คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้ต่าง ๆ

คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้ต่าง ๆ ประกอบด้วย หมวดเครื่องใช้ หมวดเครื่องใช้ภายในห้องอาหาร หมวดเครื่องใช้ภายในห้องอาบน้ำ หมวดเครื่องใช้ภายในห้องแต่งตัว หมวดเครื่องใช้ภายในห้องทำงาน

ภาษาไทยนั้นมีหลายเรื่องที่น่าสนใจให้เราได้ศึกษาและเรียนรู้ค้นคว้าอยู่เสมอหนึ่งในหลักของวิชาภาษาไทยนั้นก็คือคำราชาศัพท์

วันนี้เราจึงอยากพาทุกคนมาเรียนรู้คำราชาศัพท์ในหมวดเครื่องใช้ด้วยกัน

 

หลักการเรียนรู้คำราชาศัพท์นั้นไม่ใช่เรื่องยากบางคำเกิดจากการประสมคำที่เราคุ้นเป็นอย่างดีให้ได้เป็นคำราชาศัพท์หรือการเติมคำข้างหน้า มาดูกันเลยว่ามีคำเรียกสิ่งของแต่ละอย่างในคำราชาศัพท์ว่าอย่างไร

 

รวมคำราชาศัพท์ หมวดเครื่องใช้ต่าง ๆ

รวบรวมคำราชาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ แยกเป็นหลาย ๆ หมวด ดังนี้

 

คําราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้ภายในห้องนอน

  • พระวิสูตรหรือพระสูตร หมายถึง ม่านหรือมุ้ง
  • พระเขนย หมายถึง หมอน
  • พระทวาร หมายถึง ประตู
  • พระบัญชร หมายถึง หน้าต่าง
  • พระแท่นบรรทม หมายถึง เตียงนอน
  • ผ้าคลุมบรรทม หมายถึง
  • ผ้าห่มนอน พระยี่ภู่ หมายถึง ฟูก
  • ลาดพระบาท หมายถึง พรมทางเดิน

 

คำราชาศัพท์ หมวดเครื่องใช้ภายในห้องอาหาร

  • พระสุวรรณภิงคาร หมายถึง หม้อน้ำทำด้วยทองคำรูปคนโทน้ำ
  • พระตะพาบ, พระเต้า (คนโท) หมายถึง คนโทน้ำ
  • ฉลองพระหัตถ์ช้อน หมายถึง ช้อน
  • ฉลองพระหัตถ์ส้อม หมายถึง ส้อม
  • ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ หมายถึง ตะเกียบ
  • แก้วน้ำเสวย หมายถึง แก้วน้ำ
  • ชามเครื่องต้น, ถ้วยชามเครื่องต้น หมายถึง ถ้วยชาม
  • จานเครื่องต้น หมายถึง จาน
  • มีดคาว, มีดหวาน, มีดผลไม้ หมายถึง มีด
  • ที่พระสุธารส หมายถึง ชุดเครื่องน้ำร้อน น้ำเย็น
  • ถาดพระสุธารส หมายถึง ถาดน้ำชา
  • พระสุพรรณภาชน์ หมายถึง โต๊ะทองคำสำหรับตั้งสำรับคาวหวาน
  • พระสุพรรณศรี หมายถึง กระโถนเล็ก
  • พระสุพรรณราช หมายถึง กระโถนใหญ่
  • พระทวย หมายถึง คันทวยสำหรับรองรับกระโถน หรือรับพระภูษาโยง
  • บ้วนพระโอษฐ์ หมายถึง กระโถน
  • โต๊ะเสวย หมายถึง โต๊ะรับประทานอาหาร
  • ผ้าเช็ดพระหัตถ์ หมายถึง ผ้าเช็ดมือ
  • ชามชำระพระหัตถ์ หมายถึง ชามล้างมือ
  • พระมังสี หมายถึง พานรองสังข์ จอกหมาก

 

คำราชาศัพท์ หมวดเครื่องใช้ภายในห้องอาบน้ำ

  • พระแสงกรรบิด หมายถึง มีดโกน
  • พระภูษาชุบสรง หมายถึง ผ้าอาบน้ำ
  • ซับพระองค์ หมายถึง ผ้าเช็ดตัว
  • ซับพระพักตร์ หมายถึง ผ้าเช็ดหน้า
  • อ่างสรง หมายถึง อ่างอาบน้ำ

 

คำราชาศัพท์ หมวดเครื่องใช้ภายในห้องแต่งตัว

  • พระสาง หมายถึง หวี
  • ผ้าพันพระศอ หมายถึง ผ้าพันคอ
  • พระภูษา หมายถึง ผ้านุ่ง
  • ฉลองพระองค์ หมายถึง เสื้อ
  • นาฬิกาข้อพระหัตถ์ หมายถึง นาฬิกาข้อมือ
  • พระฉาย หมายถึง กระจกส่อง
  • เครื่องพระสุคนธ์ หมายถึง เครื่องหอม เช่น น้ำหอม แป้งผัดหน้า
  • เครื่องพระสำอาง หมายถึง เครื่องประทินผิวหรือเครื่องสำอาง
  • ธารพระกร หมายถึง ไม้เท้า
  • กระเป๋าทรง หมายถึง กระเป๋าถือ
  • รัดพระองค์ หมายถึง เข็มขัด
  • พระปั้นเหน่ง หมายถึง หัวเข็มขัด
  • พระกุณฑลพาน หมายถึง ต่างหู
  • พระจุฑามณี หมายถึง ปิ่น
  • พระสนับเพลา หมายถึง กางเกง
  • พระกรรเจียก หมายถึง จอนหู
  • เกยูร หมายถึง สร้อยอ่อน, ทองต้นแขน
  • สร้อยพระศอ หมายถึง สร้อยคอ
  • พระมหาสังวาล หมายถึง สร้อยตัว, สร้อยยาวสวมสะพายแล่ง
  • ทองพระกร, พระกำไล, พระวลัย หมายถึง กำไล
  • พาหุรัด หมายถึง กำไลต้นแขน
  • สร้อยข้อพระหัตถ์, พระวลัย หมายถึง สร้อยข้อมือ
  • พระกำไลหยก หมายถึง กำไลหยก
  • กำไลข้อพระบาท, ทองพระบาท หมายถึง กำไลข้อเท้า
  • พระธำมรงค์ หมายถึง แหวน
  • พระมาลา หมายถึง หมวก
  • พระกรต หมายถึง ร่ม

 

คำราชาศัพท์ หมวดเครื่องใช้ภายในห้องทำงาน

  • พระราชอาสน์ หมายถึง ที่นั่ง
  • โต๊ะทรงพระอักษร หมายถึง โต๊ะเขียนหนังสือ
  • พระราชหัตถเลขา หมายถึง จดหมาย
  • ฉลองพระเนตร หมายถึง แว่นตา
  • พระที่นั่งเก้าอี้หรือเก้าอี้ประทับ หมายถึง เก้าอี้นั่ง
  • พระเขนย หมายถึง หมอนหนุน
  • พระแสงปนาค หมายถึง กรรไกร
  • พระราชโทรเลข หมายถึง โทรเลข

 

 

ดูเพิ่มเติม คำราชาศัพท์ หมวดเครื่องใช้ทั่วไป

 

หลายคนอาจจะมองว่าคำราชาศัพท์เป็นสิ่งไกลตัวคงไม่มีโอกาสได้ใช้ความคิดนี้ผิดอย่างมากเนื่องจากเราเป็นคนไทยอยู่ภายใต้ร่มพระบารมี สักครั้งหนึ่งในชีวิตอาจมีเหตุให้ได้ใช้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

การเรียนรู้ไว้ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายเพื่อประโยชน์แก่ตัวเราเองลองตั้งใจเรียนรู้แล้วจะรู้ว่าคำราชาศัพท์นั้นเป็นเรื่องง่ายนิดเดียว


ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับคำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์ คืออะไร รวมคำราชาศัพท์ทุกหมวด พร้อมความหมายคำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ ไม่ใช่แค่กับพระมหากษัตริย์นะ
ชอบเนื้อหาชุดนี้ กดให้คะแนน 5 ดาวกับเราได้เลยจ้า
จำนวนผู้ให้คะแนน: 4   คะแนนเฉลี่ย: 3.2
 แสดงความคิดเห็น