ค้นเจอ 7,675 รายการ

เวท

หมายถึง[เวด] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคม เมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).

เวท-

หมายถึง[เวทะ-] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคม เมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).

เพท

หมายถึงน. เวท.

อุปเวท

หมายถึง[อุปะเวด, อุบปะเวด] น. คัมภีร์ “พระเวทรอง” ของอินเดียโบราณ เนื้อหามีลักษณะเป็นวิทยาการ ไม่นับว่าเป็นคัมภีร์ศาสนา ได้แก่ อายุรเวท (วิชาแพทย์ ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์อถรรพเวทหรืออาถรรพเวท) ธนุรเวท (วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์ยชุรเวท) คันธรรพเวทหรือคานธรรพเวท (วิชาการดนตรี ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์สามเวท) และสถาปัตยเวท (วิชาการก่อสร้าง ไม่ระบุว่าเป็นสาขาของคัมภีร์พระเวทใด). (ส.).

คันธรรพเวท,คานธรรพเวท

หมายถึง[คันทันพะเวด, คันทับพะเวด, คานทันพะเวด, คานทับพะเวด] น. วิชาการดนตรี เป็นสาขาหนึ่งของสามเวท. (ส. คนฺธรฺวเวท).

จตุรเวท,จตุรเพท

หมายถึง[จะตุระเวด, จะตุระเพด] น. ชื่อคัมภีร์พระเวท ๔ คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ในยุคพระเวท คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท. (ดู เวท, เวท-).

สถาปัตยเวท

หมายถึง[สะถาปัดตะยะเวด] น. วิชาการก่อสร้าง เป็นสาขาหนึ่งของอุปเวท. (ส. สฺถาปตฺย + เวท). (ดู อุปเวท ประกอบ).

อถรรพเวท

หมายถึง[อะถับพะเวด, อะถันพะเวด] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๔ ของพระเวท ส่วนใหญ่ประพันธ์ขึ้นภายหลัง แต่มีบางบทที่เก่ามากซึ่งนำมาจากฤคเวทก็มี. (ส.). (ดู เวท, เวท- ประกอบ).

อาถรรพเวท

หมายถึง[อาถับพะเวด, อาถันพะเวด] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๔ ของพระเวท ส่วนใหญ่ประพันธ์ขึ้นภายหลัง แต่มีบางบทที่เก่ามากซึ่งนำมาจากฤคเวทก็มี. (ส.). (ดู เวท, เวท- ประกอบ).

สามเวท

หมายถึง[สามะเวด, สามมะเวด] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๓ ของพระเวท ประพันธ์เป็นฉันท์ ส่วนใหญ่คัดมาจากฤคเวท สำหรับขับในพิธีบูชาด้วยน้ำโสม. (ส.). (ดู เวท, เวท- ประกอบ).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๗ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น เช่น วัน วา ใช้ควบกล้ำกับพยัญชนะตัวอื่นบางตัว เช่น กว่า ความ และใช้เป็นตัวสะกดในแม่เกอว เช่น กล่าว นิ้ว.

ฤคเวท

หมายถึง[รึกคะเวด] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๑ ของพระเวท ใช้ภาษาสันสกฤตรุ่นเก่าที่สุด ประพันธ์เป็นฉันท์ มีอายุประมาณ ๕๐๐ ถึง ๑,๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาล, อิรุพเพท ก็ว่า. (ส.; ป. อิรุพฺเพท). (ดู เวท, เวท- ประกอบ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ