คำศัพท์ภาษาไทย 50 คำ พร้อมความหมาย
รวม 50 คำในภาษาไทยยอดนิยม
- กระแนะกระแหน
หมายถึง [-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแหนะกระแหน ก็ว่า. - กินสี่ถ้วย
หมายถึง ก. กินเลี้ยงในงานมงคล [สี่ถ้วย คือ ขนม ๔ อย่าง อย่างละถ้วย ได้แก่ ไข่กบ (สาคูหรือเมล็ดแมงลัก), นกปล่อย (ลอดช่อง), มะลิลอย (ข้าวตอก), อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) มีนํ้ากะทิใส่ชามอยู่กลาง]. - เข็นครกขึ้นเขา
หมายถึง (สํา) ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนอย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน. - เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม
หมายถึง (สํา) ก. ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน. - โขยกเขยก
หมายถึง อาการเดินไม่ปรกติ คือ ยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับกับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน อาการที่เดินไปด้วยความลําบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ กะโผลกกะเผลก ก็ว่า - คนดีผีคุ้ม
หมายถึง (สํา) น. คนทําดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับ คนร้ายตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม. - คำพ้องรูป
หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู. - คำพ้องเสียง
หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์ - คุณค่า
หมายถึง [คุนค่า, คุนนะค่า] น. สิ่งที่มีประโยชน์หรือมีมูลค่าสูง. - เค้ง
หมายถึง (ปาก) ก. เป็นคําบอกเด็กให้นอน เช่น เค้งเสีย, เคล้ง ก็ว่า. - เงี่ยน
หมายถึง ก. อยากจัด, กระหายจัด, มีความรู้สึกอยากหรือกระหายเป็นกําลัง, (โดยมากใช้เฉพาะของเสพติดและกามคุณ). - ชลาสินธุ์
หมายถึง น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณบิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัด กวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูปอสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย). - เซ็งแซ่
หมายถึง ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด - ไซร้
หมายถึง [ไซ้] ว. คําสําหรับเน้นความหมายของคําหน้า มีความหมายไปในทางว่า อย่างนั้น, เช่นนั้น, ทีเดียว. - ได้คืบจะเอาศอก
หมายถึง (สำ) ต้องการได้มากกว่าที่ได้มาแล้ว. - นฤคหิต
หมายถึง [นะรึคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ, นิคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ส. นิคฺฤหีต; ป. นิคฺคหีต). (ดู นิคหิต). - บราลี
หมายถึง [บะรา-] น. ยอดเล็ก ๆ มีสัณฐานดุจยอดพระทราย ใช้เสียบราย ๆ ไปตามอกไก่หลังคา หรือเสียบหลังบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด. - บิตุรงค์
หมายถึง (กลอน) น. พ่อ. (ป. ปิตุ + องฺค). - บุคลากร
หมายถึง [บุกคะลากอน] น. ตําแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เช่นในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน เป็นต้น; ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน. - ปฤษฎางค์
หมายถึง [ปฺริดสะดาง] น. อวัยวะเบื้องหลัง, ส่วนหลัง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระปฤษฎางค์, พระขนอง ก็ว่า. - เปรมปรีดิ์
หมายถึง [-ปฺรี] ว. อิ่มอกอิ่มใจ, ปลาบปลื้มใจ. - พจนารถ
หมายถึง [พดจะนาด] น. เนื้อความของคําพูด. (ส.). - พจมาน
หมายถึง [พดจะมาน] น. คําพูด. - พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
หมายถึง (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า. - เพลา
หมายถึง [เพ-ลา] น. กาล, คราว. (ป. เวลา). - ภาษาคำโดด
หมายถึง น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่องกับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำสองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language). - ภาษาระดับทางการ
หมายถึง น. ภาษาราชการ - ภาษาแบบแผน
หมายถึง น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะ...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก. - ภิรมย์
หมายถึง ดู อภิรมย์. - มณโฑ
หมายถึง มเหสีของทศกัณฐ์, แม่ของนาสีดา - มฤค
หมายถึง [มะรึก] น. สัตว์ป่ามีกวาง อีเก้ง เป็นต้น, ถ้าเป็นตัวเมีย ใช้ว่า มฤคี. (ส.; ป. มิค). - รู้จักเก็บรู้จักเขี่ย
หมายถึง (สํา) ก. รู้จักสะสม, รู้จักหา. - สถุล
หมายถึง [สะถุน] ว. หยาบ, ตํ่าช้า, เลวทราม, (ใช้เป็นคำด่า), เช่น เลวสถุล, มักใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่สถุล. (ส. สฺถูล ว่า อ้วน, หยาบ; ป. ถูล). - สัมปรายภพ
หมายถึง [-ปะรายะ-, -ปะราย-] น. ภพหน้า. (ป., ส.). - สิงขร
หมายถึง [-ขอน] น. สิขร - สิทธัตถะ
หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว - สินธุ์
หมายถึง (กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, เช่น เหาะข้ามสินธุ์ไปยังขุนยุคุนธร. (สมบัติอัมรินทร์), ใช้ว่า สินธุ หรือ สินธู ก็มี. - สีซอให้ควายฟัง
หมายถึง (สํา) ก. สั่งสอนแนะนำคนโง่มักไม่ได้ผล เสียเวลาเปล่า. - สูจิบัตร
หมายถึง น. ใบแจ้งกำหนดการต่าง ๆ ในการประชุม การแสดงมหรสพเป็นต้น เช่น สูจิบัตรการแสดงวิพิธทัศนา. - เสมา
หมายถึง [เส-มา] น. สีมา, เครื่องหมายบอกเขตโบสถ์; เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายใบสีมาที่เรียงกันอยู่บนกําแพงอย่างกําแพงเมืองว่า ใบเสมา; เครื่องประดับหรือเครื่องรางสําหรับห้อยคอ มีรูปร่างอย่างใบเสมา. (ป., ส. สีมา). - เสียงนกเสียงกา
หมายถึง (สำ) น. ความเห็นของคนที่ไม่มีอำนาจ เช่น เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ น่าจะฟังเสียงนกเสียงกาบ้าง. - หน้าไหว้หลังหลอก
หมายถึง (สำ) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือหาทางทำร้าย, ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก ก็ว่า. - หมากัดอย่ากัดตอบ
หมายถึง (สำ) ก. อย่าลดตัวลงไปต่อสู้หรือต่อปากต่อคำกับคนพาลหรือคนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า. - หัวล้านได้หวี
หมายถึง (สำ) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ ตาบอดได้แว่น เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. - เหล้าแห้ง
หมายถึง (ปาก) น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งประเภทกดประสาทสมอง เป็นยานอนหลับจําพวกบาร์บิทูเรต ซึ่งผลิตออกมาในรูปของโซเดียมเซโคบาร์บิทาล และเรียกกันสั้น ๆ ว่า เซโคนัล ทางแพทย์ใช้เป็นยานอนหลับประเภทออกฤทธิ์ระยะสั้น. - อนธการ
หมายถึง น. ความมืด, ความมัว, ความมืดมน; เวลาคํ่า; ความเขลา; อันธการ ก็ว่า. (ป.). - อร
หมายถึง [ออน, ออระ] (กลอน) น. ผู้หญิง, หญิงงาม, เช่น โอบองค์ผอูนอวล ออกโอษฐ์ อรเอย. (นิ. นรินทร์). ว. สวย, งาม, เช่น พระองค์กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารนี ฯ. (ลอ). - อักษรกลาง
หมายถึง [อักสอน-] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คําตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ. - อัชฌาสัย
หมายถึง [-ไส] น. กิริยาดี; นิสัยใจคอ, ความรู้จักผ่อนปรน; ใช้ว่า อัชฌา ก็มี, (โบ) อัชฌาศัย. (ป.; ส. อธฺยาศย). - โอดครวญ
หมายถึง ก. รํ่าไห้, ครํ่าครวญ; รํ่ารําพัน.
คิดว่าน่าจะเต็มอิ่มกับคำในภาษาไทยทั้ง 50 คำกันไปแล้วเนอะ หวังว่าน่าจะพอมีประโยชน์ให้นำไปใช้ต่อในชีวิตประจำวันกัน
หากยังไม่เจอคำไหน หรือคิดว่ามีตกหล่นไป สามารถแจ้งแนะนำกันเข้ามาได้เลย