ค้นเจอ 588 รายการ

กระเป๋าเบา

หมายถึง(ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าน้อยลง เช่น ไปเที่ยวเสียกระเป๋าเบาเลย.

เบา

หมายถึงว. มีน้ำหนักน้อย, ตรงข้ามกับ หนัก; ย่อมเยา เช่น เบาราคา; ค่อย, ค่อย ๆ, เช่น เสียงเบา เดินเบา ๆ, ทุเลา เช่น ไข้เบาลง, ชะลอกำลังเร็วให้ช้าลง เช่น เบารถ เบาฝีจักร; ที่ให้ผลเร็ว เช่น ข้าวเบา. (ปาก) น. เยี่ยว. ก. ถ่ายปัสสาวะ, เยี่ยว.

บัน

หมายถึงก. เบา, น้อย, เช่น มัวเมาไม่บัน. (ดึกดำบรรพ์).

เสียงเล็กเสียงน้อย

หมายถึงน. น้ำเสียงที่แสร้งดัดให้เล็กหรือเบากว่าปรกติในลักษณะออดอ้อนเป็นต้น.

น้อย

หมายถึงว. ตรงข้ามกับ มาก, ไม่มาก, เช่น ฝนน้อย น้ำน้อย มีเงินน้อย พูดน้อย, ตรงข้ามกับ ใหญ่, ไม่ใหญ่, เช่น ข้าราชการชั้นผู้น้อย; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ไม่สำคัญ เช่น ครูน้อย ผู้น้อย เณรน้อย, เกี่ยวกับความรู้สึกเป็นไปในทางน่ารักน่าเอ็นดู เช่น เด็กน้อย น้องน้อย สาวน้อย หนูน้อย.

น้อย

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. คำเติมหน้าชื่อแห่งผู้ที่ได้บวชเป็นสามเณรแล้ว, ถ้าได้บวชเป็นภิกษุเติมหน้าชื่อว่า หนาน. (พงศ. ร. ๒).

หนักนิดเบาหน่อย

หมายถึงว. เกินพอดีไปบ้างหรือน้อยกว่าพอดีไปบ้าง เช่น เป็นสามีภรรยากัน หนักนิดเบาหน่อยก็ควรอภัยให้กัน.

ลายเบา

หมายถึงน. ลายที่เกิดขึ้นด้วยการแกะเดินเส้นเป็นร่องตื้น ๆ บนพื้นหินหรือพื้นโลหะ เช่น ลายเบาจารึกบนพื้นหินชนวน ลายเบาบนรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์.

ชั่วเบา

หมายถึง(โบ) ว. ชั่วระยะเวลานานตราบที่ยังไม่ได้ถ่ายปัสสาวะ.

ซา

หมายถึงก. ลดน้อยถอยลงกว่าที่เป็นอยู่, บรรเทาเบาลงกว่าที่เป็นอยู่, เช่น ฝนซา ไฟซา.

ผ่อนปรน

หมายถึงก. แบ่งหนักให้เป็นเบา, เอาไปทีละน้อย, ขยับขยายให้เบาบางลง.

เบี้ยน้อยหอยน้อย

หมายถึง(สำ) ว. มีเงินน้อย, มีไม่มาก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ