ตัวกรองผลการค้นหา
ทร,ทร-
หมายถึง[ทอระ-] คำอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (ป. ทุ, ทุรฺ; ส. ทุสฺ).
การใช้ ร หัน(รร)
คำราชาศัพท์ที่พบในพิธีราชาภิเษก
พิธีราชาภิเษก
อักษรย่อโรงเรียน
ขรรคะ,ขรรคา
หมายถึง[ขักคะ, ขันคา] (แบบ) น. แรด เช่น หนึ่งนบสิขานนนารถ เถลิงขรรคาอาศน์ แลยาตรอัมพรแผ่นพาย. (ดุษฎีสังเวย). (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).
อินทร-
หมายถึง[อินทะ-, อินทฺระ-, อิน] น. ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช; ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. อินฺท).
โปกขร,โปกขร-
หมายถึง[โปกขะระ-] น. โบกขร, ใบบัว. (ป.).
อินทร
โบกขร,โบกขร-
หมายถึง[โบกขะระ-] น. ใบบัว. (ป. โปกฺขร).
จันทร,จันทร-,จันทร์
หมายถึง[จันทฺระ- ในกลอนบางทีอ่านเป็น จันทอน, จัน] น. ดวงเดือน, เรียกเทวดาองค์หนึ่งในนิยายว่า พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อดาวพระเคราะห์ที่ ๒; ชื่อวันที่ ๒ ของสัปดาห์. (ส.).
ทศม,ทศม-
หมายถึง[ทะสะมะ-, ทดสะมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๑๐ เช่น ทศมสุรทิน = วันที่ ๑๐. (ส.).
ขเคศวร
หมายถึงครุฑ, ผู้เป็นใหญ่แห่งนก
ทุกข,ทุกข-,ทุกข์
หมายถึง[ทุกขะ-, ทุก] น. ความยากลำบาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ. (ป.; ส. ทุะข).
ท
หมายถึงใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคำบางคำ เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคำบางคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.
สก
หมายถึงน. ผม. (ข. สก่).