ค้นเจอ 2,136 รายการ

กระชังหน้าใหญ่

หมายถึง(สำ) ว. จัดจ้าน, ออกหน้ารับเสียเอง, เช่น แม่กระชังหน้าใหญ่.

กระชัง

หมายถึงน. เครื่องสำหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะเป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบเพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกรํ่า เมื่อจับปลาหรือกุ้งได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่ากระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สำหรับจับปลาขนาดใหญ่มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยนํ้าไว้.

แม่กระชังหน้าใหญ่

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่ชอบแสดงตัวออกหน้าเป็นหัวเรือใหญ่, มักพูดเข้าคู่กับ แม่หญิงแม่หญัง เป็น แม่หญิงแม่หญัง แม่กระชังหน้าใหญ่.

กระชัง

หมายถึง(โบ) น. นํ้าปัสสาวะแห่งทารก, นํ้าครํ่า, เขียนเป็น กะชัง ก็มี. (มิวเซียม).

กระชัง

หมายถึงน. บังสาดที่ปิดและเปิดได้. (เทียบ ช. กระรันชัง = กระจาด).

กะชัง

หมายถึง(โบ) น. นํ้าปัสสาวะแห่งทารก, นํ้าครํ่า, เขียนเป็น กระชัง ก็มี. (มิวเซียม). (ดู กระชัง ๓).

หน้าอินทร์หน้าพรหม

หมายถึงน. ผู้มีอำนาจ, ผู้ยิ่งใหญ่, เช่น เขาไม่กลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมใด ๆ ทั้งนั้น.

หน้าเชิด

หมายถึงน. หน้าที่เงยขึ้น. ว. อาการที่คอตั้งเงยหน้าแสดงความเย่อหยิ่งหรือภาคภูมิใจเป็นต้น เช่น เขานั่งรถยนต์คันใหญ่ทำหน้าเชิด.

หน้าเปิด

หมายถึงน. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าสว่าง ก็ว่า.

วันหน้า

หมายถึงน.วันที่จะมาถึงข้างหน้า เช่น วันหน้าจะพบกันใหม่, ใช้ว่า วันหลัง ก็มี.

หน้า

หมายถึงน. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจำนวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.

วันหน้าวันหลัง

หมายถึงน. วันใดวันหนึ่งในอนาคต เช่น จะทำอะไรก็เผื่อวันหน้าวันหลังไว้บ้าง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ