ตัวกรองผลการค้นหา
นิรันดร,นิรันตร,นิรันตร-
หมายถึง[-รันดอน, -รันตะระ-] ว. ตลอดไปไม่เว้นว่าง, ติดต่อกันตลอดไป. (ป.).
ระดับภาษาและลักษณะการใช้
สาร,สาร,สาร-,สาร-
หมายถึง[สาน, สาระ-] น. แก่น, เนื้อแท้, มักใช้เข้าคู่กับคำ แก่น เป็น แก่นสาร; ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น กล่าวสาร สื่อสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร วารสาร, จดหมาย เช่น เขียนสาร สารของนายกรัฐมนตรีถึงเยาวชน. (ป., ส.).
วารสาร
หมายถึงน. หนังสือที่ออกตามกำหนดเวลา เช่น วารสารราชบัณฑิตยสถาน วารสารศิลปากร วารสารกรมการแพทย์.
อนุตร,อนุตร-
หมายถึง[อะนุดตะระ-] ว. ไม่มีสิ่งใดสูงกว่า, ดีเลิศ, ยิ่ง, วิเศษ เช่น อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ. (ป., ส. อนุตฺตร).
สาร,สาร-,สาร-
หมายถึง[สาระ-] คำประกอบหน้าคำ แปลว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุก, เช่น สารทิศ ว่า ทุกทิศ, สารทุกข์ ว่า ทุกข์ทั้งหมด, สารเลว ว่า เลวทั้งสิ้น. (เลือนมาจาก สรฺว ในสันสกฤต เช่น สรฺวงฺค เป็น สารพางค์ หรือ สรรพางค์).
พักตร,พักตร-,พักตร์
หมายถึง[พักตฺระ-] (ราชา) น. หน้า, ใช้ว่า พระพักตร์. (ส. วกฺตฺร).
ตรรก,ตรรก-,ตรรกะ
หมายถึง[ตักกะ] (แบบ) น. ความตรึก, ความคิด. (ส. ตรฺก; ป. ตกฺก).
ยันตร,ยันตร-,ยันตร์
หมายถึง[ยันตฺระ-, ยัน] น. ยนตร์. (ส.; ป. ยนฺต).
อุตดร,อุตร,อุตร-
หมายถึง[อุดดอน, อุดตะระ-] น. อุดร. (ป., ส. อุตฺตร).
นิ
หมายถึง(โบ) ใช้เสริมคำให้พยางค์สละสลวยขึ้น เช่น สนุกนิ สำนักนิ.
สาร
หมายถึงน. ช้างใหญ่ ใช้ว่า ช้างสาร.
หมายถึงน. ข้าวที่สีหรือตำเอาเปลือกออกแล้ว เรียกว่า ข้าวสาร.