คำควบกล้ำไม่แท้ 40 คำ
ดังที่ทราบกันดีว่าในภาษาไทยจะมีคำควบกล้ำสองลักษณะ คือ คำควบกล้ำแท้ และคำควบกล้ำไม่แท้ ซึ่งสร้างความสับสนให้กับหลายคนว่าแล้วคำไหนต้องอ่านอย่างไร ต้องออกเสียงควบกล้ำด้วยหรือไม่
วันนี้เราได้หาคำตอบมาไว้ให้แล้ว โดยเป็นตัวอย่างคำที่มีตัวควบกล้ำแต่ไม่ต้องออกเสียงตัวควบกล้ำ หรือที่เราเรียกว่าคำควบไม่แท้ แต่ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าคำควบไม่แท้คืออะไร
คำควบกล้ำไม่แท้ หรือ คำควบไม่แท้
คำควบกล้ำไม่แท้ คือ คำที่พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร จะออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้าหรือมิฉะนั้นก็ออกเสียงเป็นเสียงอื่นไป
คำควบกล้ำไม่แท้ 40 คำ
1. คำที่มีพยัญชนะต้น จ ซ ศ ส ควบกับ ร แต่จะออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า ไม่ออกเสียง /ร/ เช่น
- จริง อ่านว่า จิง
- ไซร้ อ่านว่า ไซ้
- ปราศรัย อ่านว่า ปฺรา-ไส
- ศรัทธา อ่านว่า สัด-ทา
- ศรี อ่านว่า สี
- เศรษฐี อ่านว่า เสด-ถี
- เศร้า อ่านว่า เส้า
- สรง อ่านว่า สง
- สรรเสริญ อ่านว่า สัน-เสิน
- สร้อย อ่านว่า ส้อย
- สระ อ่านว่า สะ
- สร่าง อ่านว่า ส่าง
- สร้าง อ่านว่า ส้าง
- เสร็จ อ่านว่า เส็ด
- เสริฐ อ่านว่า เสิด
- เสริม อ่านว่า เสิม
- แสร้ง อ่านว่า แส้ง
- อาศรม อ่านว่า อา-สม
- กำสรด อ่านว่า กำ-สด
- กำสรวล อ่านว่า กำ-สวน
2. คำที่มีพยัญชนะต้น ท ควบกับ ร แล้วออกเสียงเป็น /ซ/ เช่น
- ฉะเชิงเทรา อ่านว่า ฉะ-เชิง-เซา
- ต้นไทร อ่านว่า ต้น-ไซ
- ทรง อ่านว่า ซง
- ทรวง อ่านว่า ซวง
- ทรวด อ่านว่า ซวด
- ทรัพย์ อ่านว่า ซับ
- ทรอ อ่านว่า ซอ
- ทราบ อ่านว่า ซาบ
- ทราม อ่านว่า ซาม
- ทราย อ่านว่า ซาย
- ทรุด อ่านว่า ซุด
- เทริด อ่านว่า เซิด
- แทรก อ่านว่า แซก
- โทรม อ่านว่า โซม
- ไทร อ่านว่า ไซ
- นนทรี อ่านว่า นน-ซี
- พุทรา อ่านว่า พุด-ซา
- มัทรี อ่านว่า มัด-ซี
- อินทรี อ่านว่า อิน-ซี
- อินทรีย์ อ่านว่า อิน-ซี
*** นอกเหนือจากนี้ คำ ทร ควบกล้ำกันที่เป็นคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต จะออกเสียง /ทร/ เช่น อินทรา จันทรา นิทรา เป็นต้น
คำควบกล้ำไม่แท้ 40 คำ ไฟล์ PDF
PDF – คำควบกล้ำไม่แท้ 40 คำ
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลน่าสนใจ
คำควบกล้ำไม่แท้ คืออะไร?
คำควบกล้ำไม่แท้ คือ คำควบที่ออกเสียงแต่พยัญชนะต้นตัวหน้าตัวเดียวบ้าง ออกเสียงกลายเป็นตัวอื่นไปบ้าง มี 2 ลักษณะ ไม่ออกเสียง /ร/ หรือ ออกเสียง /ซ/