ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ตุ้มหู, ผิด, หาก, เปสการ, บ้องหู, อัญ,อัญ-,อัญญะ, อันตร,อันตร-, ล้างหู, โศรตร, ไพพรรณ, ต่างหาก
ต่างหู
หมายถึงน. ตุ้มหู.
50 สำนวนสุภาษิตไทย
คำสมาส: คำสมาสแบบสมาส คืออะไร
สำนวนไทยพร้อมความหมาย
เสียมราฐ
ตุ้มหู
หมายถึงน. เครื่องประดับหู, ต่างหู.
หู
หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทำหน้าที่สำหรับฟังเสียง; ส่วนแห่งสิ่งของที่ทำไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทำเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและกระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
หูฝาด,หูเฝื่อน
หมายถึงก. ได้ยินเสียงเพี้ยนไป.
ขัดหู
หมายถึงก. ฟังไม่ถูกหู, ฟังไม่เพราะหู.
หูลี่
หมายถึงว. อาการที่หูของหมาลู่เอนไปข้างหลังแสดงอาการประจบหรือกลัวเป็นต้น.
หูแว่ว
หมายถึงก. ได้ยินเสียงแผ่ว ๆ ไม่ชัดเจน; ได้ยินไปเอง.
หูหนัก
หมายถึงว. ไม่เชื่อคำป้อยอหรือยุแหย่เป็นต้นของใครง่าย ๆ.
ให้หูให้ตา
หมายถึงก. แสดงท่าทีให้ทราบด้วยสีหน้าและสายตาว่าพอใจใคร่สืบความสัมพันธ์ต่อไป (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น กุลสตรีไม่ควรให้หูให้ตาใคร ๆ.
ร้อนหู
หมายถึงก. เดือดร้อนเพราะได้ยินได้ฟังเรื่องราวที่ทำให้ไม่สบายใจ.
หูกะพง
หมายถึงน. ชื่อเงื่อนแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายรูปเลข 8 อาระบิก ใช้ผูกตัวไม้บางตัวในเรือนเครื่องผูกให้ติดกันเป็นต้น.
หูเข้าพรรษา
หมายถึงว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.