ตัวกรองผลการค้นหา
ฉายาลักษณ์
หมายถึง(ราชา) น. รูปถ่าย.
คำราชาศัพท์ - คําราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์
5 ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ วันชาติ วันเฉลิมพระชนมพรรษา รัชกาลที่ 9
คำราชาศัพท์ที่พบในพิธีราชาภิเษก
พิธีราชาภิเษก
บรม,บรม-
หมายถึง[บอรมมะ-] ว. อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นำหน้าคำที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ.
นามาภิไธย
หมายถึงน. ชื่อ (ใช้เฉพาะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนามาภิไธย เช่น ทรงลงพระนามาภิไธย.
รับสนองพระบรมราชโองการ
หมายถึงก. ลงนามที่จะปฏิบัติตามพระบรมราชโองการเพื่อให้เป็นพระบรมราชโองการที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ.
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
หมายถึงน. วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช.
เสด็จพระราชดำเนิน
หมายถึงก. ไป (ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี) เช่น เสด็จพระราชดำเนินโดยทางลาดพระบาท เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง.
ทราบฝ่าละอองพระบาท
หมายถึง(ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลสมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี).
ราชินูปถัมภ์
หมายถึงน. ความอุปถัมภ์ของพระราชินี ใช้ว่า พระบรมราชินูปถัมภ์.
สาทิสลักษณ์
หมายถึง(ราชา) น. ภาพเขียนเหมือนบุคคลจริง, ใช้ว่า พระบรมสาทิสลักษณ์ หรือ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์.
บังคม
หมายถึง(ราชา) ก. แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง ตามประเพณีไทย, ใช้ว่า ถวายบังคม. (ข.).
ราชเลขานุการ
หมายถึงน. ตำแหน่งเลขานุการในสมเด็จพระบรมราชินี.
น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย
หมายถึง(ราชา) ก. ถวาย (ใช้แก่ของที่ยกไม่ได้หรือนับไม่ได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), ในการเขียนใช้ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย หรือ น้อมเกล้าฯ ถวาย ก็ได้.