ตัวกรองผลการค้นหา
เชื่อม
หมายถึงว. มีอาการเงื่องเหงามึนซึมคล้ายเป็นไข้ เช่น เชื่อมซึม.
ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
คำสนธิ
คำสมาส: คำสมาสแบบคำสนธิ คืออะไร
หมายถึงก. ทำของหวานอย่างหนึ่ง โดยเอานํ้าตาลใส่นํ้าตั้งไฟเคี่ยวให้ละลาย แล้วใส่สิ่งที่ต้องการเคี่ยวจนได้ที่ เช่น เชื่อมกล้วย, เคี่ยวนํ้าตาลให้ใสเพื่อประสมกับสิ่งอื่น เช่น วุ้นนํ้าเชื่อม. ว. เรียกนํ้าหวานที่เอานํ้าตาลเคี่ยวให้ใสเพื่อใช้ประสมหรือเคี่ยวกับสิ่งอื่นว่า นํ้าเชื่อม; ใช้ประกอบคำ หวาน หมายความว่า หวานมาก เช่น ตาหวานเชื่อม.
หมายถึงก. ทำให้ติดเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น เชื่อมเหล็ก, ทำให้ประสานกัน เช่น เชื่อมสัมพันธไมตรี.
ผูก
หมายถึงก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทำให้มั่นหรือติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อหรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร, ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วยเรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน เช่น ผูกตลาด ผูกท่า; คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น เอาม้าผูกโคน เอาเรือผูกม้า; ขมวด เช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที. (นิ. นรินทร์); จอง เช่น ผูกเวร; ตรงข้ามกับ แก้. น. ลักษณนามเรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่ง ๆ ว่า คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง.
ผูกปิ่นโต
หมายถึงก. ว่าจ้างให้ทำอาหารใส่ปิ่นโตส่งให้ตามที่ตกลงกัน, (ปาก) ว่าปิ่นโต, กินปิ่นโต ก็ว่า.
ระรึง
หมายถึงก. ผูกแน่น.
บรรสาน
หมายถึง[บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสาน) ก. ทำให้ติดกัน, ทำให้สนิทกัน, เชื่อม, รัด, ผูกไว้.
ประสาน
หมายถึงก. ทำให้เข้ากันสนิท, เชื่อม.
ตระแบง
หมายถึง[ตฺระ-] ก. ผูกไขว้, ผูกบิด. (ข. ตฺรแบง ว่า ผูกไขว้ด้วยไม้ขันชะเนาะ).
เจ็บแค้น
หมายถึงก. ผูกใจเจ็บ.
จองเวร
หมายถึงก. ผูกอาฆาตพยาบาท.
จอง
หมายถึงก. ผูกไว้; มั่นหมายไว้, ขอกำหนดไว้, เช่น จองกฐิน จองที่. (ข. จง ว่า ผูก).