คำในภาษาไทย หมวด ศ
รวมคำในภาษาไทย หมวด ศ
คำในภาษาไทย หมวด ศ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ศ
หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๓๘ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้นและเป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษาอื่น เช่น ศาลา อากาศ ไอศกรีม วงศ์. - ศก
หมายถึง น. ผม เช่น พระศกพระพุทธรูป. (ข.). - ศก
หมายถึง น. ระบบการคำนวณนับเวลาเรียงลำดับกันเป็นปี ๆ โดยถือเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ดังในคำว่า รัตนโกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคำย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก; คำเรียกปีหนึ่ง ๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย ๑ ๒ ... หรือ ๐ เช่น ถ้าลงท้ายด้วย ๑ เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย ๒ เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย ๐ เรียกว่า สัมฤทธิศก; (ปาก) ปี เช่น ศกนี้ ศกหน้า วันเถลิงศก. (ส.). - ศกฏะ
หมายถึง [สะกะตะ] น. เกวียน. (ส.; ป. สกฏ). - ศกละ
หมายถึง [สะกะละ] น. ส่วน, ซีก. (ส.; ป. สกล). - ศกุน
หมายถึง น. นก. (ส.; ป. สกุณ). - ศกุนต์
หมายถึง น. นก. (ส.; ป. สกุนฺต). - ศกุนิ
หมายถึง น. นก. (ส.; ป. สกุณิ). - ศกุนี
หมายถึง น. นกตัวเมีย. (ส.; ป. สกุณี). - ศงกา
หมายถึง น. ความสงสัย. (ส. ศงฺกา; ป. สงฺกา). - ศจี
หมายถึง น. ชายาพระอินทร์. (ส.). - ศฐะ
หมายถึง [สะ-] น. คนโกง, คนล่อลวง; คนโอ้อวด. (ส.; ป. ส). - ศดก
หมายถึง [สะดก] น. หมวด ๑๐๐. (ส. ศตก; ป. สตก). - ศต,ศต-,ศตะ
หมายถึง [สะตะ-] น. ร้อย (๑๐๐). (ส.; ป. สต). - ศตกะ
หมายถึง [สะตะกะ] น. หมวด ๑๐๐, มีจำนวน ๑๐๐, ใช้ ศดก ก็มี. (ส.; ป. สตก). - ศตบาท,ศตปที
หมายถึง น. ตะขาบ, ตะเข็บ, กิ้งกือ. (ส.). - ศตภิษัช,สตภิสชะ
หมายถึง [-พิสัด, -พิดสะชะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๔ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปทิมทองหรือมังกร, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์ ก็เรียก. - ศตวรรษ,ศตพรรษ
หมายถึง [สะตะวัด, -พัด] น. รอบ ๑๐๐ ปี. (ส.). - ศตสังวัตสร์
หมายถึง น. เวลานานชั่ว ๑๐๐ ปี. (ส.). - ศตัฆนี
หมายถึง ดู ศต-, ศตะ. - ศตัฆนี
หมายถึง [สะตักคะนี] น. อาวุธอย่างร้ายแรงฆ่าคนได้ทีละ ๑๐๐ คน. (ส.). - ศนิ
หมายถึง [สะ-] น. ดาวพระเสาร์. (ส.). - ศนิวาร
หมายถึง น. วันเสาร์, โสรวาร ก็ว่า. (ส.). - ศพ
หมายถึง น. ซากผี, ร่างคนที่ตายแล้ว. (ส. ศว; ป. ฉว). - ศพละ
หมายถึง [สะพะละ] ว. หลายสี, ด่าง, ลาย, พร้อย, กระ; วุ่น, รำคาญ. (ส.; ป. สพล). - ศมนะ
หมายถึง [สะมะนะ] น. การทำให้สงบ. (ส.; ป. สมน). - ศมะ
หมายถึง [สะ-] น. ความสงบ, ความนิ่ง. (ส.; ป. สม). - ศยนะ
หมายถึง [สะยะ-] น. การนอน, การหลับ; ที่นอน, ฟูก, เบาะ. (ส.; ป. สยน). - ศยะ
หมายถึง [สะ-] ก. นอน; หลับ; อยู่, พักผ่อน, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส. (ส.). - ศยาม
หมายถึง [สะหฺยาม] ว. ดำ, คลํ้า. (ส.). - ศยามล
หมายถึง [สะหฺยามน] น. สีดำ. ว. ผิวคลํ้า, ดำ. (ส.). - ศร
หมายถึง [สอน] น. อาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันสำหรับยิง เรียกว่า คันศร กับลูกที่มีปลายแหลม เรียกว่า ลูกศร, เรียกสายคันศรว่า สายศร, เรียกอาการที่ยิงลูกศรออกไปว่า แผลงศร หรือ ยิงศร; (โบ) ปืน. (ส.). - ศรนารายณ์
หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มแตกกอชนิด Agave sisalana Perrine ในวงศ์ Agavaceae ใบใหญ่หนาและแข็ง ปลายเป็นหนามแหลม ใบให้ใยใช้ทำสิ่งทอได้. - ศรภะ
หมายถึง [สะระพะ] น. สัตว์ในนิยาย ว่ากันว่ามี ๘ เท้า มีแรงมากกว่าช้างและสิงโต. (ส.). - ศรมณะ
หมายถึง [สะระมะ-] น. ผู้ปฏิบัติบำเพ็ญพรต, พระสงฆ์. (ส.; ป. สมณ). - ศรรกรา
หมายถึง [สักกะรา] น. ก้อนกรวด; นํ้าตาลกรวด. (ส. ศรฺกรา; ป. สกฺกร). - ศรวณะ,ศระวณะ,สาวนะ,สาวนะ
หมายถึง [สะระวะนะ, สาวะนะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๒ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหามผีหรือโลง, ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี ก็เรียก. (ส.). - ศรวณีย์
หมายถึง [สะระวะนี] ว. พึงได้ยิน, ควรได้ยิน; น่าฟัง, น่าชม. (ส.; ป. สวนีย). - ศรวิษฐา
หมายถึง [สะระวิดถา] น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ธนิษฐา มี ๔ ดวง, ดาวไซ ดาวเศรษฐี หรือ ดาวธนิษฐะ ก็เรียก. - ศรศิลป์ไม่กินกัน
หมายถึง (กลอน) ก. ทำอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน. (รามเกียรติ์ ร. ๖); (สำ) ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น. - ศรัณยู
หมายถึง [สะรันยู] น. ผู้เป็นที่พึ่ง. (ส. ศรณฺยุ). - ศรัณย์
หมายถึง [สะรัน] ว. ซึ่งเป็นที่พึ่ง. (ส. ศรณฺย). - ศรัถนะ
หมายถึง [สะรัดถะนะ] น. การปล่อย, การหย่อน. (ส.). - ศรัท
หมายถึง [สะรัด] น. ฤดูสารท. (ส. ศรท; ป. สรท). - ศรัทธา
หมายถึง [สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาในความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสาทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขาศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผนโบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา). - ศรัย
หมายถึง [ไส] น. ที่พักพิง, ที่พึ่ง, ที่อาศัย, ที่ร่มเย็น. (ส. ศฺรย). - ศราทธ,ศราทธ-,ศราทธ์
หมายถึง [สาดทะ-, สาด] น. การทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว. (ส.). - ศราทธพรต
หมายถึง [สาดทะพฺรด] น. พิธีทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว. (ส. ศฺราทฺธ + วฺรต). - ศราพ
หมายถึง [สะราบ] น. การได้ยิน, การฟัง. (ส. ศฺราว). - ศราพก,ศราวก
หมายถึง [สะราพก, -วก] น. สาวก, ศิษย์. (ส. ศฺราวก; ป. สาวก). - ศรายุธ
หมายถึง [สะรายุด] น. อาวุธคือศร. (ส. ศร + อายุธ). - ศราวณะ
หมายถึง [สะราวะนะ] น. ชื่อเดือนที่ ๙ แห่งจันทรคติ. ว. เกี่ยวกับดาวศรวณะ. (ส.). - ศราวรณ์
หมายถึง [สะราวอน] น. เครื่องกำบังลูกศร คือ โล่. (ส.). - ศราสน์
หมายถึง [สะราด] น. คันศร. (ส.). - ศรี
หมายถึง [สี] น. มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่น ศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็นการยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (ส. ศฺรี; ป. สิริ, สิรี). - ศรี
หมายถึง [สี] น. ผู้หญิง. (ข. สี). - ศรี
หมายถึง [สี] น. พลู. (ม.); (ราชา) หมากพลู เรียกว่า พระศรี. - ศรี
หมายถึง [สี] (กลอน) น. ลักษณนามใช้แก่คน เช่น พระปิตุราชมาตุรงค์ทรงพระสรวล เห็นสมควรคู่ครองกันสองศรี. (อภัย). - ศรีตรัง
หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Jacaranda filicifolia D. Don ในวงศ์ Bignoniaceae สูงประมาณ ๑๐ เมตร ใบเป็นฝอยเล็ก ดอกสีนํ้าเงินปนม่วง. - ศรีสังคีต
หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. - ศรุตะ
หมายถึง [สะรุตะ] ก. ได้ยิน, ได้ฟัง; มีชื่อเสียง, มีผู้รู้จัก. (ส.). - ศรุติ
หมายถึง [สะรุติ] น. สิ่งที่ได้ยิน, กิตติศัพท์; พระเวท. (ส.). - ศฤคาล,สฤคาล
หมายถึง [สฺริคาน] น. หมาจิ้งจอก. (ส.). - ศฤงคาร
หมายถึง [สิงคาน, สะหฺริงคาน] น. สิ่งให้เกิดความรัก, บริวารหญิงผู้บำเรอความรัก เช่น สาวศฤงคารคนใช้. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ศฺฤงฺคาร ว่า ความใคร่). - ศฤงคารรส
หมายถึง [สะหฺริงคานระรด] (วรรณ) น. รส ๑ ใน ๙ รสของวรรณคดี มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความรัก เช่น เรื่องลิลิตพระลอมีเนื้อเรื่องเป็นศฤงคารรส. - ศฤงคาริน,ศฤงคารี
หมายถึง ว. ผู้มีศฤงคาร. (ส. ศฺฤงฺคาริน). - ศฤงค์
หมายถึง [สฺริง] น. เขาสัตว์; ยอดของสถานที่ต่าง ๆ. (ส.). - ศลภะ
หมายถึง [สะละพะ] น. แมลงมีปีก. (ส.). - ศลัถ
หมายถึง [สะลัด] น. ลุ่ย, หลุด; หลวม, ไม่แน่น. (ส.). - ศลิษฏ์
หมายถึง [สะหฺลิด] ว. ติด, แนบ, เกี่ยวข้อง. (ส.). - ศลิษา
หมายถึง [สะลิ-] น. การกอดรัด. (ส.). - ศวศุระ
หมายถึง น. พ่อตา, พ่อผัว. (ส. ศฺวศุร; ป. สสฺสุร). - ศวะ
หมายถึง น. ศพ. (ส.; ป. ฉว). - ศวัส
หมายถึง [สะวัด] น. วันพรุ่งนี้. (ส. ศฺวสฺ; ป. เสฺว). - ศวัสนะ
หมายถึง น. การหายใจ. (ส. ศฺวสน). - ศวา,ศวาน
หมายถึง [สะวา, สะวาน] น. หมา. (ส. ศฺวา, ศฺวานฺ). - ศวาสะ
หมายถึง น. การหายใจ, ลมหายใจ. (ส. ศฺวาส). - ศศ,ศศ-,ศศะ
หมายถึง [สะสะ-] น. กระต่าย, รอยดำที่ปรากฏในดวงจันทร์ ซึ่งถือกันว่าคล้ายกระต่าย. (ส.; ป. สส). - ศศธร
หมายถึง น. ทรงไว้ซึ่งรูปกระต่าย คือ ดวงจันทร์. (ส.). - ศศพินทุ์,ศศลักษณ์
หมายถึง น. ดวงจันทร์. (ส.). - ศศิ
หมายถึง [สะสิ] (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม). - ศศิ,ศศิ,ศศิน,ศศี
หมายถึง [สะสิ, สะสิน, สะสี] น. “ซึ่งมีกระต่าย” คือ ดวงจันทร์. (ส.). - ศศิกษัย
หมายถึง น. พระจันทร์แรม. (ส.). - ศศิขัณฑ์
หมายถึง น. เสี้ยวพระจันทร์. (ส.). - ศศิธร
หมายถึง น. ดวงจันทร์. (ส. ว่า พระอิศวรผู้มีพระจันทร์เป็นปิ่น). - ศศิมณฑล
หมายถึง น. ดวงพระจันทร์. (ส.). - ศศิวิมล
หมายถึง ว. บริสุทธิ์เพียงจันทร์. (ส.). - ศศิเคราะห์
หมายถึง น. จันทรคราส. (ส. ศศิคฺรห). - ศสา
หมายถึง [สะ-] น. แตงกวา. (ส.). - ศอ
หมายถึง น. คอ, ราชาศัพท์ ว่า พระศอ. - ศอก
หมายถึง น. ส่วนของแขน ตรงข้ามกับข้อพับ, ข้อศอก ก็ว่า; ช่วงของแขนตั้งแต่ปลายสุดของข้อพับไปถึงปลายนิ้วกลาง; มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ ศอก เท่ากับ ๒ คืบ. - ศอกกลับ
หมายถึง ก. หมุนตัวตีศอกทางด้านหลัง เป็นท่ามวยไทยท่าหนึ่ง; โดยปริยายหมายความว่า ย้อนว่าสวนคำ, พูดตอบสวนควัน, เช่น พอเขาว่ามาก็ศอกกลับไป. - ศอกกำ,ศอกกำมา,ศอกตูม
หมายถึง น. ระยะตั้งแต่ข้อศอกจนสุดกำมือ โบราณใช้เป็นหน่วยวัดระยะ เช่น ๔ ศอกกับศอกกำมาหนึ่ง. - ศอกคู้
หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์หัสตะ มี ๕ ดวง, ดาวศีรษะช้าง ดาวหัสต หรือ ดาวหัฏฐะ ก็เรียก. - ศักดา
หมายถึง (ปาก) น. อำนาจ เช่น อวดศักดา แผลงศักดา. (ส.). - ศักดิ,ศักดิ-,ศักดิ์
หมายถึง น. อำนาจ, ความสามารถ, เช่น มีศักดิ์สูง ถือศักดิ์; กำลัง; ฐานะ เช่นมีศักดิ์และสิทธิแห่งปริญญานี้ทุกประการ; หอก, หลาว. (ส. ศกฺติ; ป. สตฺติ). - ศักดินา
หมายถึง น. (โบ) อำนาจปกครองที่นา คิดเป็นจำนวนไร่ต่างกันตามศักดิ์ของแต่ละคน เช่น พระโหราธิบดี เจ้ากรมโหรหน้า มีศักดินา ๓,๐๐๐ ไร่ ยาจก วรรณิพก ทาษ ลูกทาษ มีศักดินา ๕ ไร่. (สามดวง); (ปาก) คำประชดเรียกชนชั้นสูงหรือผู้ดีมีเงินว่าพวกศักดินา. - ศักดิ์ศรี
หมายถึง น. เกียรติศักดิ์ เช่น ประพฤติตนไม่สมศักดิ์ศรี. - ศักดิ์สิทธิ์
หมายถึง ว. ที่เชื่อถือว่ามีอำนาจอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์, ขลัง, เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์. - ศักติ
หมายถึง น. ชื่อนิกายใหญ่นิกายหนึ่งใน ๓ นิกายของศาสนาฮินดู (คือ นิกายไวษณพ ไศวะ และศักติ) บูชาเทวีซึ่งโดยมากหมายเอาพระทุรคาผู้เป็นศักติ เป็นศรี หรือเป็นชายาของพระศิวะ.