ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา สาธารณภัย, น้ำท่า
น้ำท่วมปาก
หมายถึง(สำ) ก. พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น.
คำศัพท์ในโรงพยาบาล
คำไวพจน์ น้ำ | คำคล้าย น้ำ
ตำนานนางนพมาศที่เกี่ยวข้องกับวันลอยกระทง
คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้ต่าง ๆ
ท่วม
หมายถึงก. ไหลหลาก บ่า หรือเอ่อท้นจนลบพื้นที่หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นํ้าท่วมทุ่ง นํ้าท่วมบ้าน, กลบ เช่น ทรายท่วมเท้า, ซาบซึมไปทั่ว เช่น เหงื่อท่วมตัว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนี้ท่วมตัว ความรู้ท่วมหัว.
สาธารณภัย
หมายถึงน. ภัยที่เกิดแก่คนหมู่มากอย่างไฟไหม้ น้ำท่วม เช่น หน่วยบรรเทาสาธารณภัย; (กฎ) อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันมีมาเป็นสาธารณะ ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ หรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ.
มิดน้ำ
หมายถึงว. อาการที่น้ำท่วมหัวเรือจนมิด เช่น หัวเรือมิดน้ำ.
น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง
หมายถึง(สำ) ก. พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย.
เล่าลือ
หมายถึงก. แพร่ข่าวกันแซ่ เช่น เขาเล่าลือกันว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่.
ให้น้ำ
หมายถึงก. ให้นักมวยหรือคู่ต่อสู้เป็นต้นหยุดพักเหนื่อยชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อให้ดื่มน้ำ เช็ดหน้า หรือเช็ดตัวเป็นต้น ก่อนจะลงมือสู้ในยกต่อไป.
มูนดิน
หมายถึงน. เนินดิน. ก. พูนให้เป็นเนินเป็นโคก เช่น มูนดินขึ้นกันน้ำท่วม.
น้ำ
หมายถึงน. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคำ นํ้าใจ นํ้าพักนํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้า ต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสงแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.
ภาว,ภาว-,ภาวะ
หมายถึง[พาวะ-] น. ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, เช่น ภาวะน้ำท่วม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ. (ป., ส.).
เลือดท่วมท้องช้าง
หมายถึงว. นองเลือด.
อัฏฐบาน
หมายถึง[-บาน] น. น้ำที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า น้ำกล้วยมีเม็ด น้ำกล้วยไม่มีเม็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น น้ำเหง้าอุบล น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฐบาน ก็มี.