้าที่ลงโทษทรมานคนที่ตกนรกตามคำสั่งของพญายม. (ป. ยมปาล ว่า ผู้รักษานรก). - ยมราช
หมายถึง น. เทพผู้เป็นใหญ่ประจำยมโลก. (ป., ส.). - ยมล
หมายถึง [ยะมน] น. คู่. (ป., ส.). - ยมะ
หมายถึง [ยะมะ] ก. สำรวม. (ป., ส.). - ยมะ
หมายถึง [ยะมะ] น. คู่, แฝด. (ป., ส.). - ยมโดย
หมายถึง น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Lycopodium squarrosum Forst. ในวงศ์ Lycopodiaceae. - ยมโลก
หมายถึง น. โลกของพระยม; โลกของคนตาย. (ป.). - ยรรยง
หมายถึง [ยัน-] ว. งามสง่า, กล้าหาญ. - ยล
หมายถึง [ยน] ก. มองดู. - ยวกสา
หมายถึง [ยะวะกะสา] น. นํ้าประสานดีบุก. - ยวง
หมายถึง น. เนื้อในของขนุนที่หุ้มเมล็ด เรียกว่า ยวงขนุน, ลักษณนามเรียกเนื้อในของขนุนว่า ขนุนยวงหนึ่ง ขนุน ๒ ยวง; เรียกลักษณะของเงินบริสุทธิ์ที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็นมันปลาบ ว่า เงินยวง, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะย้อยยืดลงมาเป็นแนวยาว ๆ เช่น ฝีถอนยวง ขี้มูกเป็นยวง. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้าว่า สีเงินยวง. - ยวด
หมายถึง ว. เป็นที่สุด, มักใช้คู่กับคำอื่น เช่น ยวดยง ยวดยิ่ง ยิ่งยวด. - ยวดยง
หมายถึง ว. เชี่ยวชาญที่สุด, เก่งที่สุด. - ยวดยาน
หมายถึง น. เครื่องขับขี่มีรถและเรือเป็นต้น. - ยวดยิ่ง
หมายถึง ว. เยี่ยมที่สุด, มากที่สุด, ยิ่งยวด ก็ว่า. - ยวน
หมายถึง น. ชื่อชนชาติกรีก, ชาวอินเดียเรียกเพี้ยนมาจากคำ Ionia; เรียกชาวไทยทางล้านนาว่า ไทยยวน, เพี้ยนเป็น เยาวนะ โยน หรือ โยนก ก็มี. (ส.). - ยวน
หมายถึง ก. ยั่ว, ล่อ, ชวนให้เพลิน, ชวนให้ยินดี, เช่น ยวนตา ยวนใจ; ก่อกวนให้เกิดกิเลสหรือโทสะ. - ยวนยี
หมายถึง ก. เคล้าคลึงชวนให้กำเริบรัก, คลึงเคล้าให้เป็นที่พอใจ; ก่อกวนให้เกิดกิเลสโทสะ, ยียวน ก็ว่า. - ยวบ
หมายถึง ก. อาการที่ไหวจะยุบลง เช่น นอกชานยวบ. - ยวบ ๆ
หมายถึง ว. อาการเคลื่อนไหวขึ้นลงตามแนวนอน เช่น สะพานยวบ ๆ. - ยวบยาบ
หมายถึง ว. อาการเดินหนัก ๆ ช้า ๆ ทำให้พื้นไหวเยือก ๆ, อาการที่พื้นยุบขึ้นยุบลง เช่น เดินบนพื้นฟากยวบยาบ. - ยวรยาตร
หมายถึง [ยวนระยาด] (กลอน) ก. ยุรยาตร. - ยวะ,ยวา
หมายถึง [ยะวะ, ยะวา] น. ข้าว, ข้าวเหนียว. (ป., ส. ยว ว่า ข้าวบาร์เลย์ เมล็ดคล้ายลูกเดือย). - ยวาคุ
หมายถึง [ยะวา-] น. ยาคู. (ส.). - ยศ
หมายถึง [ยด] น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูงต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกำหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. ว. ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส). - ยศช้างขุนนางพระ
หมายถึง (สำ) น. ยศที่ไม่สำคัญ ไม่จริงจัง และไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่ใครได้. - ยศอย่าง
หมายถึง น. การทำตามแบบอย่างผู้มียศ, การถือยศ ถือศักดิ์. - ยอ
หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Morinda citrifolia L. ในวงศ์ Rubiaceae แก่นและรากใช้ย้อมผ้า ผลและใบกินได้. - ยอ
หมายถึง ก. กล่าวคำเพื่อเชิดชู เช่น ยอพระเกียรติ หรือเพื่อให้ชอบใจ เช่น เด็กชอบให้ยอ; ยก เช่น ยอกร, ยกเพื่อกระแทก เช่น ยอด้วยเข่า; บอกให้หยุด (ใช้แก่วัวควาย); ให้หยุด, หยุด, เช่น ยอทัพ, โดยปริยายหมายความว่า เหนี่ยวรั้งไม่ไหว เช่น ยอไม่หยุด. - ยอ
หมายถึง น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง เป็นร่างแหสี่เหลี่ยมมีคันสำหรับยก. - ยอก
หมายถึง ก. ตำฝังอยู่ในเนื้อ เช่น หนามยอกเอาหนามบ่ง, รู้สึกเจ็บแปลบคล้ายมีอะไรมาเสียดแทง เช่น รู้สึกยอกอก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนามยอกอก. - ยอกย้อน
หมายถึง ก. ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมีเงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดียอกย้อน. ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจายอกย้อน, ย้อนยอก ก็ว่า. - ยอขึ้น
หมายถึง ก. ชอบให้ยกย่องแล้วจึงจะตั้งใจทำ เช่น เด็กคนนี้ยอขึ้น. - ยอง
หมายถึง (กลอน) น. สัตว์ในจำพวกอีเก้ง. - ยอง
หมายถึง น. เส้น, ใย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ใย เป็น ยองใย. ว. สุกใส, ยะยอง หรือ ยรรยอง ก็ใช้ แต่มักแปลว่า สุกใส. - ยอง,ยอง,ยอง ๆ
หมายถึง ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ โดยก้นไม่ถึงพื้น เช่น นั่งยองอยู่ในท้องแม่. (ไตรภูมิ), หย่อง ก็ว่า. - ยองใย
หมายถึง น. เส้นใย (แห่งแมงมุม). ว. ผุดผ่องเป็นนํ้านวล เช่น ผิวนวลเป็นยองใย; ใช้เป็นคำเปรียบเทียบว่ามีขนาดเล็กเท่าใยแมงมุม เช่น ไม่มีความผิดแม้เท่ายองใย. - ยองไย่
หมายถึง น. ใยแมงมุม. - ยอด
หมายถึง น. ส่วนสูงสุด, ส่วนเหนือสุด, เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดเขา, ส่วนปลายสุดของพรรณไม้หรือที่แตกใหม่ เช่น ยอดผัก ยอดตำลึง ยอดกระถิน; เรียกคนหรือสัตว์ที่มีคุณสมบัติยิ่งยวดเหนือผู้อื่น เช่น ยอดคน ยอดหญิง ยอดสุนัข; จำนวนรวม เช่น ยอดเงิน; ฝี (ใช้ในราชาศัพท์ว่า พระยอด). (ปาก) ว. ที่สุด เช่น ยอดเยี่ยม ยอดรัก. - ยอดจาก
หมายถึง ดู มังกร ๒. - ยอดดี
หมายถึง ว. ดีที่สุด เช่น รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี. - ยอดด้วน
หมายถึง น. เถาหัวด้วน. - ยอดน้ำ
หมายถึง (ภูมิ) น. แหล่งที่เกิดของลำนํ้า, ต้นนํ้า ก็เรียก. - ยอดม่วง
หมายถึง ดู ตาเดียว ๑. - ยอดสร้อย
หมายถึง น. นางผู้เป็นที่รักยิ่ง. - ยอดอก
หมายถึง น. บริเวณเหนือลิ้นปี่.