ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เพ่ง, เบิ่ง, เฝ้า, เขม้น, บ้องหู, ต้องเต, จ้องเต, ทาม, ยล, ชระเมียง, แยงยล
จ้อง
หมายถึงก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอยจนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทำร้าย จ้องจะแทง, กิริยาที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
"สะเหล่อ" กับ "เสร่อ" คำไหนที่ถูกต้อง
คำในภาษาไทยที่อ่านได้สองแบบ
คำราชาศัพท์ หมวดเครือญาติ
สัปดาห์ อ่านว่าอย่างไร
กระจองหง่อง,กระจ๋องหง่อง
หมายถึงว. อาการที่นั่งยอง ๆ จ้องดู.
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ร่ม. (อนันตวิภาค ว่า จ่อง).
เฝ้า
หมายถึงก. ระวังดูแล, รักษา, เช่น เฝ้าไข้ เฝ้าขโมย เฝ้าบ้าน; มุ่งทำแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เฝ้าถาม เฝ้าแต่ร้องไห้; จ้องดู, คอยดู, เช่น นั่งเฝ้าโทรทัศน์ตลอดวัน; (ราชา) ไปพบ, ไปหา, เช่น เฝ้าเจ้านาย.
เขม้น
หมายถึง[ขะเม่น] ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าวบางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้. (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ. (ปรัดเล).
เพ่ง
หมายถึงก. จ้องดู, เล็งดู, (ใช้แก่ตา) เช่น เพ่งสายตา เพ่งหนังสือ; มุ่งเฉพาะอารมณ์ภายใน (ทางใจ) เช่น เพ่งกสิณ; เจาะจง.
เบิ่ง
หมายถึงก. จ้องดู, แหงนหน้าดู, เช่น ควายเบิ่ง.
สนทรรศน์
หมายถึง[-ทัด] น. การดู, การจ้องดู, การแลเห็น. (ส. สํ + ทรฺศน).
ขึงตา
หมายถึงก. จ้องดูอย่างเขม็งด้วยอาการโกรธ หรือด้วยประสงค์จะห้าม.
ตาเป็นมัน
หมายถึง(สำ) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ.
ชิงไหวชิงพริบ
หมายถึงก. ฉวยโอกาสโดยใช้ไหวพริบ, คอยจ้องดูชั้นเชิงของอีกฝ่ายหนึ่ง.
ดู
หมายถึงก. ใช้สายตาเพื่อให้เห็น เช่น ดูภาพ ดูละคร, ระวังรักษา เช่น ดูบ้านให้ด้วย ไม่มีคนดูเด็ก, พินิจพิจารณา เช่น ดูให้ดี, ศึกษาเล่าเรียน เช่น ดูหนังสือ, เห็นจะ เช่น ดูจะเกินไปละ, ทำนาย เช่น ดูโชคชะตาราศี, ใช้ประกอบกริยา เพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์แจ้ง เช่น คิดดูให้ดี ลองกินดู.