ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ล้อแบบ, ลอก, ต้นแบบ
ซ้ำ
หมายถึงว. มีหรือทำอย่างเดียวกันอีกครั้งหนึ่งหรือหลาย ๆ ครั้ง เช่น พูดซํ้า ตีซํ้า.
คำซ้ำ (Reduplication)
คำสรรพนาม
คำไทยโบราณที่ไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ทำซ้ำ
หมายถึง(กฎ) ก. คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพจากต้นฉบับ หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
ฉายซ้ำ
หมายถึง(ปาก) ก. กระทำซ้ำ ๆ เช่น เขามักฉายซ้ำเรื่องเก่า ๆ.
มิหนำซ้ำ
หมายถึงว. เท่านี้ยังไม่เพียงพอ, หนักยิ่งไปกว่านั้นอีก, เช่น ตัดเท้าตัดกรแล้วมิหนำ ซ้ำฆ่าสุริย์วงศ์ยักษี. (รามเกียรติ์).
เสียกำซ้ำกอบ,เสียกำแล้วซ้ำกอบ
หมายถึง(สำ) ก. เสียน้อยแล้วยังจะต้องเสียมากอีก เช่น พระองค์ช่างเชื่อฟังคำคนชั่วโฉด ชาวเมืองมันกล่าวโทษพลอยโกรธตอบ เสียกำแล้วจะซ้ำกอบกระมังหนา. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
ครุ่นคิด
หมายถึงก. คิดซ้ำ ๆ ซาก ๆ.
เราะสะเก็ด
หมายถึงก. เฆี่ยนซ้ำที่เดิม เช่น ถ้าทำผิดอีก จะถูกเราะสะเก็ด.
สัมผัสนอก
หมายถึงน. สัมผัสนอกวรรคหรือระหว่างวรรคตามข้อบังคับแห่งฉันทลักษณ์ซึ่งเป็นสัมผัสสระและไม่ซ้ำเป็นคำเดียวกัน
เมื่อยปาก
หมายถึงก. อาการที่พูดซ้ำ ๆ มาหลายครั้งหรือนานจนไม่อยากพูดอีก.
เวียน
หมายถึงก. อาการที่ของสิ่งหนึ่งเคลื่อนไหวไปรอบ ๆ ของอีกสิ่งหนึ่ง เช่น เดินเวียนรอบบ้าน; อาการที่ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่น เวียนรับเวียนส่ง เวียนไปเวียนมา.
แล้วไม่รู้จักแล้ว,แล้วไม่รู้แล้ว
หมายถึงว. ซ้ำ ๆ ซาก ๆ, ร่ำรี้ร่ำไร, เช่น พูดแล้วไม่รู้จักแล้ว บ่นอยู่นั่นแหละ แล้วไม่รู้แล้ว.
หยำเหยอะ,หยำแหยะ
หมายถึง[หฺยำเหฺยอะ, หฺยำแหฺยะ] ว. อาการที่เคี้ยวซ้ำ ๆ น่ารังเกียจ, อาการที่พูดซ้ำซากน่าเบื่อ.