ตัวกรองผลการค้นหา
ดิษฐ์
หมายถึง(โบ) น. ดิตถ์, ท่านํ้า, เขียนเป็น ดิฐ ก็มี. (ดู ดิฐ ๒ และ เดียรถ์).
"สะเหล่อ" กับ "เสร่อ" คำไหนที่ถูกต้อง
เกร็ดความรู้จากละครข้ามสีทันดร
พิธีราชาภิเษก
คำราชาศัพท์ที่พบในพิธีราชาภิเษก
ชน,ชน,ชน-
หมายถึง[ชนนะ-] น. คน (มักใช้ในภาษาหนังสือ).(ป., ส.).
ชน
หมายถึงก. โดนแรง ๆ เช่น รถยนต์ชนต้นไม้, ชิดจนติด เช่น ตั้งตู้ชนฝา; บรรจบ เช่น ชนขวบ; ให้ต่อสู้กัน เช่น ชนโค ชนไก่. น. เรียกไก่อูชนิดหนึ่งที่เลี้ยงไว้ชนกันว่า ไก่ชน.
อ
หมายถึง[อะ] เป็นอักษรใช้นำหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้นได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นำพยัญชนะเดี่ยวได้อย่างอักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นำตัว ย ให้เป็นเสียงอักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็นเครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และประสมกับเครื่องหมายเป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.
สามัญชน
หมายถึงน. คนธรรมดาที่มิใช่เจ้า.
ชำนน
หมายถึงก. ชนกัน, โดนกัน. (แผลงมาจาก ชน).
หันหลังชนกัน
หมายถึง(สำ) ก. ร่วมมือร่วมใจกัน.
ชลประทาน
หมายถึง[ชนละ-, ชน-] น. การทดนํ้าและระบายนํ้าเพื่อการเพาะปลูกเป็นต้น.
ชล,ชล-
หมายถึง[ชน, ชนละ-] น. นํ้า. (ป., ส.).
อจล,อจล-
หมายถึง[อะจะละ-] ว. ไม่หวั่นไหว, ไม่คลอนแคลน, เช่น อจลศรัทธา. (ป., ส.).
อน,อน-
หมายถึง[อะนะ-] เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. (ดู อ ๒ ประกอบ).