ระดับภาษาและลักษณะการใช้

การใช้ภาษาไทยจะมีการใช้ตามระดับของภาษา ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการใช้ภาษาที่มีความสำคัญ เนื่องจากระดับของภาษาไทยมีความแตกต่างกันหลายระดับ โดยจะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้สงสารและผู้รับสาร โอกาส และกาลเทศะ เพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล จึงควรคำนึงถึงระดับของภาษา ซึ่งมีการแบ่งระดับภาษาไว้หลากหลายแบบ ในวันนี้จะขออธิบายการแบ่งระดับของภาษาไทยเป็น2ระดับหลักและระดับย่อยใน2ระดับนั้น ดังนี้

การใช้ภาษาไทยจะมีการใช้ตามระดับของภาษา ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการใช้ภาษาที่มีความสำคัญ เนื่องจากระดับของภาษาไทยมีความแตกต่างกันหลายระดับ โดยจะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้สงสารและผู้รับสาร โอกาส และกาลเทศะ เพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล จึงควรคำนึงถึงระดับของภาษา ซึ่งมีการแบ่งระดับภาษาไว้หลากหลายแบบ

 

ระดับภาษาและลักษณะการใช้

ในวันนี้จะขออธิบายการแบ่งระดับของภาษาไทยเป็น2ระดับหลักและระดับย่อยใน2ระดับนั้น ดังนี้

1. ภาษาแบบเป็นทางการ

ภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการมีลักษณะเป็นพิธีการ ถูกต้องตามแบบแผนของภาษาเขียน  แบ่งออกเป็น

1.1 ภาษาระดับพิธีการ ภาษาที่ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ เช่น ในงานพระราชพิธี การเปิดประชุมรัฐสภา การกล่าวปราศรัย การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตร การกล่าวสดุดีหรือการกล่าวเพื่อจรรโลงใจ สามารถสังเกตได้จากผู้ส่งสารจะเป็นบุคคลสำคัญหรือมีตำแหน่งสูงในวงการนั้น ผู้รับสารส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลในวงการเดียวกันกับผู้ส่งสารหรือกลุ่มชนส่วนใหญ่ ความสัมพันธ์ของผู้ส่งสารและผู้รับสารเป็นแบบทางการ ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารจะเป็นผู้กล่าวเพียงฝ่ายเดียว มีการใช้คำระดับสูง มีความไพเราะ งดงาม ผู้ส่งสารต้องเตรียมบทกล่าวมาล่วงหน้า และใช้วิธีการอ่านต่อหน้าที่ประชุม

1.2 ภาษาระดับมาตรฐานราชการ หรือ อาจเรียกว่า ภาษาทางการ / ภาษาราชการ เป็นภาษาที่ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมหรือในงานการเขียนทางวิชาการ เรียงความ บทความวิชาการ หนังสือราชการ บทวิจารณ์ คำนำหนังสือ เป็นต้น สามารถสังเกตได้จากผู้ส่งสารและผู้รับสารจะเป็นบุคคลในวงการเดียวกันที่มีหน้าที่ในวงการนั้น มีความสัมพันธ์กันในด้านการงาน มีการโต้ตอบกันได้ ใช้ภาษาแบบตรงไปตรงมา เพื่อให้เข้าสู่จุดประสงค์ที่ต้องการอย่างรวดเร็ว

 

2. ภาษาแบบไม่เป็นทางการ

ภาษาที่ไม่เคร่งครัดตามแบบแผน มักใช้ในการสื่อสารทั่วไปในชีวิตประจำวัน หรือ โอกาสทั่วไปที่ไม่เป็นทางการ แบ่งเป็น

2.1 ภาษาระดับกึ่งทางการ  เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารในการประชุมกลุ่มเล็ก มีการโต้ตอบหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พบได้จากการประชุมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน ข่าวหรือบทความในหนังสือพิมพ์ การเขียนสารคดีท่องเที่ยว สังเกตได้จากการใช้รูปประโยคอย่างง่ายไม่ซับซ้อน แต่ยังคงความสุภาพ เนื้อหาของสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป

2.2 ภาษาระดับสนทนา หรือภาษาระดับไม่เป็นทางการ  เป็นภาษาที่ใช้สนทนาโต้ตอบกับบุคคลที่รู้จักในสถานทหรือเวลาที่ไม่เป็นการส่วนตัว หรือสนทนากับบุคคลที่ยังไม่คุ้นเคย รวมทั้งใช้เจรจาซื้อขายทั่วไป และการประชุมที่ไม่เป็นทางการ ภาษาที่ใช้มักมีรูปประโยคง่ายๆ ที่สามารถเข้าใจทันที แต่ยังคงความสุภาพ พบในการรายงานข่าว การเขียนนวนิยาย บทละคร บทภาพยนตร์ การเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน ภาษาที่ใช้ในการรายงานข่าวโทรทัศน์ การเจรจาในเชิงธุระทั่วไป เป็นต้น

2.3 ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปาก  เป็นภาษาพูดที่ใช้สนทนากับบุคคลที่สนิทคุ้นเคยกัน เช่น ในกลุ่มเพื่อน ครอบครัว มักพูดในสถานที่ส่วนตัว ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร สังเกตได้จากความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารมีความใกล้ชิดสนิทสนมกัน อาจมีภาษาถิ่นหรือคำคะนอง   การใช้ภาษาผิดระดับย่อมก่อให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร ผู้รับสารอาจเห็นว่าผู้ส่งสารไม่รู้จักกาลเทศะขาดความจริงใจ เสแสร้ง  การแบ่งภาษาออกเป็นระดับต่างๆ นั้นมิได้แบ่งกันอย่างเด็ดขาด ภาษาระดับหนึ่งอาจเหลื่อมล้ำกับภาษาอีกระดับหนึ่ง หรือใช้ปะปนกันได้ การพิจารณาระดับภาษาอาจต้องพิจารณาจากข้อความโดยรวมในการสื่อสารนั้น เมื่อทุกคนได้ศึกษาก็จะสามารถแยกระดับของภาษาออกได้ไม่ยากแล้วพบกันใหม่สำหรับบทความดีๆครั้งหน้าครับ


ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับคำในภาษาไทย

พจนานุกรมไทยแปลไทย หาความหมายของคำภาษาไทย พร้อมคำอ่านพจนานุกรมภาษาไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลคำศัพท์ ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย มีหมวดหมู่

 หมวดหมู่ ภาษาไทย
ชอบเนื้อหาชุดนี้ กดให้คะแนน 5 ดาวกับเราได้เลยจ้า
 แสดงความคิดเห็น