คำในภาษาไทย หมวด ป

คำในภาษาไทย หมวด ป ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ป

คำในภาษาไทย หมวด ป ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคำหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤตมักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.
  2. ปก
    หมายถึง ก. แผ่ออกคลุมเบื้องบน เช่น ตะไคร้ใบปกดิน. น. กระดาษหรือผ้าหรือหนังเป็นต้นที่หุ้มอยู่ภายนอกสมุดหรือหนังสือเป็นต้น, ใบปก ก็เรียก; แผ่นผ้าที่ติดปากกระเป๋าเสื้อ, แผ่นผ้าที่ติดกับคอเสื้อพับตลบลงมาหรือแบะออกทั้ง ๒ ข้าง เช่น ปกเชิ้ต ปกเสื้อนอก.
  3. ปก
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ปลาแก้มชํ้า. (ดู แก้มชํ้า).
  4. ปกกระพอง
    หมายถึง น. เครื่องปกส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างหัวช้าง.
  5. ปกครอง
    หมายถึง ก. ดูแล, คุ้มครอง, ระวังรักษา; บริหาร.
  6. ปกคลุม
    หมายถึง ก. แผ่คลุมอยู่เบื้องบน.
  7. ปกติ
    หมายถึง [ปะกะติ, ปกกะติ] ว. ธรรมดา, เป็นไปตามเคย, ไม่แปลกไปจากธรรมดา, ปรกติ ก็ว่า. (ป.; ส. ปฺรกฺฤติ).
  8. ปกปักรักษา
    หมายถึง ก. ดูแลรักษา.
  9. ปกปิด
    หมายถึง ก. ปิดไม่ให้รู้หรือไม่ให้เห็น, ปิดไว้เป็นความลับ.
  10. ปกป้อง
    หมายถึง ก. คุ้มครองป้องกัน.
  11. ปกรณัม
    หมายถึง [ปะกะระนำ] น. ปกรณ์, เรื่อง, เช่น ปักษีปกรณัม. (ส. ปฺรกรณ; ป. ปกรณ).
  12. ปกรณ์
    หมายถึง [ปะกอน] น. คัมภีร์, ตำรา, หนังสือ. (ป. ปกรณ; ส. ปฺรกรณ).
  13. ปการ
    หมายถึง [ปะกาน] น. อย่าง, ชนิด. (ป.; ส. ปฺรการ).
  14. ปกิณกะ
    หมายถึง [ปะกินนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน, (มักใช้ประกอบหน้าศัพท์) เช่น ปกิณกคดี. (ป. ปกิณฺณก; ส. ปฺรกีรฺณก).
  15. ปกีรณัม
    หมายถึง [ปะกีระนำ] ก. จำแนกหรือกระจายออกไป. (ส. ปฺรกีรณมฺ).
  16. ปกเกศ
    หมายถึง ก. ปกเกล้า, คุ้มครอง.
  17. ปง
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. ที่ริมฝั่งน้ำ, ที่ลุ่มน้ำขัง, ป่ง หรือ โป่ง ก็ว่า.
  18. ปง,ปง,ปงปัง
    หมายถึง ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  19. ปงช้าง
    หมายถึง ดู หนอนตายหยาก (๑).
  20. ปฎล
    หมายถึง [ปะดน] (แบบ) น. หลังคา, เพดาน, ชั้น. (ป. ปฏล).
  21. ปฏัก
    หมายถึง (แบบ) น. ประตัก.
  22. ปฏัก
    หมายถึง ไม้ที่ฝังเหล็กแหลมไว้ที่ปลายด้านล่าง ใช้แทงบังคับสัตว์พาหนะเช่นวัว เป็นต้น, ประตัก
  23. ปฏิ,ปฏิ-
    หมายถึง คำอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นำหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).
  24. ปฏิกรณ์
    หมายถึง (ฟิสิกส์) น. เครื่องที่ใช้สำหรับก่อให้เกิดปฏิกิริยาแตกสลายทางนิวเคลียร์อย่างสมํ่าเสมอและควบคุมได้เพื่อผลิตพลังงาน สารกัมมันตรังสี เครื่องชนิดนี้มีหลายแบบ และใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ซึ่งมักเป็นแท่งยูเรเนียม, มักเรียกว่า เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู. (อ. reactor).
  25. ปฏิกรรมสงคราม
    หมายถึง น. การชดใช้ค่าเสียหายที่ฝ่ายชนะสงครามเรียกร้องเอาจากฝ่ายพ่ายแพ้. (อ. reparation).
  26. ปฏิการ,ปฏิการ-,ปฏิการะ
    หมายถึง [ปะติการะ-] น. การสนองคุณ, การตอบแทนคุณ, คู่กับ อุปการะ; การซ่อมแซม. (ป.).
  27. ปฏิกิริยา
    หมายถึง น. การกระทำตอบสนอง; การกระทำต่อต้าน; ผลของการกระทำซึ่งเป็นเหตุให้เกิดกิริยาสะท้อนมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง; (เคมี) การเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร. (ป. ปฏิ ว่า ตอบ, ทวน, กลับ + กิริยา ว่า การกระทำ). (อ. reaction).
  28. ปฏิกูล
    หมายถึง [-กูน] ว. สกปรกน่ารังเกียจ เช่น สิ่งปฏิกูล. (ป. ปฏิกฺกูล).
  29. ปฏิคคหิต,ปฏิคหิต,ปฏิคหิต-
    หมายถึง [ปะติกคะหิด, ปะติกคะหิตะ-] (แบบ) ก. รับเอา เช่น เราก็ปฏิคคหิตด้วยศรัทธา. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). ว. อันรับเอาแล้ว. (ป. ปฏิคฺคหิต).
  30. ปฏิคม
    หมายถึง น. ผู้ต้อนรับ, ผู้รับแขก, ผู้ดูแลต้อนรับ.
  31. ปฏิคาหก
    หมายถึง น. ผู้รับทาน. (ป. ปฏิคฺคาหก).
  32. ปฏิฆะ
    หมายถึง (แบบ) น. ความคับแค้น, ความกระทบกระทั่ง, ความขึ้งเคียด (โทสะ). (ป.).
  33. ปฏิชีวนะ
    หมายถึง [-ชีวะนะ] น. เรียกยาประเภทที่มีสารที่สกัดจากผลผลิตของเชื้อจุลินทรีย์ ใช้ฆ่าหรือยับยั้งการแพร่พันธุ์ของแบคทีเรีย ว่า ยาปฏิชีวนะ. (อ. antibiotics).
  34. ปฏิญญา
    หมายถึง [ปะตินยา] น. การให้คำมั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง. (ป.).
  35. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
    หมายถึง น. การให้คำมั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันถึงสิทธิหรืออำนาจอันชอบธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป.
  36. ปฏิญาณ
    หมายถึง [ปะติยาน] ก. ให้คำมั่นสัญญา โดยมากมักเป็นไปตามแบบพิธี.
  37. ปฏิทิน
    หมายถึง น. แบบสำหรับดูวัน เดือน ปี. (ป.; ส. ปฺรติทิน ว่า เฉพาะวัน, สำหรับวัน).
  38. ปฏิทินโหราศาสตร์
    หมายถึง น. ตาตารางแผนที่แสดงการเคลื่อนไหวของดาวพระเคราะห์ประจำวัน, ปูม ก็เรียก.
  39. ปฏิบถ
    หมายถึง ว. ทวนทาง, สวนทาง. (ป. ปฏิปถ).
  40. ปฏิบัติ
    หมายถึง ก. ดำเนินการไปตามระเบียบแบบแผน เช่น ปฏิบัติราชการ, กระทำเพื่อให้เกิดความชำนาญ เช่น ภาคปฏิบัติ; กระทำตาม เช่น ปฏิบัติตามสัญญา; ประพฤติ เช่น ปฏิบัติสมณธรรม ปฏิบัติต่อกัน; ปรนนิบัติรับใช้ เช่น ปฏิบัติบิดามารดา ปฏิบัติครูบาอาจารย์. (ป. ปฏิปตฺติ).
  41. ปฏิบัติการ
    หมายถึง ก. ทำงานตามหน้าที่. ว. ที่ทดลองเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามทฤษฎีหรือฝึกงานเพื่อให้เกิดความชำนาญเป็นต้น เช่น ห้องปฏิบัติการ.
  42. ปฏิบัติธรรม
    หมายถึง ก. ประพฤติตามธรรม; เจริญภาวนา.
  43. ปฏิบัติบูชา
    หมายถึง น. การบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอน, คู่กับ อามิสบูชา ซึ่งเป็นการบูชาด้วยสิ่งของ.
  44. ปฏิปทา
    หมายถึง [-ปะทา] น. ทางดำเนิน; ความประพฤติ. (ป.).
  45. ปฏิปักษ์
    หมายถึง น. ฝ่ายตรงกันข้าม, ข้าศึก, ศัตรู. ว. ที่ตรงกันข้าม เช่น ฝ่ายปฏิปักษ์. (ส. ปรฺติปกฺษ; ป. ปฏิปกฺข).
  46. ปฏิปัน
    หมายถึง (แบบ) น. ผู้ดำเนินไปแล้ว, ผู้บรรลุแล้ว, ผู้ตรัสรู้แล้ว. (ป. ปฏิปนฺน).
  47. ปฏิปุจฉาพยากรณ์
    หมายถึง น. การจำแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมด้วยวิธีย้อนถาม. (ป.).
  48. ปฏิปุจฉาวาที
    หมายถึง น. ผู้จำแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมด้วยวิธีย้อนถาม. (ป.).
  49. ปฏิพัทธ์
    หมายถึง ก. เนื่องกัน, ผูกพัน, รักใคร่. (ป. ปฏิพทฺธ; ส. ปฺรติพทฺธ).
  50. ปฏิพากย์
    หมายถึง น. การกล่าวตอบ, การพูดโต้ตอบ. (ป. ปฏิวากฺย).
  51. ปฏิภาค,ปฏิภาค-
    หมายถึง [ปะติพาก, ปะติพากคะ-] น. ส่วนเปรียบ. ว. เทียบเคียง, เหมือน. (ป. ปฏิภาค; ส. ปฺรติภาค).
  52. ปฏิภาคนิมิต
    หมายถึง น. “อารมณ์เทียบเคียง” คือ เมื่อพบเห็นสิ่งใดจนติดตาหลับตาเห็นแล้วอาจนึกทายส่วนหรือแบ่งส่วนแห่งสิ่งนั้นให้สมรูปสมสัณฐาน เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต. (ป. ปฏิภาคนิมิตฺต; ส. ปฺริตภาค + นิมิตฺต).
  53. ปฏิภาณ,ปฏิภาณ-
    หมายถึง [ปะติพาน, ปะติพานะ-, ปะติพานนะ-] น. เชาวน์ไวในการกล่าวแก้หรือโต้ตอบเป็นต้นได้ฉับพลันทันทีและแยบคาย. (ป.).
  54. ปฏิภาณกวี
    หมายถึง [ปะติพานนะกะวี, ปะติพานกะวี] น. กวีผู้มีความสามารถในการใช้ปฏิภาณแต่งกลอนสด.
  55. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    หมายถึง [ปะติพานะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที. (ป.).
  56. ปฏิภาณโวหาร
    หมายถึง [ปะติพานนะ-, ปะติพาน-] น. การกล่าวเหมาะด้วยเหตุผลในทันที.
  57. ปฏิมา,ปฏิมากร
    หมายถึง น. รูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป, เรียกย่อมาจาก พุทธปฏิมา หรือ พุทธปฏิมากร. (ป. ปฏิมา).
  58. ปฏิยุทธ์
    หมายถึง ก. รบตอบ, สู้รบ. (ป.).
  59. ปฏิรพ
    หมายถึง [-รบ] (แบบ) ก. ส่งเสียงเอาชัย, ร้องดัง, ร้องขู่. (ป. ปฏิรว).
  60. ปฏิรูป,ปฏิรูป-
    หมายถึง [-รูบ, -รูปะ-] ว. สมควร, เหมาะสม, เช่น ปฏิรูปเทส คือ ถิ่นที่สมควร หรือ ถิ่นที่เหมาะสม; เทียม, ไม่แท้, เช่น มิตรปฏิรูป. ก. ปรับปรุงให้สมควร เช่น ปฏิรูปบ้านเมือง. (ป.).
  61. ปฏิวัติ
    หมายถึง น. การหมุนกลับ, การผันแปรเปลี่ยนหลักมูล; การเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น ปฏิวัติอุตสาหกรรม, การเปลี่ยนแปลงระบอบการบริหารบ้านเมือง เช่น ปฏิวัติการปกครอง. (ป. ปฏิวตฺติ).
  62. ปฏิวาต
    หมายถึง [-วาด] ว. ทวนลม. (ป.).
  63. ปฏิวาท
    หมายถึง [-วาด] น. คำโต้, คำคัดค้าน. (ป.).
  64. ปฏิสนธิ
    หมายถึง (แบบ) ก. เกิดในท้อง, ถือกำเนิด. (ป. ปฏิสนฺธิ).
  65. ปฏิสวะ
    หมายถึง [ปะติดสะวะ] (แบบ) น. การฝืนคำรับ, การรับแล้วไม่ทำตามรับ. (ป. ปฏิสฺสว).
  66. ปฏิสังขรณ์
    หมายถึง ก. ซ่อมแซมทำให้กลับคืนดีเหมือนเดิม (มักใช้เฉพาะวัดวาอาราม) เช่น ปฏิสังขรณ์วัด. (ป.).
  67. ปฏิสันถาร
    หมายถึง น. การทักทายปราศรัยแขกผู้มาหา (มักใช้แก่ผู้น้อย); การต้อนรับแขก. (ป. ปฏิสนฺถาร).
  68. ปฏิสัมภิทา
    หมายถึง (แบบ) น. ความแตกฉาน, ปัญญาอันแตกฉาน, มี ๔ อย่าง คือ อรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. (ป.).
  69. ปฏิเวธ
    หมายถึง [-เวด] ก. เข้าใจตลอด, ตรัสรู้, ลุล่วงผลปฏิบัติ. (ป.).
  70. ปฏิเสธ
    หมายถึง ก. ไม่รับ, ไม่ยอมรับ, เช่น ปฏิเสธการเชิญ, ไม่ยอมรับข้อเท็จจริง เช่น ปฏิเสธข้อกล่าวหา; (ไว) แสดงความหมายตรงกันข้ามกับยืนยัน รับ หรือ ยอมรับ. (ป.).
  71. ปฏิเสธข่าว
    หมายถึง ก. แสดงยืนยันว่าไม่เป็นไปตามนั้น.
  72. ปฏิโลม
    หมายถึง ว. ทวนกลับ. (ป. ปฏิโลม ว่า ทวนขน คู่กับ อนุโลม ว่า ตามขน).
  73. ปฐพี
    หมายถึง [ปะถะ-, ปัดถะ-] น. แผ่นดิน. (ป. ปวี).
  74. ปฐพีวิทยา
    หมายถึง [ปะถะพีวิดทะยา, ปัดถะพีวิดทะยา] น. วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดิน. (อ. pedology).
  75. ปฐม,ปฐม-
    หมายถึง [ปะถม, ปะถมมะ-] ว. ประถม, ลำดับแรก, ลำดับเบื้องต้น; ชั้นที่ ๑, เรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๑ ในตระกูลจุลจอมเกล้าว่า ปฐมจุลจอมเกล้า ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ. (ป.).
  76. ปฐมกรรม
    หมายถึง [ปะถมมะกำ] น. กฎเบื้องต้นหรือข้อสำคัญ; ชื่อพิธีแบบหนึ่งที่กษัตริย์ในครั้งโบราณกระทำแก่ผู้เป็นปรปักษ์.
  77. ปฐมฌาน
    หมายถึง [ปะถมมะ-] น. ฌานเบื้องต้น ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา. (ป.).
  78. ปฐมดุสิต
    หมายถึง [ปะถมดุสิด] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  79. ปฐมทัศน์
    หมายถึง [ปะถมมะ-] น. การแสดงครั้งแรก, เรียกการแสดงละครหรือการฉายภาพยนตร์รอบแรกว่า รอบปฐมทัศน์.
  80. ปฐมนิเทศ
    หมายถึง [ปะถมมะ-, ปะถม-] น. การแนะนำชี้แนวเพื่อการศึกษาและการทำงานในเบื้องต้น.
  81. ปฐมบุรุษ
    หมายถึง [ปะถมมะ-, ปะถม-] น. บุรุษที่ ๑, ตามไวยากรณ์ ได้แก่ สรรพนามพวกที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ข้า เรา แต่ตามไวยากรณ์บาลีหมายถึงพวกที่เราพูดถึง เช่น เขา.
  82. ปฐมพยาบาล
    หมายถึง [ปะถมพะยาบาน] น. การปฏิบัติขั้นต้นยามฉุกเฉินตามวิธีแพทย์ก่อนลงมือรักษาพยาบาล.
  83. ปฐมยาม
    หมายถึง [ปะถมมะ-] น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา. (ป.).
  84. ปฐมฤกษ์
    หมายถึง [ปะถมมะ-] น. ช่วงเวลาแรกของฤกษ์. ว. เริ่มแรก เช่น ฉบับปฐมฤกษ์.
  85. ปฐมวัย
    หมายถึง [ปะถมมะไว] น. วัยต้น. (ป.).
  86. ปฐมสมโพธิ
    หมายถึง [ปะถมมะสมโพด, ปะถมสมโพด] น. ชื่อคัมภีร์ว่าด้วยประวัติของพระพุทธเจ้า. (ป.).
  87. ปฐมสุรทิน
    หมายถึง [ปะถมมะสุระทิน] น. วันที่ ๑ แห่งเดือนทางสุริยคติ.
  88. ปฐมาษาฒ
    หมายถึง [ปะถะมาสาด] น. เดือน ๘ แรก, (โบ) เขียนเป็น ปฐมาสาฒ ก็มี. (ป. ปมาสาฬฺห; ส. ปูรฺวาษาฒ).
  89. ปฐมเทศนา
    หมายถึง [ปะถมมะเทสะนา, ปะถมมะเทดสะหฺนา, ปะถมเทดสะหฺนา] น. เทศนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิบ้าง นั่งห้อยพระบาทอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง เครื่องหมายสำคัญอยู่ที่พระหัตถ์ขวา ทำนิ้วพระหัตถ์กรีดเป็นวงกลม ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลาบ้าง ถือชายจีวรบ้าง ทำท่าทางประคองพระหัตถ์ขวาบ้าง.
  90. ปฐมโพธิกาล
    หมายถึง [ปะถมมะโพทิกาน] น. กาลแรกตรัสรู้ คือ ระยะเวลานับตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ. (ป.).
  91. ปฐวี
    หมายถึง [ปะถะวี] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ป.).
  92. ปณต
    หมายถึง [ปะนด] ก. ประณต. (ป.; ส. ปฺรณต).
  93. ปณาม
    หมายถึง [ปะนาม] ก. ประณาม. (ป.; ส. ปฺรณาม).
  94. ปณิธาน
    หมายถึง [ปะ-] น. ประณิธาน. (ป.; ส. ปฺรณิธาน).
  95. ปณิธิ
    หมายถึง [ปะ-] น. ประณิธิ. (ป.; ส. ปฺรณิธิ).
  96. ปณีต
    หมายถึง [ปะ-] ว. ประณีต. (ป.; ส. ปฺรณีต).
  97. ปด,ปดโป้
    หมายถึง ก. โกหก, พูดเท็จ, จงใจกล่าวคำที่ไม่จริง.
  98. ปดิวรัดา
    หมายถึง [ปะดิวะรัดดา] น. ภริยาที่ซื่อสัตย์และภักดีต่อสามี. (ส. ปติวรฺตา).
  99. ปติ
    หมายถึง น. เจ้า, ผัว. (ป.).
  100. ปติยัต
    หมายถึง ก. ตระเตรียม, ทำให้เสร็จ, ตกแต่ง. (ป. ปติยตฺต).

 แสดงความคิดเห็น