ค้นเจอ 355 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา นาย, นายตรวจ, สายตัว

สายตรวจ

หมายถึงน. เรียกผู้ตรวจผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยหรือความถูกระเบียบเป็นย่าน ๆ ไป เช่น สายตรวจสรรพสามิต ตำรวจสายตรวจ.

ตรวจ

หมายถึง[ตฺรวด] ก. พิจารณาดูความเรียบร้อย เช่น ตรวจพล ตรวจราชการ, พิจารณาดูว่าถูกหรือผิด ดีหรือร้าย เป็นต้น เช่น ตรวจบัญชี ตรวจแบบฝึกหัด ตรวจดวงชะตา, พิจารณาหาสมุฏฐาน เช่น ตรวจโรค, สำรวจ เช่น ตรวจพื้นที่. น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง.

ตรวจการ

หมายถึงก. ตรวจดูการงานให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย เช่น ชุดตรวจการ, ตรวจราชการ ก็ว่า.

สายดิ่ง

หมายถึงน. เชือกที่ปลายด้านหนึ่งผูกติดกับลูกดิ่งสำหรับวัดความลึกของน้ำหรือตรวจสอบเสาหรือกำแพงเป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่, เชือกที่ผูกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬา.

สายส่ง

หมายถึงน. ผู้ดำเนินกิจการเป็นตัวแทนในการส่งหนังสือหรือสินค้าอื่นให้แก่ผู้รับ.

สาย

หมายถึงน. เวลาระหว่างเช้ากับเที่ยงประมาณ ๙.๐๐ น. ถึง ๑๐.๐๐ น. เช่น พอสายก็ออกเดินทาง. ว. ช้ากว่าเวลาที่กำหนด, ล่าช้า, เช่น มาทำงานสาย, โดยปริยายหมายความว่า พ้นเวลาที่จะแก้ไข, สุดที่จะแก้ไขได้ เช่น เรื่องนี้ทำอะไรไม่ได้ สายเกินไปเสียแล้ว.

สาย

หมายถึงน. สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นเป็นแนวยาว เช่น สายสร้อย สายไฟฟ้า สายรุ้ง สายนาฬิกา สายเข็มขัด, ทาง, เส้นทาง, เช่น รถไฟสายเหนือ รถไฟสายใต้, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สายการบิน สายการเดินเรือ สายงาน; ญาติที่สืบมาจากต้นวงศ์หรือต้นสกุลเดียวกัน แล้วแยกเป็นสกุลย่อยออกไป; ผู้เข้าไปสืบความลับหรือความเคลื่อนไหวเป็นต้นของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น ระวังคนใช้เป็นสายให้โจร; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นแนวหรือเส้นยาวว่า สาย เช่น สายสะพาย ๒ สาย ทาง ๓ สาย.

ตรวจราชการ

หมายถึงก. ตรวจดูการงานให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย เช่น ผู้ตรวจราชการภาค, ตรวจการ ก็ว่า.

สายไฟฟ้า

หมายถึงน. เส้นโลหะตัวนำไฟฟ้า ใช้เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านอาจมีฉนวนหุ้มหรือไม่มีก็ได้, ถ้าไม่มีฉนวนหุ้มเรียก สายเปลือย.

สายสะดือ

หมายถึงน. ส่วนที่ต่อระหว่างรกกับสะดือเด็ก.

สายไหม

หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยน้ำตาลซึ่งใช้เครื่องปั่นจนเป็นเส้นฝอย ๆ คล้ายเส้นไหม ห่อด้วยแผ่นโรตีหรือแผ่นเปาะเปี๊ยะ, ถ้าห่อด้วยแผ่นโรตี เรียกว่า โรตีสายไหม.

ทางสายกลาง

หมายถึงน. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใดทางหนึ่ง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ