คำในภาษาไทย หมวด ต

คำในภาษาไทย หมวด ต ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ต

คำในภาษาไทย หมวด ต ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๒๑ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น จิต เมตตา ฟุต.
  2. ตก
    หมายถึง ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลงมา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ดเกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้นมา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดูหนาว; เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูกแดดเป็นต้นว่า สีตก; ได้, ถึง, เช่น ตกทุกข์ ตกระกำลำบาก; มาถึง เช่น คำสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว; ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก; เขียนคำที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ; ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถ ตกเรือ; เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอาเป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง; โดยปริยายหมายความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัว ยอมแพ้ หรือหมดกำลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
  3. ตกกระ
    หมายถึง ว. มีลักษณะเป็นจุดดำ ๆ เล็กบ้างโตบ้างที่ผิวกายคน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ.
  4. ตกกระไดพลอยโจน
    หมายถึง (สำ) จำเป็นที่จะต้องยอมเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีทางเลี่ยง.
  5. ตกขอบ
    หมายถึง ว. ที่สุดข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ขวาตกขอบ, เต็มที่ เช่น ฮาตกขอบ.
  6. ตกขาว
    หมายถึง น. โรคระดูขาว, มุตกิด ก็เรียก.
  7. ตกขุย
    หมายถึง ก. ออกดอกเป็นเมล็ด (ใช้แก่ไม้ไผ่).
  8. ตกข่าว
    หมายถึง ก. ไม่รู้ข่าวที่คนอื่น ๆ รู้.
  9. ตกข้าว
    หมายถึง น. วิธีการที่นายทุนให้เงินชาวนากู้ก่อนที่จะลงมือทำนา โดยตกลงกันว่าชาวนาจะให้ข้าวเปลือกแก่นายทุนแทนเงินหลังจากนวดข้าวเสร็จแล้ว.
  10. ตกคลัก
    หมายถึง ก. อาการที่ปลาเป็นต้นมารวมกันอยู่ในบ่อหรือหนองที่นํ้างวด, ตกปลัก ก็ว่า; ในการเล่นดวดหมายถึงลักษณะที่หมาก ๓ ตัวเดินไปถึงที่สุด มารวมกันอยู่ในตาที่จะสุกจวนจะออกแล้ว แต่ทอดแต้มออกไม่ได้; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คนมารวมกันมาก ๆ ไปไหนไม่ได้.
  11. ตกค้าง
    หมายถึง ว. หลงเหลืออยู่.
  12. ตกงาน
    หมายถึง ก. ว่างงาน, ไม่มีงานทำ.
  13. ตกจั่น
    หมายถึง ก. ออกดอก (ใช้แก่หมากและมะพร้าว).
  14. ตกดิน
    หมายถึง ก. อาการที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไป.
  15. ตกตะกอน
    หมายถึง ก. มีตะกอนนอนก้น.
  16. ตกตะลึง
    หมายถึง ก. ตกใจจนพูดไม่ออก, แสดงอาการงงงัน.
  17. ตกต่ำ
    หมายถึง ก. มีฐานะหรือค่าลดลงกว่าเดิม.
  18. ตกถังข้าวสาร
    หมายถึง ดู หนูตกถังข้าวสาร.
  19. ตกทอง
    หมายถึง น. วิธีการหลอกลวงด้วยการใช้ทองปลอมที่มีน้ำหนักมากกว่าไปแลกเป็นทองแท้ที่มีน้ำหนักน้อยกว่า.
  20. ตกทอด
    หมายถึง ก. ตกสืบกันมาเป็นทอด ๆ, สืบจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง, เช่น มรดกตกทอด; เรียกบำเหน็จบำนาญที่ตกแก่ทายาทของผู้รับบำเหน็จบำนาญว่า บำเหน็จตกทอด หรือ บำนาญตกทอด.
  21. ตกที่นั่ง
    หมายถึง ก. ตกอยู่ในฐานะ, ตกอยู่ในภาวะ, เช่น ตกที่นั่งลำบาก ตกที่นั่งเสียเงิน.
  22. ตกท้องช้าง
    หมายถึง ก. ลักษณะที่สายป่านว่าวเป็นต้นมีนํ้าหนักมากถ่วงลงเกินควร.
  23. ตกนรกทั้งเป็น
    หมายถึง (สำ) ก. ได้รับความลำบากแสนสาหัสเช่นคนที่ได้รับโทษทัณฑ์ในเรือนจำ.
  24. ตกน้ำมัน
    หมายถึง ว. เรียกเสาหรือประตูเรือนที่มีนํ้ามันซึมออกมาว่า เสาตกนํ้ามัน หรือ ประตูตกนํ้ามัน.
  25. ตกน้ำไม่ว่าย
    หมายถึง (สำ) ก. ไม่ช่วยตัวเอง.
  26. ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้
    หมายถึง (สำ) ก. ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย, เป็นคำเปรียบเทียบ หมายความว่า ตกอยู่ที่ใดก็ไม่สูญหาย เช่น ของหลวงตกนํ้าไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้.
  27. ตกประหม่า
    หมายถึง ก. รู้สึกสะทกสะท้านพรั่นใจ.
  28. ตกปลอก
    หมายถึง ก. สวมปลอกที่ตีนคู่หน้าของช้าง เพื่อไม่ให้ไปหากินไกลหลังจากที่ใช้งานแล้ว.
  29. ตกปลัก
    หมายถึง ก. อาการที่ปลาเป็นต้นมารวมกันอยู่ในบ่อหรือหนองที่นํ้างวด, ตกคลัก ก็ว่า.
  30. ตกปากตกคำ
    หมายถึง ก. ตกลง, รับรอง, ตกปากลงคำ ก็ว่า.
  31. ตกผลึก
    หมายถึง ก. กลายเป็นผลึก (ใช้แก่สารละลาย).
  32. ตกพุ่มม่าย
    หมายถึง ก. อยู่ในฐานะที่เป็นม่าย. ว. เรียกชายหรือหญิงที่หย่าขาดจากความเป็นผัวเมียกันหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายจากไป, เป็นม่าย ก็ว่า.
  33. ตกฟอง
    หมายถึง ก. ออกไข่ เช่น ไก่ตกฟอง.
  34. ตกฟาก
    หมายถึง ก. เกิด, เรียกเวลาที่เด็กออกพ้นครรภ์มารดาว่า เวลาตกฟาก (พื้นเรือนโบราณโดยมากเป็นฟาก); โดยปริยายใช้ในลักษณะที่พูดคำเถียงคำไม่หยุดปากว่า เถียงคำไม่ตกฟาก.
  35. ตกมัน
    หมายถึง ว. ลักษณะที่ต่อมน้ำมันที่ขมับของช้างบวมโตและมีน้ำมันใส ๆ ไหลออกมา ช้างตัวผู้จะมีอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว ดุร้าย มีกลิ่นสาบฉุน, เรียกช้างที่มีอาการเช่นนั้นว่า ช้างตกมัน.
  36. ตกมูก
    หมายถึง ก. อาการที่นํ้าเมือกไหลออกทางทวารหนัก.
  37. ตกม้าตาย
    หมายถึง (สำ) ว. แพ้เร็ว, ยุติเร็ว, เรียกเต็มว่า สามเพลงตกม้าตาย.
  38. ตกยาก
    หมายถึง ก. ลำบาก, ยากจน, ขัดสน.
  39. ตกรางวัล
    หมายถึง ก. ให้รางวัล.
  40. ตกลง
    หมายถึง ก. ยินยอมพร้อมใจ, ปลงใจ.
  41. ตกลูก
    หมายถึง ก. ออกลูก (ใช้แก่สัตว์สี่เท้า).
  42. ตกล่องปล่องชิ้น
    หมายถึง (สำ) ก. ตัดสินใจที่จะร่วมมือหรือร่วมชีวิตด้วย.
  43. ตกว่า
    หมายถึง ว. คือ, คือว่า, รวมความว่า, ลงความว่า, ถือเอาว่า, บางทีใช้ว่า ตก ก็มี เช่น ตกมีฤทธิไกรกว่าพี่ยา. (อิเหนา).
  44. ตกสนับ
    หมายถึง ก. อาการที่หญ้าโทรมทับหญ้าที่ขึ้นใหม่อีก.
  45. ตกสะเก็ด
    หมายถึง ก. อาการที่เลือดและนํ้าเหลืองแห้งติดกรังอยู่ที่ปากแผล.
  46. ตกหนัก
    หมายถึง ก. รับทุกข์, รับเคราะห์, รับภาระหรือหน้าที่หนัก.
  47. ตกหมก
    หมายถึง ก. อาการที่เลือดระดูเสียที่หมักหมมอยู่ข้างในไหลออกมา.
  48. ตกหลุม,ตกหลุมพราง
    หมายถึง (สำ) ก. ถูกลวงด้วยเล่ห์กลหรืออุบาย, เสียรู้, หลงกล.
  49. ตกหล่น
    หมายถึง ก. ขาดตกไปโดยไม่ตั้งใจ.
  50. ตกอับ
    หมายถึง ก. ถึงที่อับจน, ถึงคราวชะตาตก.
  51. ตกเขียว
    หมายถึง น. วิธีการที่นายทุนให้เงินแก่ชาวนาหรือชาวไร่กู้เมื่อข้าวในนาลัดใบหรือลำไยมีลูกขนาดหัวแมลงวันแล้ว โดยตกลงกันว่าชาวนาชาวไร่จะให้ข้าวเปลือกหรือลำไยแก่นายทุนแทนเงินหลังจากนวดข้าวแล้วหรือหลังจากเก็บลำไยได้แล้ว, โดยปริยายหมายถึงการที่พ่อแม่รับเงินจากนายทุนซึ่งจ่ายให้เป็นค่าตัวเด็กผู้หญิงซึ่งยังเรียนหนังสือไม่จบไว้ล่วงหน้า เมื่อเรียนจบแล้วนายทุนจะมารับตัวเด็กไปเพื่อค้าประเวณีเป็นการใช้หนี้คืนให้แก่นายทุน.
  52. ตกเครือ
    หมายถึง ก. ออกเครือ (ใช้แก่กล้วย).
  53. ตกเบิก
    หมายถึง ก. ได้รับเงินที่ค้างจ่ายย้อนหลัง.
  54. ตกเบ็ด
    หมายถึง ก. หย่อนเบ็ดล่อปลา, โดยปริยายหมายความว่า ล่อให้หลงโดยมีเครื่องล่อ. น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง.
  55. ตกเป็น
    หมายถึง ก. กลายเป็น เช่น ตกเป็นของเขา ตกเป็นข่าว ตกเป็นจำเลย.
  56. ตกเป็นพับ
    หมายถึง ก. นับเป็นสูญ.
  57. ตกเป็นเบี้ยล่าง
    หมายถึง (สำ) ก. ตกเป็นรองเขา, เสียเปรียบเขา.
  58. ตกเลือด
    หมายถึง ก. แท้งลูก, อาการที่เลือดออกผิดธรรมดาเนื่องจากแท้งลูกเป็นต้น, ราชาศัพท์ว่า ตกพระโลหิต.
  59. ตกแต่ง
    หมายถึง ก. ประดับ, ปรุงจัดให้ดี, ทำให้งาม.
  60. ตกแสก
    หมายถึง ว. ที่หวีแหวกกลางศีรษะ (ใช้แก่ผม).
  61. ตกใจ
    หมายถึง ก. สะดุ้งขึ้นโดยไม่รู้ตัวเมื่อได้ยินเสียงดัง ๆ หรือมีใครมาถูกต้องตัว, ใจหาย.
  62. ตกใต้เถรเทวทัต
    หมายถึง (สำ) ก. ตกนรกขุมตํ่าสุด.
  63. ตกใน
    หมายถึง ก. อาการที่เลือดไม่ไหลออกข้างนอก ตกลงภายในเมื่อถูกแทงหรือฟันเป็นต้น เรียกว่า เลือดตกใน; โดยปริยายใช้เรียกอาการที่ต้องกลํ้ากลืนความทุกข์ไว้ ไม่แสดงออกมาว่า นํ้าตาตกใน.
  64. ตง
    หมายถึง น. ไม้เครื่องเรือนที่วางบนรอดหรือคานสำหรับรองพื้นกระดานหรือฟาก.
  65. ตง
    หมายถึง น. ชื่อไผ่ชนิด Dendrocalamus asper (Schult. f.) Heyne ในวงศ์ Gramineae ลำต้นใหญ่ ไม่มีหนาม หน่อกินได้.
  66. ตงฉิน
    หมายถึง ว. ซื่อตรง, ซื่อสัตย์. (จ. ตงฉิน ว่า อำมาตย์ซื่อสัตย์).
  67. ตงิด
    หมายถึง [ตะหฺงิด] ว. เล็กน้อย, ทีละน้อย ๆ, (ใช้แก่อาการเกี่ยวกับความรู้สึก) เช่น โกรธตงิด ๆ หิวตงิด ๆ.
  68. ตงุ่น
    หมายถึง [ตะหฺงุ่น] ว. เรียกนํ้าตาลที่เคี่ยวจนเป็นยางอย่างนํ้าผึ้งว่า นํ้าตาลตงุ่น.
  69. ตจ,ตจ-
    หมายถึง [ตะจะ-] น. หนัง, เปลือกไม้. (ป.).
  70. ตจปัญจกกรรมฐาน
    หมายถึง [ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไปถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).
  71. ตจสาร
    หมายถึง [ตะจะสาน] น. ต้นไม้มีผิวเปลือกแข็งเช่นต้นไผ่. (ป. ตจสาร ว่า ต้นไม้มีเปลือกเป็นแก่น).
  72. ตด
    หมายถึง น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Pherosophus, Brachinus ในวงศ์ Carabidae หัวและอกเล็ก แคบ ท้องโต ปีกแข็งคลุมส่วนท้องไม่หมด ลำตัวยาว ๒-๓ เซนติเมตร ท้องกว้าง ๕-๘ มิลลิเมตร สีนํ้าตาลอมเหลืองหรือนํ้าตาลแก่ มีลายสีเข้มตามหัว อก และท้อง เมื่อถูกรบกวนสามารถปล่อยสารพิษประเภทควินอลออกมาทางก้นได้ ที่สำคัญได้แก่ ชนิด P. siamensis, P. occipitalis และ P. javanus, พายัพเรียก ขี้ตด.
  73. ตด
    หมายถึง ก. อาการที่ลมระบายออกทางทวารหนัก, ผายลม. น. ลมที่ออกจากทวารหนัก เช่น เหม็นตด.
  74. ตดหมูตดหมา
    หมายถึง ดู ย่านพาโหม.
  75. ตติย,ตติย-
    หมายถึง [ตะติยะ-] ว. ที่ ๓, คำรบ ๓, มักใช้ประกอบหน้าคำอื่น เช่น ตติยวาร. (ป.).
  76. ตถาคต
    หมายถึง [ตะถาคด] น. พระนามพระพุทธเจ้า. (ป. ตถาคต ว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เอง).
  77. ตน
    หมายถึง น. ตัว (ตัวคน) เช่น ตนเป็นที่พึ่งของตน; ลักษณนามใช้เรียกเทวดา ยักษ์ หรือพวกกายสิทธิ์ เป็นต้น เช่น ยักษ์ตนหนึ่ง เทวดา ๒ ตน.
  78. ตนัย
    หมายถึง [ตะไน] (แบบ) น. ลูกชาย. (ป., ส.).
  79. ตนุ
    หมายถึง [ตะนุ] (แบบ) น. ตัว, ตน. ส. ฉัน, ข้าพเจ้า. (ป., ส.).
  80. ตนุ
    หมายถึง [ตะหฺนุ] น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Chelonia mydas ในวงศ์ Cheloniidae ตีนแบนเป็นพาย ตีนหน้าใหญ่ยาวใช้เป็นหลักในการว่ายนํ้า เกล็ดบนหลังแต่ละเกล็ดมีลายเป็นทางคล้ายแสงอาทิตย์ จึงมีผู้เรียกว่า เต่าแสงอาทิตย์ ปรกติอาศัยอยู่ในทะเล จะขึ้นมาตามชายหาดเฉพาะเมื่อจะวางไข่เท่านั้น.
  81. ตนุมัธยมา,ตนุมัธยา
    หมายถึง [-มัดทะยะ-] น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง. (ส.; ป. ตนุมชฺฌา).
  82. ตบ
    หมายถึง ก. เอาฝ่ามือหรือของแบน ๆ เป็นต้นตีอย่างแรง เช่น ตบหน้า ตบลูกเทนนิส, เอาฝ่ามือแตะเบา ๆ ด้วยความเอ็นดู เช่น ตบหัวเด็ก.
  83. ตบ
    หมายถึง น. ชื่อไม้นํ้าในวงศ์ Pontederiaceae มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Monochoria hastata (L.) Solms ขึ้นตามท้องนาที่แฉะและนํ้านิ่ง ดอกสีนํ้าเงิน ยอดอ่อนและดอกกินได้, คำสุภาพเรียกว่า ผักสามหาว, และชนิด Eichhornia crassipes (C. Martius) Solms-Laub. ขึ้นตามลำนํ้าทั่วไป ดอกสีม่วงอ่อน เรียกว่า ผักตบชวา.
  84. ตบตา
    หมายถึง (สำ) ก. หลอกหรือลวงให้เข้าใจผิด.
  85. ตบมือ
    หมายถึง ก. เอาฝ่ามือตีกันให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น, ปรบมือ ก็ว่า.
  86. ตบมือข้างเดียวไม่ดัง
    หมายถึง (สำ) ก. ทำอะไรฝ่ายเดียวไม่เกิดผล.
  87. ตบยุง
    หมายถึง น. ชื่อนกในวงศ์ Caprimulgidae ขนนุ่มสีนํ้าตาลเทา ลายกระขาว วางไข่บนพื้นดิน หากินแมลงตามลำพังในเวลากลางคืน กลางวันจะพรางตัวซ่อนอยู่ตามพื้นดิน มีหลายชนิด เช่น ตบยุงหางยาว (Caprimulgus macrurus) ตบยุงเล็ก (C. asiaticus), กระบ่า หรือ กระบ้า ก็เรียก.
  88. ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน
    หมายถึง (สำ) ก. ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ทำไว้, ใช้เพี้ยนว่า ตบหัวที่ศาลา ขอขมาที่บ้าน ก็มี.
  89. ตบหัวลูบหลัง
    หมายถึง (สำ) ก. ทำหรือพูดให้กระทบกระเทือนใจในตอนแรกแล้วกลับทำหรือพูดเป็นการปลอบใจในตอนหลัง.
  90. ตบะ
    หมายถึง น. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว; การบำเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง, การข่มกิเลส, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). (ป., ส. ตป ว่า ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส).
  91. ตบะแตก
    หมายถึง ก. บำเพ็ญตบะต่อไปไม่ได้เพราะทนต่อสิ่งเย้ายวนไม่ไหว, หมดความอดกลั้น, สิ้นความอดทน.
  92. ตบเท้า
    หมายถึง ก. อาการเดินกระแทกตีนกับพื้นแรง ๆ ของทหารหรือตำรวจเป็นต้น เรียกว่า เดินตบเท้า.
  93. ตบแต่ง
    หมายถึง ก. ทำให้งาม; จัดให้ลูกสาวมีเรือนตามประเพณี เช่น ตบแต่งลูกสาวให้เป็นฝั่งเป็นฝา.
  94. ตบแผละ
    หมายถึง [-แผฺละ] น. การเล่นชนิดหนึ่ง มีคนเล่น ๒ คน หันหน้าเข้าหากัน แต่ละฝ่ายตบเข่าและตบมือของตัวเองก่อน จึงใช้มือซ้ายตบมือซ้ายและมือขวาตบมือขวาของอีกฝ่ายหนึ่งสลับกันกับตบมือและตบเข่า.
  95. ตปนียะ
    หมายถึง น. ทองคำ. (ป., ส.).
  96. ตม
    หมายถึง น. ดินเปียกที่เหนียวกว่าเลน.
  97. ตม,ตม-,ตม-,ตโม,ตโม-
    หมายถึง [ตะมะ-] น. ความมืด, ความเศร้าหมอง, ความเขลา. (ป.; ส. ตมสฺ).
  98. ตมูก
    หมายถึง [ตะหฺมูก] (ปาก) น. จมูก.
  99. ตยาค
    หมายถึง [ตะยาก] (แบบ) น. การสละ, การให้ปัน, เช่น อันมีใจตยาคนั้น. (ม. คำหลวง กุมาร). (ส.).
  100. ตยาคี
    หมายถึง [ตะยา-] น. ผู้บริจาค, วีรบุรุษ, นักพรต, เช่น พระศรีศรีสรศาสดา มีพระมหิมา นุภาพพ้นตยาคี. (สมุทรโฆษ). (ส.).

 แสดงความคิดเห็น