ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ผีเสื้อเมือง, พระเชื้อเมือง, เสื้อเมือง, เสื้อ
เสื้อเมือง
หมายถึงน. เทวดาที่รักษาบ้านเมือง, ผีเสื้อเมือง หรือ พระเสื้อเมือง ก็เรียก; (โบ) พระเชื้อเมือง.
คำไวพจน์ เมือง | คำคล้าย เมือง
เสียมราฐ
คำราชาศัพท์ - คําราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด กรรม
พระเสื้อเมือง
หมายถึงน. เทวดาที่รักษาบ้านเมือง, ผีเสื้อเมือง หรือ เสื้อเมือง ก็เรียก, (โบ) พระเชื้อเมือง.
ผีเสื้อเมือง
หมายถึงน. เทวดาที่รักษาบ้านเมือง, พระเสื้อเมือง หรือ เสื้อเมือง ก็เรียก, (โบ) พระเชื้อเมือง.
เสื้อ
หมายถึงน. เชื้อสาย; ผีหรืออมนุษย์จำพวกหนึ่ง เรียกเต็มว่า ผีเสื้อ, ถ้าอยู่ในนํ้า เรียกว่า ผีเสื้อนํ้า หรือ เสื้อนํ้า, ถ้าเป็นยักษ์ เรียกว่า ผีเสื้อยักษ์, ถ้าอยู่รักษาเมือง เรียกว่า ผีเสื้อเมือง เสื้อเมือง หรือ พระเสื้อเมือง.
พระเชื้อเมือง
หมายถึง(โบ) น. พระเสื้อเมือง, เทวดาที่รักษาบ้านเมือง.
หมายถึงน. เครื่องสวมกายท่อนบนทำด้วยผ้าเป็นต้น เรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น เสื้อกั๊ก เสื้อเชิ้ต.
เมือง
หมายถึงน. แดน เช่น เมืองมนุษย์ เมืองสวรรค์ เมืองบาดาล, ประเทศ เช่น เมืองไทย เมืองจีน เมืองลาว; (โบ) จังหวัด เช่น เมืองเชียงใหม่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองตราด; เขตซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในระดับจังหวัด ต่อมาถูกลดฐานะเป็นอำเภอ เช่น เมืองไชยา เมืองมีนบุรี เมืองขุขันธ์; เขตซึ่งเป็นที่ชุมนุมและเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ซึ่งในครั้งก่อน ถ้าเป็นเมืองใหญ่ หมายถึงเขตภายในกำแพงเมือง.
แม่อยั่วเมือง
หมายถึง(โบ) น. คำเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่ยั่วเมือง หรือ แม่หยั่วเมือง ก็มี.
อมราวดี
หมายถึงน. ชื่อเมืองของพระอินทร์. (ส. อมราวดี).
พระ
หมายถึง[พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
ธานินทร์
หมายถึง(กลอน) น. เมือง, เมืองใหญ่.
เสื้อกระบอก
หมายถึงน. เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง.