ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ทิพย,ทิพย-,ทิพย์, วิชชา, อภิญญา, อภิญญาณ, ทิพยโศรตร, ทิพโสต, เทวดา, เทวัญ, ทิพจักขุ, ทิพยจักษุ, ทิพยรส
หูทิพย์
หมายถึงน. หูที่จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด.
50 สำนวนสุภาษิตไทย
คำสมาส: คำสมาสแบบสมาส คืออะไร
สำนวนไทยพร้อมความหมาย
เสียมราฐ
อภิญญาณ
หมายถึง[อะพินยาน] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).
อภิญญา
หมายถึง[อะพินยา] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).
เทวัญ
หมายถึงน. พวกชาวสวรรค์ที่มีตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์.
ทิพยโศรตร
หมายถึง[ทิบพะโสด, ทิบพะยะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยโศฺรตฺร; ป. ทิพฺพโสต).
ทิพโสต
หมายถึง[ทิบพะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพโสต; ส. ทิพฺยโศฺรตฺร).
วิชชา
หมายถึง[วิด-] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
ทิพย,ทิพย-,ทิพย์
หมายถึง[ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่างเทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์, ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).
เทวดา
หมายถึง[เทวะ-] น. พวกชาวสวรรค์ที่มีตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์. (ป., ส. เทวตา).
ต่างหู
หมายถึงน. ตุ้มหู.
หู
หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทำหน้าที่สำหรับฟังเสียง; ส่วนแห่งสิ่งของที่ทำไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทำเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและกระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
ตาทิพย์
หมายถึงน. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด.