ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา กุณโฑ, คนโท
คำโท
หมายถึง(ฉันทลักษณ์) น. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่าคำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น ข้า คว้า แล้ว.
คำสมาส: คำสมาสแบบคำสนธิ คืออะไร
คำไวพจน์ แผ่นดิน | คำคล้าย แผ่นดิน
คำไวพจน์ ไฟ - คำคล้าย ไฟ
คำไวพจน์ ดอกบัว | คำคล้าย ดอกบัว
โท
หมายถึงว. สอง, ชั้นที่ ๒ (ใช้เกี่ยวกับลำดับชั้นหรือขั้นของยศ ตำแหน่ง คุณภาพ หรือ วิทยฐานะ ตํ่ากว่าเอก สูงกว่าตรี) เช่น ร้อยโท ข้าราชการชั้นโท ปริญญาโท; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ้ ว่า ไม้โท. (ป. ทุ, ทฺวิ; ส. ทฺวิ).
โทส-
หมายถึงน. ความโกรธ, ความฉุนเฉียว. (ป.; ส. โทษ).
โทส
มหาบัณฑิต
หมายถึงน. ปริญญาโท; ผู้ได้รับปริญญาโท.
เสาโท
หมายถึงน. เสาเรือนที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเสาเอก.
โทสจริต
หมายถึง[โทสะจะหฺริด] น. ความประพฤติที่มีพื้นนิสัยหนักไปในทางใจร้อน หงุดหงิด โกรธง่าย, เป็นจริต ๑ ในจริต ๖ (ป.). จริต
โทง ๆ
หมายถึงว. อาการที่เดินหรือวิ่งโย่ง ๆ ไปในที่โล่ง (มักใช้แก่ผู้เปลือยกาย) เช่น เด็กแก้ผ้าวิ่งโทง ๆ.
โคลง
หมายถึง[โคฺลง] น. คำประพันธ์ประเภทหนึ่ง มีจำนวนคำในวรรคสัมผัสและบังคับเอกโทตามตำราฉันทลักษณ์.
บังคับโท
หมายถึงน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท.
กุณโฑ
หมายถึง[-โท] น. คนโท, หม้อนํ้า.
นิรโทษ
หมายถึง[-ระโทด] ว. ไม่มีโทษ.