คำในภาษาไทย หมวด ว

คำในภาษาไทย หมวด ว ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ว

คำในภาษาไทย หมวด ว ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๓๗ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น เช่น วัน วา ใช้ควบกล้ำกับพยัญชนะตัวอื่นบางตัว เช่น กว่า ความ และใช้เป็นตัวสะกดในแม่เกอว เช่น กล่าว นิ้ว.
  2. วก
    หมายถึง ก. หักเลี้ยวกลับ เช่น รถเลยที่หมายแล้ววกกลับ, ในบทกลอนใช้แผลงเป็น พก ก็มี.
  3. วกวน
    หมายถึง ก. ลดเลี้ยวไปมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเข้าออกวกวน, อ้อมไปอ้อมมา, ย้อนไปย้อนมา, เช่น ให้การวกวน เขียนหนังสือวกวนอ่านไม่เข้าใจ.
  4. วกะ
    หมายถึง น. หมาป่า. (ป.; ส. วฺฤก).
  5. วกุละ
    หมายถึง [วะกุละ] น. ต้นพิกุล. (ป.; ส. พกุล, วกุล).
  6. วง
    หมายถึง น. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกันเป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ในการรำ, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรำ; ลักษณนามใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คนนั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วง หรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็นชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วงประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทำเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอเขียนเป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.
  7. วงกต
    หมายถึง น. ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออกวกวนอาจทำให้หลงทางได้, เรียกสั้น ๆ ว่า เขาวงก์ ก็มี, เรียกสิ่งที่ทำคล้ายคลึงเช่นนั้นในงานเทศน์มหาชาติหรืองานรื่นเริงอื่น ๆ เพื่อความสนุกว่าเขาวงกต, โดยปริยายหมายถึงวกวนหาทางออกไม่ได้. (ป.).
  8. วงกบ
    หมายถึง น. กรอบประตูหรือหน้าต่าง, กรอบเช็ดหน้า หรือ เช็ดหน้า ก็เรียก.
  9. วงกลม
    หมายถึง น. รูปวงที่กลม รอบมีรัศมีจากจุดศูนย์กลางไปถึงขอบมีขนาดเท่ากันหมด; (คณิต) รูปที่เกิดจากเซตของจุดบนระนาบเซตหนึ่งที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะเท่ากัน.
  10. วงการ
    หมายถึง น. กลุ่มบุคคลที่มีอาชีพหรือความสนใจอย่างเดียวหรือในแนวเดียวกัน เช่น วงการธุรกิจ วงการบันเทิง วงการครู.
  11. วงก์
    หมายถึง น. เบ็ด. ว. คด, โค้ง, ลดเลี้ยว; คดโกง, ไม่ซื่อตรง. (ป.; ส. วกฺร).
  12. วงจร
    หมายถึง (ไฟฟ้า) น. เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านไปครบรอบ, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น วงจรชีวิต.
  13. วงจรชีวิต
    หมายถึง น. การเวียนว่ายตายเกิด, ลักษณาการของชีวิตที่มีพัฒนาการเป็นขั้น ๆ ไปตามลำดับและในที่สุดก็จะเวียนมาบรรจบ ณ จุดเริ่มต้นใหม่ แล้วเวียนซ้ำต่อไปอีก เช่น ผีเสื้อออกไข่ แล้วไข่กลายเป็นตัวหนอน หนอนกลายเป็นดักแด้ ดักแด้กลายเป็นผีเสื้อ แล้วผีเสื้อก็ออกไข่ ฯลฯ.
  14. วงจรปิด
    หมายถึง (ไฟฟ้า) น. วงจรไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้ากำลังเคลื่อนที่อยู่ครบวงจร.
  15. วงจรเปิด
    หมายถึง (ไฟฟ้า) น. วงจรไฟฟ้าที่กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ไม่ครบวงจร.
  16. วงนอก
    หมายถึง ว. ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง เช่น ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกถือเป็นคนวงนอก, ตรงข้ามกับ วงใน.
  17. วงพาด
    หมายถึง น. รั้วสี่เหลี่ยมภายในเพนียด ใช้ล้อมช้าง ทำด้วยซุงเป็นต้น ๆ ปักเรียงรายเว้นระยะพอให้คนลอดเข้าออกได้ มีไม้ตีพาดเสาเหล่านั้นให้ยึดติดกันโดยรอบ.
  18. วงรี
    หมายถึง น. รูปวงที่กลมเรียวอย่างลูกสมอหรือเมล็ดข้าวสาร; (คณิต) รูปคล้ายรูปไข่ที่เกิดจากเซตของจุดบนระนาบเซตหนึ่ง โดยผลบวกของระยะจากจุดแต่ละจุดไปยังจุดตรึงอยู่กับที่ ๒ จุด มีค่าคงตัวเสมอ.
  19. วงวัง
    หมายถึง น. การล้อม.
  20. วงศ,วงศ-,วงศ์
    หมายถึง [วงสะ-, วง] น. เชื้อสาย, เหล่ากอ, ตระกูล. (ส. วํศ; ป. วํส).
  21. วงศกร
    หมายถึง น. ผู้ต้นตระกูล. (ส.).
  22. วงศา
    หมายถึง (กลอน) น. วงศ์.
  23. วงศาคณาญาติ
    หมายถึง น. ญาติพี่น้อง.
  24. วงศ์ทศกัณฐ์
    หมายถึง (ปาก) น. เรียกญาติพี่น้องมากว่า วงศ์ทศกัณฐ์.
  25. วงศ์วาน
    หมายถึง น. ลูกหลานเหลนในตระกูล, มักใช้เข้าคู่กับคำ ว่านเครือ เป็น วงศ์วานว่านเครือ.
  26. วงษ์
    หมายถึง (โบ) น. วงศ์.
  27. วงเงิน
    หมายถึง น. จำนวนเงินที่กำหนดไว้เพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ค้ำประกันในวงเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซื้อของได้ในวงเงิน ๑,๐๐๐ บาทเท่านั้น.
  28. วงเดือน
    หมายถึง น. ชื่อเลื่อยชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นแผ่นกลม มีฟันอยู่โดยรอบ.
  29. วงเล็บ
    หมายถึง น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สำหรับใช้กันข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บนั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ (ความอยากได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็นหัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรมสามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 - b2 = (a + b)(a - b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  30. วงเล็บปีกกา
    หมายถึง น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ { } สำหรับใช้ควงคำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกันเพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่มเดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ เช่น ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซตหรือกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น A = {2, 4, 6, 8}, 2x - 5{7 - (x - 6) + 3x} - 28 = 39.
  31. วงเล็บเหลี่ยม
    หมายถึง น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กันคำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะหนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน, เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอกคำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง, ใช้กันข้อความในการเขียนบรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏในหนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐานยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 - 3{x + 5 - 4(x + 1)}] = 23, ใช้ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อแสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F-2] = 1.05.10-6, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]·2H2O.
  32. วงเวียน
    หมายถึง น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, (โบ) กงเวียน หรือ กางเวียน ก็ว่า; ที่ซึ่งมีลักษณะกลมเป็นที่รวมแห่งถนนหลาย ๆ สาย เช่น วงเวียนใหญ่ วงเวียน ๒๒ กรกฎา.
  33. วงแขน
    หมายถึง น. อ้อมแขน เช่น โอบไว้ในวงแขน ได้ถ้วยรางวัลมา กอดไว้ในวงแขนไม่ยอมวาง.
  34. วงแหวน
    หมายถึง [-แหฺวน] น. โลหะหรือแผ่นหนังเป็นต้นที่ทำเป็นรูปแหวนสำหรับรองอย่างที่หัวสลักเกลียวหรือที่เพลา เพื่อกันสึกหรอหรือเพื่อให้กระชับแน่น, มักเรียกว่า แหวน, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถนนวงแหวน พื้นที่วงแหวน.
  35. วงใน
    หมายถึง ว. ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง เช่น ข่าวนี้รู้มาจากวงในของราชการ เรื่องนี้พูดกันแต่วงในของคณะรัฐมนตรี, ตรงข้ามกับ วงนอก.
  36. วจนะ
    หมายถึง [วะจะ-] (แบบ) น. คำพูด, ถ้อยคำ. (ป., ส.).
  37. วจะ
    หมายถึง [วะ-] (แบบ) น. คำพูด, ถ้อยคำ, คำกล่าว. (ป.; ส. วจสฺ).
  38. วจา
    หมายถึง [วะ-] น. ว่านนํ้า. (ป.).
  39. วจี
    หมายถึง [วะ-] น. คำพูด, ถ้อยคำ. (ป.; ส. วจิ, วาจฺ).
  40. วจีกรรม
    หมายถึง น. การพูด, การกระทำทางวาจา, เช่น การกล่าวเท็จเป็นการทำผิดทางวจีกรรม. (ป. วจีกมฺม).
  41. วจีทุจริต
    หมายถึง [วะจีทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การพูดเท็จ ๑ การพูดคำหยาบ ๑ การพูดส่อเสียด ๑ การพูดเพ้อเจ้อ ๑.
  42. วจีวิภาค
    หมายถึง น. ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยคำและหน้าที่ของคำ.
  43. วจีสุจริต
    หมายถึง [วะจีสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ๑ การไม่พูดคำหยาบ ๑ การไม่พูดส่อเสียด ๑ การไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑.
  44. วจีเภท
    หมายถึง น. การเปล่งถ้อยคำ. (ป.).
  45. วชะ
    หมายถึง [วะ-] น. คอกสัตว์. (ป.; ส. วฺรช).
  46. วชิร
    หมายถึง [วะชิระ-] น. สายฟ้า; เพชร; อาวุธพระอินทร์. (ป.; ส. วชฺร).
  47. วชิร-
    หมายถึง [วะชิระ-] น. สายฟ้า; เพชร; อาวุธพระอินทร์. (ป.; ส. วชฺร).
  48. วชิรปาณี,วชิรหัตถ์
    หมายถึง น. “ผู้ถือวชิระ” คือ พระอินทร์. (ป.; ส. วชฺรปาณิ, วชฺรหสฺต).
  49. วชิระ
    หมายถึง [วะชิระ-] น. สายฟ้า; เพชร; อาวุธพระอินทร์. (ป.; ส. วชฺร).
  50. วชิราวุธ
    หมายถึง น. “ผู้มีวชิระเป็นอาวุธ” คือ พระอินทร์. (ป.).
  51. วฏะ
    หมายถึง [วะ-] (แบบ) น. ไม้ไทร. (ป., ส.).
  52. วฏาการ
    หมายถึง [วะตากาน] (แบบ) น. สายเชือก. (ป., ส.).
  53. วฏุมะ
    หมายถึง (แบบ) น. ถนน, หนทาง. (ป.).
  54. วณ,วณ-,วณะ
    หมายถึง [วะนะ-] น. แผล, ฝี. (ป.; ส. วฺรณ).
  55. วณบัตร,วณพันธน์
    หมายถึง น. ผ้าพันแผล. (ป. วณปฏฺฏก, วณพนฺธน; ส. วฺรณปฏฺฏก).
  56. วณิช
    หมายถึง [วะนิด] น. พ่อค้า, ผู้ทำการค้า. (ป., ส. วาณิช).
  57. วณิชชา
    หมายถึง [วะนิดชา] น. การค้าขาย. (ป.; ส. วณิชฺยา).
  58. วณิชชากร
    หมายถึง น. ผู้ทำการค้าขาย, พวกพ่อค้า. (ป.).
  59. วณิชย์,วณิชยา
    หมายถึง [วะนิด, วะนิดชะยา] น. การค้าขาย. (ส.).
  60. วณิพก
    หมายถึง [วะนิบพก, วะนิพก] (แบบ) น. วนิพก. (ป. วณิพฺพก, วนิพฺพก; ส. วนีปก, วนียก).
  61. วดี
    หมายถึง คำเติมท้ายคำอื่นที่เป็นนาม หมายความว่า มี เป็นเพศหญิงตามหลักไวยากรณ์ เช่น ดาราวดี ว่า มีดาว.
  62. วดี
    หมายถึง น. รั้ว, กำแพง. (ป. วติ; ส. วฺฤติ).
  63. วต,วต-,วตะ
    หมายถึง [วะตะ-] น. พรต, ข้อปฏิบัติ; ความประพฤติ; การจำศีล, การบำเพ็ญทางศาสนา, การปฏิบัติ; ประเพณี, ธรรมเนียม. (ป. วต; ส. วฺรต).
  64. วทนะ
    หมายถึง [วะทะนะ] (แบบ) น. การพูด, คำพูด; ปาก, หน้า. (ป., ส. วทน ว่า ปาก, หน้า).
  65. วทะ
    หมายถึง [วะ-] น. คำพูด. ก. พูด, กล่าว. (ป.).
  66. วทัญญุตา
    หมายถึง น. ความเป็นผู้เอื้อเฟื้อ. (ป.).
  67. วทัญญู
    หมายถึง (แบบ) ว. เอื้อเฟื้อ, เผื่อแผ่; ใจดี, ใจบุญ. (ป.).
  68. วทานิย,วทานิย-
    หมายถึง [วะทานิยะ-] น. ผู้เอื้อเฟื้อ. (ป. วทานีย; ส. วทานฺย).
  69. วธ,วธ-
    หมายถึง [วะทะ-] ก. ฆ่า. (ป., ส.).
  70. วธกะ
    หมายถึง [วะทะกะ] น. คนฆ่า, ผู้ฆ่า; เพชฌฆาต. (ป., ส.).
  71. วธุกา
    หมายถึง น. ลูกสะใภ้. (ป.).
  72. วธู
    หมายถึง น. หญิงสาว. (ป., ส.).
  73. วน
    หมายถึง ก. เวียนไปโดยรอบ เช่น ขับรถวนรอบสนาม, ไปโดยรอบเข้าหาศูนย์กลางหรือออกจากศูนย์กลาง เช่น น้ำวน วนเป็นก้นหอย.
  74. วน,วน-,วน-
    หมายถึง [วะนะ-] น. ป่าไม้, ดง. (ป.; ส. วนสฺ ว่า ป่า; นํ้า).
  75. วนจร,วนจรก
    หมายถึง [วะนะจอน, วะนะจะรก] น. คนเที่ยวป่า, พรานป่า. ก. เที่ยวไปในป่า. (ป., ส.).
  76. วนภู,วนภูมิ
    หมายถึง น. แถบป่า, แถวป่า. (ป., ส.).
  77. วนศาสตร์
    หมายถึง น. วิชาว่าด้วยการทำนุบำรุงรักษา และปลูกป่า.
  78. วนสณฑ์,วนสัณฑ์
    หมายถึง น. ป่าสูง, ป่าดง, ราวป่า, แนวป่า. (ป.).
  79. วนอุทยาน
    หมายถึง น. ป่าสงวนที่มีลักษณะธรรมชาติสวยงาม เช่นมีนํ้าตก ถํ้า และทางราชการได้เข้าไปปรับปรุงตกแต่งสถานที่ให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน.
  80. วนัปติ
    หมายถึง [วะนับปะ-] น. ไม้ใหญ่, พญาไม้; ผีเจ้าป่า. (ป. วนปฺปติ; ส. วนสฺปติ).
  81. วนัส,วนัส-
    หมายถึง [วะนัด, วะนัดสะ-] น. ป่า. (ส.; ป. วน).
  82. วนัสบดี
    หมายถึง [วะนัดสะบอดี] น. ไม้ใหญ่, พญาไม้, (ในภาษาสันสกฤตหมายเฉพาะต้นไทรและต้นมะเดื่อชุมพร). (ส. วนสฺปติ; ป. วนปฺปติ).
  83. วนา
    หมายถึง (กลอน) น. ป่า. (ป., ส. วน).
  84. วนาดร,วนาดอน
    หมายถึง น. ป่าสูง. (วนา + ดอน), พนาดอน หรือ พนาดร ก็ว่า.
  85. วนานต์
    หมายถึง น. ชายป่า. (ป., ส.).
  86. วนาลัย
    หมายถึง น. ป่า. (ส. วนาลย).
  87. วนาลี
    หมายถึง น. ทางป่า; แนวไม้. (ส.).
  88. วนาวาส
    หมายถึง น. ที่อยู่ในป่า. (ส.).
  89. วนาศรม
    หมายถึง น. ที่อยู่ในป่า. (ส. วนาศฺรม).
  90. วนาสณฑ์,วนาสัณฑ์
    หมายถึง น. ราวป่า, แนวป่า, ทิวไม้, ป่าสูง, ป่าดง, พนาสณฑ์ หรือ พนาสัณฑ์ ก็ว่า. (ป. วนสณฺฑ; ส. วน + ขณฺฑ, วน + ษณฺฑ).
  91. วนิดา
    หมายถึง น. หญิง, หญิงสาว. (ป.; ส. วินิตา).
  92. วนิพก
    หมายถึง [วะนิบพก, วะนิพก] น. คนขอทานโดยร้องเพลงหรือดีดสีตีเป่าให้ฟัง, ใช้ว่า วณิพก หรือ วันนิพก ก็มี. (ป. วนิพฺพก).
  93. วนเวียน
    หมายถึง ก. วนไปวนมา, กลับไปกลับมา, เช่น เดินวนเวียนอยู่ระหว่างบ้านกับตลาด กระเป๋าสตางค์หล่นหายเดินวนเวียนหาอยู่หลายรอบ.
  94. วปนะ
    หมายถึง [วะปะ-] (แบบ) น. การหว่าน (ใช้แก่ข้าว), การเพาะปลูก. (ป., ส.).
  95. วปุ
    หมายถึง (แบบ) น. ตัว, ร่างกาย. (ป., ส.).
  96. วยัคฆ์
    หมายถึง น. เสือ. (ป. วฺยคฺฆ, พฺยคฺฆ; ส. วฺยาฆฺร).
  97. วยัญชนะ
    หมายถึง น. พยัญชนะ. (ส. วฺยญฺชน; ป. วฺยญฺชน, พฺยญฺชน).
  98. วยัมหะ
    หมายถึง น. วิมาน, ฟ้า, เมืองสวรรค์. (ป. วฺยมฺห).
  99. วยัสย์
    หมายถึง น. ผู้รุ่นราวคราวเดียวกัน, เพื่อน, เกลอ, สหาย. (ส.).
  100. วยากรณ์
    หมายถึง น. พยากรณ์. (ป., ส. วฺยากรณ).

 แสดงความคิดเห็น