คำในภาษาไทย หมวด ถ
รวมคำในภาษาไทย หมวด ถ
คำในภาษาไทย หมวด ถ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ถ
หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๒๒ นับเป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น รถ ปรารถนา. - ถก
หมายถึง ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถกผ้านุ่งถกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมาอย่างถกหนังหัว; จั่วไพ่ที่กำลังรอกินด้วยตัวเอง, ถ้าจั่วไพ่ขึ้นมาเข้าเศียรที่กำลังรอกินด้วยตัวเอง เรียกว่า ถกเศียร, ถลก ก็ว่า; ทึ้งให้หลุดออก เช่น ถกหญ้า ถกเถาวัลย์; โดยปริยายหมายความว่า ยกเอาขึ้นมาพิจารณากันด้วยเหตุผล เช่น ถกปัญหา. - ถกล
หมายถึง [ถะกน] ก. ก่อสร้าง, ตั้ง, ตั้งขึ้น, ตั้งไว้; ในวรรณคดีหมายความว่า งาม, ใช้แผลงเป็น ดำกล ก็มี. (ข. ถฺกล่). - ถกเขมร
หมายถึง ก. นุ่งผ้าโจงกระเบนดึงชายให้สูงร่นขึ้นไปเหนือเข่า, ขัดเขมร ก็ว่า. - ถกเถียง
หมายถึง ก. ยกเอาขึ้นมาพูดโต้แย้งกัน. - ถงัน
หมายถึง [ถะหฺงัน] ก. เผ่นไป. - ถงาด
หมายถึง [ถะหฺงาด] ก. ทำท่าเผ่น, เยื้องท่า, ชะโงก, เงื้อม, ผ่านไป. - ถด
หมายถึง ก. กระถด, เลื่อนไปเล็กน้อย. - ถดถอย,ทดถอย
หมายถึง ก. ย่อท้อ, ลดน้อยลง เช่น เรี่ยวแรงถดถอย; กระเถิบถอย, ถอยถด หรือ ถอยทด ก็ใช้. - ถนน
หมายถึง [ถะหฺนน] น. หนทางที่ทำขึ้น, ลักษณนามว่า สาย, สนน ก็ว่า, โบราณเขียนเป็น ถนล. (จารึกวัดป่ามะม่วง); (กฎ) ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้. (ข. ถฺนล่). - ถนนลาดยาง
หมายถึง น. ถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสมกับหินหรือทรายเป็นต้น. - ถนป
หมายถึง [ถะหฺนบ] (แบบ; กลอน) น. เด็ก, เด็กกินนม. (ป.). - ถนอม
หมายถึง [ถะหฺนอม] ก. คอยระวังประคับประคองไว้ให้ดี เช่น ถนอมนํ้าใจ, ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เสียหรือหมดเร็ว เช่น ถนอมของกินของใช้ ถนอมแรง, เก็บไว้อย่างดี เช่น ถนอมเอาไว้ก่อน, สนอม ก็ว่า. (ข. ถฺนม). - ถนอมอาหาร
หมายถึง ก. เก็บผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ ด้วยกรรมวิธีบางอย่างเพื่อกันเสียหรือเสื่อมคุณภาพ. - ถนะ
หมายถึง (แบบ; กลอน) น. ถัน, เต้านม. (ป.). - ถนัด
หมายถึง [ถะหฺนัด] ก. สันทัด, ชำนาญ, เช่น ถนัดแต่งกลอน. ว. สะดวก เช่น เดินไม่ถนัด; ชัด, แม่นยำ, เช่น เห็นไม่ถนัด; เช่น, ราวกับ, เช่น ถนัดดั่งภูผาหลวง ทุ่มแท้. (ตะเลงพ่าย), สนัด ก็ว่า. - ถนัดขวา
หมายถึง ว. ที่ทำได้คล่องแคล่วด้วยมือขวา. - ถนัดซ้าย
หมายถึง ว. ที่ทำได้คล่องแคล่วด้วยมือซ้าย. - ถนัดถนี่
หมายถึง (ปาก) ว. ถนัดชัดเจน เช่น เห็นถนัดถนี่. - ถนัดปาก
หมายถึง ว. สะดวกปาก, โดยไม่กระดากปาก, (ใช้แก่กริยาพูด). - ถนัดมือ
หมายถึง ว. พอเหมาะมือ. - ถนัดใจ
หมายถึง ว. สะดวกใจ, สะใจ; เต็มที่ เช่น โดนเข้าถนัดใจ, สนัดใจ ก็ว่า. - ถนัน
หมายถึง [ถะหฺนัน] น. ดินชนิดหนึ่งเชื่อว่าเป็นยารักษาโรค และเป็นยาอายุวัฒนะ เช่น ต่อได้กินดินถนันเมื่อวันไร. (อภัย). - ถนำ
หมายถึง [ถะหฺนำ] น. ชื่อดินชนิดหนึ่ง สีเหลืองอ่อน ใช้ทำยาไทย, ยา. - ถนำทึก
หมายถึง น. นํ้ายา. (ข. ถฺนำ ว่า ยา). - ถนิม
หมายถึง [ถะหฺนิม] น. เครื่องประดับ เช่น ถนิมพิมพาภรณ์, ในโลกนี้ถนิมเจ้า เอกแท้นางเดียว. (นิทราชาคริต), ธารถนิมทองถ่องเถือก. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), ใช้ว่า สนิม ก็มี เช่น สร้อยสนิมพิมพาภรณ์. - ถนิมกาม
หมายถึง ว. น่ารัก เช่น นางนงถ่าวถนิมกาม. (ม. คำหลวง ทศพร). - ถนิมพิมพาภรณ์
หมายถึง น. เครื่องประดับร่างกาย. - ถนิมสร้อย
หมายถึง [ถะหฺนิมส้อย] ว. หนักไม่เอาเบาไม่สู้, ทำเป็นเหยาะแหยะ, ทำเป็นอ่อนแอ, (ใช้เป็นคำตำหนิ) เช่น โดนว่านิดหน่อยก็ร้องไห้ ทำเป็นแม่ถนิมสร้อยไปได้, สนิมสร้อย ก็ว่า. - ถบ
หมายถึง น. เรียกเป็ดกายสิทธิ์ว่า เป็ดถบ. - ถบดี
หมายถึง [ถะบอดี] (แบบ) น. ช่างไม้. (ป. ถปติ; ส. สฺถปติ). - ถม
หมายถึง น. เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทำโดยใช้ผงยาถมผสมนํ้าประสานทองถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่องประดับนั้น แล้วขัดผิวให้เป็นเงางาม ว่า เครื่องถม หรือ ถม เช่น ถมนคร ถมทอง ถมเงิน. ก. ลงคาถา, ลงเลขยันต์; ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถมดำ ถมยา หรือ ลงถม ก็ว่า, เรียกเต็มว่า ถมยาดำ. - ถม
หมายถึง ก. เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็ม, กองสุม ๆ ไว้ไม่เป็นระเบียบ. - ถมดำ
หมายถึง ก. ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมยา หรือ ลงถม ก็ว่า, เรียกเต็มว่า ถมยาดำ. - ถมตะทอง
หมายถึง น. เครื่องถมที่ทำโดยวิธีเปียกทองทาทับลงบนเส้นเงิน. - ถมถืด,ถมเถ,ถมไป
หมายถึง ว. มากมายก่ายกอง. - ถมทอง
หมายถึง น. เครื่องถมที่ทำด้วยทองคำ. - ถมปรักมาศ
หมายถึง [-ปฺรักมาด] น. ถมเงินและทอง. - ถมปัด
หมายถึง น. ภาชนะทองแดงที่เคลือบนํ้ายาประสมด้วยลูกปัดป่นให้เป็นผงให้เป็นสีและลวดลายต่าง ๆ. - ถมยา
หมายถึง ก. ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมดำ หรือ ลงถม ก็ว่า, เรียกเต็มว่า ถมยาดำ. - ถมอ
หมายถึง [ถะหฺมอ, ถะมอ] น. หิน เช่น ดาดดำถมอทะมื่น. (ม. คำหลวง จุลพน). - ถมึงทึง
หมายถึง [ถะหฺมึง-] ว. ลักษณะหน้าตาที่บูดบึ้งไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตาน่ากลัว, ขมึงทึง ก็ว่า. - ถมเงิน
หมายถึง น. เครื่องถมที่ทำด้วยเงิน. - ถล,ถละ
หมายถึง [ถน, ถะละ] (แบบ) น. ที่บก, ที่ดอน. (ป.). - ถลก
หมายถึง [ถะหฺลก] ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถลกผ้านุ่งถลกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมาอย่างถลกหนังหัว; จั่วไพ่ที่กำลังรอกินด้วยตัวเอง, ถ้าจั่วไพ่ขึ้นมาเข้าเศียรที่กำลังรอกินด้วยตัวเอง เรียกว่า ถลกเศียร, ถก ก็ว่า. - ถลกบาตร
หมายถึง [ถะหฺลกบาด] น. ถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า (สายโยก), ตลกบาตร ก็ว่า. - ถลกบาตร
หมายถึง [ถะหฺลกบาด] ดู กะทกรก (๒). - ถลน
หมายถึง [ถะหฺลน] ก. ทะเล้นออก, ปลิ้นออก, (ใช้แก่ตา). - ถลม
หมายถึง [ถะหฺลม] ว. เป็นบ่อ. (ปรัดเล). - ถลอก
หมายถึง [ถะหฺลอก] ก. ลอกออกไป, ปอกออกไป, เปิดออกไป, (มักใช้แก่สิ่งที่มีผิว) เช่น หนังถลอก สีถลอก. - ถลัน
หมายถึง [ถะหฺลัน] ก. พรวดพราดเข้าไปหรือออกมาโดยไม่รั้งรอ. - ถลา
หมายถึง [ถะหฺลา] ก. โผผวา เช่น นกถลาลง เด็กวิ่งถลาเข้าหา, เสียหลักซวนไป เช่น เครื่องบินถลาลง. - ถลาก
หมายถึง [ถะหฺลาก] ว. ถากไปถูกเพียงผิว ๆ เช่น ฟันถลากไป ยิงถลากไป. - ถลากถลำ
หมายถึง ว. พลั้ง ๆ พลาด ๆ (ใช้แก่กริยาพูด), ถลำถลาก ก็ว่า. - ถลากไถล
หมายถึง ว. ไม่ตรงไปตรงมา, ไม่อยู่กับร่องกับรอย, (ใช้แก่กริยาพูด). - ถลาย
หมายถึง [ถะหฺลาย] ก. แตก, มีคำที่ใช้คล้ายกันอีก คือ ฉลาย สลาย. - ถลำ
หมายถึง [ถะหฺลำ] ก. ลํ้าล่วง เช่น ถลำเข้าไป, พลั้งพลาดตกลงไป เช่น ถลำลงคู. - ถลำตัว
หมายถึง ก. หลวมตัว. - ถลำถลาก
หมายถึง ว. พลั้ง ๆ พลาด ๆ (ใช้แก่กริยาพูด), ถลากถลำ ก็ว่า. - ถลำใจ
หมายถึง ก. ปล่อยใจให้ตกอยู่ในข้อผูกพัน. - ถลีถลำ
หมายถึง [ถะหฺลีถะหฺลำ] ก. เถลือกถลน. - ถลึงตา
หมายถึง [ถะหฺลึง-] ก. ขึงตา. - ถลุง
หมายถึง [ถะหฺลุง] ก. ใช้ความร้อนสุมสินแร่เพื่อไล่ขี้แร่ออกเอาไว้แต่เนื้อโลหะ; (ปาก) โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความแวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุงเสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย. - ถลุน
หมายถึง [ถะหฺลุน] ก. เอาปอหรือป่านมาบิดให้เป็นเส้นเขม็งเพื่อฟั่นเข้าเป็นเกลียวเส้นเชือกใหญ่. - ถล่ม
หมายถึง [ถะหฺล่ม] ก. ยุบหรือทำให้ยุบทลายลง เช่น แผ่นดินถล่ม, ทำให้พังทลายหรือล่มจม เช่น ถล่มด้วยปืนใหญ่. - ถวัด
หมายถึง [ถะหฺวัด] ก. ตวัด เช่น หมีแรดถวัดแสนงขนาย. (แช่งนํ้า). ว. ไว, คล่อง, เช่น ลางหมู่เอาดินก็ได้ถวัด. (ม. คำหลวง มหาราช). - ถวัดถวัน
หมายถึง [-ถะหฺวัน] (กลอน) ว. ว่องไว, คล่องแคล่ว. - ถวัล
หมายถึง [ถะหฺวัน] ว. อ้วน, หยาบ, เช่น ถวัลพัสตร์. (ป. ถูล; ส. สฺถูล). - ถวัลย์
หมายถึง [ถะหฺวัน] ก. ทรง, ครอง; เจริญ. ว. ใหญ่. - ถวาย
หมายถึง [ถะหฺวาย] ก. ให้, มอบให้, เช่น ถวายของ (ใช้แก่พระสงฆ์หรือเจ้านาย); ให้ดู, ให้ชม, เช่น รำถวายมือ เล่นถวายตัว, แผลงเป็น ดงวาย หรือ ตังวาย ก็ได้. - ถวายกร
หมายถึง ก. ไหว้เจ้านาย, รำให้เจ้านายชม. - ถวายข้าวพระ
หมายถึง ก. ทำพิธีอย่างหนึ่ง เมื่อนำสำรับไปถวายพระพุทธโดยยกมือประนม กล่าวคำว่า อุกาส สูปพฺยฺชนสมฺปนฺนํ สาลีนํ โภชนํ สอุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ. - ถวายตัว
หมายถึง ก. มอบตัวแก่เจ้านาย. - ถวายพระพร
หมายถึง คำเริ่มที่พระสงฆ์พูดกับเจ้านายและเป็นคำรับ. - ถวายหัว
หมายถึง (สำ) ก. ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อชาติ, เอาชีวิตเป็นประกัน, ทำจนสุดความสามารถ, ยอมสู้ตาย. - ถวายเนตร
หมายถึง น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนพระหัตถ์ขวาประกบพระหัตถ์ซ้ายอยู่หน้าพระเพลา ลืมพระเนตรทั้ง ๒ ดูมหาโพธิพฤกษ์ อยู่ในพระอาการสำรวม. - ถวิน
หมายถึง [ถะหฺวิน] น. ห่วงร้อยสายรัดประคด เรียกว่า ลูกถวิน, กระวิน ก็ว่า. - ถวิล
หมายถึง [ถะหฺวิน] ก. คิด, คิดถึง. - ถอก
หมายถึง (ถิ่น) ก. เทออก. - ถอก
หมายถึง ก. รั้น, ร่นเข้าไป. - ถอง
หมายถึง ก. กระทุ้งด้วยศอก. - ถอด
หมายถึง ก. เอาออก เช่น ถอดเสื้อ ถอดรองเท้า ถอดยศ; ถ่าย เช่น ถอดแบบมาจากพ่อจากแม่; หลุดออก เช่น เล็บถอด. - ถอดความ
หมายถึง ก. แปลให้เข้าใจความได้ง่ายขึ้น. - ถอดถอน
หมายถึง ก. ถอดออกจากตำแหน่ง. - ถอดรหัส
หมายถึง ก. ถอดสารลับออกเป็นภาษาสามัญ. - ถอดรูป
หมายถึง ก. เอารูปที่ปกคลุมออกให้เห็นรูปเดิม เช่น เงาะถอดรูป. - ถอดสี
หมายถึง ก. แสดงอาการหวาดหวั่นครั่นคร้ามให้เห็น (มาจากปลากัด ตัวที่แพ้จะถอดสี) เช่น กลัวจนหน้าถอดสี. - ถอดหัวโขน
หมายถึง ก. พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์. - ถอดเขี้ยวถอดเล็บ
หมายถึง (สำ) ก. ละพยศ, ละความดุหรือร้ายกาจ, เลิกแสดงฤทธิ์แสดงอำนาจอีกต่อไป. - ถอดไพ่
หมายถึง ก. จัดเรียงไพ่ให้เข้าชุดโดยใช้หลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง (มักใช้ในการเสี่ยงทาย). - ถอน
หมายถึง ก. ฉุดขึ้น, ดึงขึ้น, เช่น ถอนฟัน ถอนเสา ถอนหญ้า; บอกเลิก เช่น ถอนประกัน ถอนฟ้อง ถอนหมั้น; เอาตัวออกจากพันธะ เช่น ถอนตัว; ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ถอนฉุน. - ถอนคำฟ้อง,ถอนฟ้อง
หมายถึง (กฎ) ก. ยื่นคำร้องหรือคำบอกกล่าวต่อศาลแสดงความประสงค์ว่าจะไม่ดำเนินคดีที่ยื่นฟ้องไว้อีกต่อไป ในคดีแพ่งเรียกว่า ถอนคำฟ้อง ในคดีอาญาเรียกว่า ถอนฟ้อง. - ถอนต้นก่นราก,ถอนรากถอนโคน
หมายถึง (สำ) ก. ทำลายให้ถึงต้นตอ, ทำลายให้สิ้นเสี้ยนหนาม. - ถอนทุน
หมายถึง ก. ได้ทุนคืน, ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเอาทุนคืน. - ถอนพิษ
หมายถึง ก. ทำให้พิษหมด. - ถอนยวง
หมายถึง ก. ทำลายให้สิ้นซาก. - ถอนรากถอนโคน
หมายถึง (สำ) ก. ทำลายให้ถึงต้นตอ, ทำลายให้สิ้นเสี้ยนหนาม, ถอนต้นก่นราก ก็ว่า. - ถอนสมอ
หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง ตัดมาจากตับเพลงฝรั่งถอนสมอ. (บัญชีเพลง). - ถอนสายบัว
หมายถึง ก. ถวายคำนับแบบผู้หญิง โดยยืนตรงแล้วชักขาข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังพร้อมกับย่อเข่าและก้มศีรษะเล็กน้อย เป็นการแสดงความเคารพของสตรีต่อเจ้านายชั้นสูง. - ถอนหงอก
หมายถึง (สำ) ก. ไม่นับถือความเป็นผู้ใหญ่, พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่.