ตัวกรองผลการค้นหา
ดนตรี
หมายถึงน. เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง, เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ได้ตามทำนองเพลง. (ส. ตนฺตฺรินฺ).
อักษรย่อชื่อเดือนทั้ง 12 เดือน
คำไทยที่มักอ่านผิด
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด สร้างตัว
คำควบกล้ำไม่แท้ 40 คำ
หัสดนตรี
หมายถึงน. วงดนตรีสากลซึ่งบรรเลงในงานรื่นเริง.
ดนตรีกรรม
หมายถึง(กฎ) น. งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว.
ตัว
หมายถึงน. รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม.
ต่อตัว
หมายถึงก. อาการที่คนหนึ่งขึ้นไปยืนบนบ่าของอีกคนหนึ่ง เช่น ต่อตัวปีนกำแพง. น. ชื่อการแสดงกายกรรมแบบหนึ่งที่ผู้แสดงคนหนึ่งหรือหลายคนขึ้นไปยืนเลี้ยงตัวบนตัวของผู้แสดงอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นหลักเป็นต้น.
หมายถึง(คณิต) น. เรียกเลขในวิธีทำว่า ตัว เช่น ตัวบวก ตัวลบ ตัวคูณ ตัวหาร.
เป็นตัว
หมายถึงว. เรียกข้าวสารเมล็ดงามไม่ค่อยหักว่า ข้าวเป็นตัว, เรียกข้าวสวยหรือข้าวต้มที่ยังคงรูปเป็นเมล็ดอยู่ว่า ข้าวสวยเป็นตัว ข้าวต้มเป็นตัว; ข้าวสารหรือเมล็ดถั่วเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ จนมีตัวมอดว่า ข้าวเป็นตัว ถั่วเป็นตัว. ก. มีชีวิตอยู่ เช่น จะจากเจ้าเหมือนดังว่าวขาดลมลอย อย่าหมายคอยเลยว่าเมียจะเป็นตัว. (ขุนช้างขุนแผน).
วาทกะ
หมายถึง[วาทะกะ] น. ผู้ประโคม, ผู้บรรเลงดนตรี, นักดนตรี. (ส.).
คนธรรพศาสตร์
หมายถึง[คนทับพะ-] น. วิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺวเวท ว่า วิชาดนตรี).
วาทิต
หมายถึงน. สังคีต, ดนตรี; ผู้บรรเลงดนตรี. (ป. วาทิต, วาทิตฺต; ส. วาทิต, วาทิตฺร).
ทะนงตัว
หมายถึงก. ถือดีในตัวของตัว.
วาทิน
หมายถึงน. คนเล่นดนตรี. (ดู วาที).