ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ขบูร,ขบวร, กบูร, บวร,บวร-
บวร,บวร-
หมายถึง[บอวอน, บอวอระ-] (แบบ) ว. ประเสริฐ, ลํ้าเลิศ, ราชาศัพท์ใช้นำหน้าคำนามที่เกี่ยวกับวังหน้า เช่น บวรวงศ์ คู่กับ บรม ซึ่งใช้กับวังหลวง เช่น บรมวงศ์. (ป. ปวร; ส. ปฺรวร).
สุภาษิตไทยเกี่ยวกับการเมือง
พิธีราชาภิเษก
คำราชาศัพท์ที่พบในพิธีราชาภิเษก
ณ
หมายถึง[นะ] บ. ใน, ที่, เป็นคำบ่งเวลาหรือสถานที่ว่า ตรงนั้นตรงนี้, ถ้าใช้นำหน้าสกุล หมายความว่า แห่ง เช่น ณ อยุธยา ณ ระนอง.
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๙ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กนในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น คุณ บัณฑิต.
วารณ,วารณ-
หมายถึง[วาระนะ-] น. ช้าง. (ป., ส.).
สาณ,สาณ-
หมายถึง[สานะ-] น. ผ้าหยาบ, ผ้าป่าน. (ป.; ส. ศาณ).
กัลยาณ,กัลยาณ-
หมายถึง[กันละยานะ-] ว. งาม, ดี, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น กัลยาณคุณ = คุณอันงาม กัลยาณธรรม = ธรรมอันดี กัลยาณมิตร = มิตรดี. (ป., ส.).
บูรณ,บูรณ-,บูรณ์
หมายถึง[บูระนะ-, บูน] ว. เต็ม. (ป., ส. ปูรณ).
สรณ,สรณ-,สรณะ
หมายถึง[สะระนะ-] น. ที่พึ่ง, ที่ระลึก; ความระลึก. (ป.; ส. ศรณ).
คณ,คณ-,คณะ
หมายถึง[คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
วณ,วณ-,วณะ
หมายถึง[วะนะ-] น. แผล, ฝี. (ป.; ส. วฺรณ).
วิเศษณ,วิเศษณ-,วิเศษณ์
หมายถึง[วิเสสะนะ-, วิเสด] (ไว) น. คำจำพวกหนึ่งที่แต่งหรือขยายคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณเป็นต้น เช่น คนดี นํ้ามาก ทำดี ดีมาก. (ส.).
ปาณ,ปาณ-,ปาณะ
หมายถึง[-นะ] น. ลมหายใจ; สัตว์มีชีวิต, ชีวิต. (ป.; ส. ปฺราณ).