ค้นเจอ 659 รายการ

สิร,สิร-,สิระ

หมายถึง[-ระ-] น. หัว, ยอด, ที่สุด. (ป.; ส. ศิรา).

ศิร,ศิร-,ศิระ

หมายถึง[สิระ-] น. หัว, ยอด, ด้านหน้า. (ส. ศิรสฺ; ป. สิร).

มาคสิร,มาคสิร-,มาคสิระ

หมายถึง[-คะสิระ] น. ชื่อดาวฤกษ์ที่ ๕; ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ, เดือนอ้าย ตกราวเดือนธันวาคม. (ป.).

เศียร

หมายถึง[เสียน] น. หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร; ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.

สิโรดม,สิโรตม์

หมายถึงน. หัว, เบื้องสูงสุดของหัว. (ป. สิร + อุตฺตม).

มิคเศียร,มิคสิร,มิคสิร-,มิคสิระ,มิคสิระ

หมายถึงน. ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ, เดือนอ้ายตกราวเดือนธันวาคม. (ป.).

สิ

หมายถึงคำประกอบท้ายคำอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด หรือให้สละสลวย เป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ เชิงชวน หรือรับคำ เป็นต้น เช่น ไปสิ มาสิ, ซิ หรือ ซี ก็ว่า.

ทุกร,ทุกร-

หมายถึง[ทุกกะระ-] (แบบ) น. สิ่งที่ทำได้ยาก. (ป. ทุกฺกร).

สิต,สิต-

หมายถึง[-ตะ-] ว. ขาว. (ป., ส.).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียนตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน), ถ้าตามพยัญชนะอื่น แต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีคำอื่นตาม พยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และตัว ร ออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ-ระ-ลี) หรดี (หอ-ระ-ดี).

สิตะ

หมายถึงว. ยิ้ม, ยิ้มแย้ม. (ป.; ส. สฺมิต).

ขรรคะ,ขรรคา

หมายถึง[ขักคะ, ขันคา] (แบบ) น. แรด เช่น หนึ่งนบสิขานนนารถ เถลิงขรรคาอาศน์ แลยาตรอัมพรแผ่นพาย. (ดุษฎีสังเวย). (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ