ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ตรม, บรม,บรม-, กรม, กรมธรรม์, สาราณียธรรม, โรม, พรม, พรมมิ, กรรมกร, กรรมกรณ์, กรรมขัย, กรรมสิทธิ์
วุลแฟรม
หมายถึงน. ทังสเตน. (อ. wolfram).
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด ธรรม
วรรณกรรม
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด กรรม
ศาลยุติธรรม
หมายถึง(กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ศาลยุติธรรมมี ๓ ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา, เดิมเรียกว่า ศาลสถิตยุติธรรม.
ศุจิกรรม
หมายถึงน. การรักษาความบริสุทธิ์. (ส.; ป. สุจิกมฺม).
โศกนาฏกรรม
หมายถึง[โสกะนาดตะกำ, โสกกะนาดตะกำ] น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่นเรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอ-จูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.
สภาพธรรม
หมายถึงน. หลักแห่งความเป็นเอง.
สามีจิกรรม
หมายถึงน. การแสดงความเคารพตามธรรมเนียมของพระเณรในระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย เช่น ระหว่างพระอุปัชฌาย์กับสัทธิวิหาริก ระหว่างอาจารย์กับอันเตวาสิก หรือระหว่างผู้แก่พรรษากับผู้อ่อนพรรษากว่า. (ส.; ป. สามีจิกมฺม).
สาราณียธรรม
หมายถึงน. ธรรมอันเป็นไปเพื่อความระลึกถึงกันและกัน. (ป. สาราณีย + ส. ธรฺม).
สูติกรรม
หมายถึงน. การทำคลอด.
สูทกรรม
หมายถึง[สูทะ-] น. การทำกับข้าวของกิน. (ส. สูทกรฺมนฺ).
เสื่อมโทรม
หมายถึงก. เลวลง, มีฐานะตกต่ำกว่าเดิม, เช่น ภาวะเศรษฐกิจกำลังเสื่อมโทรม.
โมฆกรรม
หมายถึง(กฎ) น. นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใด จะยกความเสียเปล่าขึ้นกล่าวอ้างก็ได้, กฎหมายเขียนเป็น โมฆะกรรม.
ยัญกรรม
หมายถึงน. การเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์.