ค้นเจอ 215 รายการ

นิจ,นิจ,นิจ-

หมายถึง[นิด, นิดจะ-] ว. เสมอไป, สมํ่าเสมอ, มักใช้ว่า เป็นนิจ. (ป. นิจฺจ; ส. นิตฺย).

นิจ

หมายถึงว. ตํ่า (คู่กับ อุจ ว่า สูง) ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ เช่นว่า พระอาทิตย์ขึ้นอุจในเดือนเมษายน และตกนิจในเดือนตุลาคม. (ป. นีจ).

สาร,สาร,สาร-,สาร-

หมายถึง[สาน, สาระ-] น. แก่น, เนื้อแท้, มักใช้เข้าคู่กับคำ แก่น เป็น แก่นสาร; ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น กล่าวสาร สื่อสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร วารสาร, จดหมาย เช่น เขียนสาร สารของนายกรัฐมนตรีถึงเยาวชน. (ป., ส.).

สาร,สาร-,สาร-

หมายถึง[สาระ-] คำประกอบหน้าคำ แปลว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุก, เช่น สารทิศ ว่า ทุกทิศ, สารทุกข์ ว่า ทุกข์ทั้งหมด, สารเลว ว่า เลวทั้งสิ้น. (เลือนมาจาก สรฺว ในสันสกฤต เช่น สรฺวงฺค เป็น สารพางค์ หรือ สรรพางค์).

สาร

หมายถึงน. ช้างใหญ่ ใช้ว่า ช้างสาร.

สาร

หมายถึงน. ข้าวที่สีหรือตำเอาเปลือกออกแล้ว เรียกว่า ข้าวสาร.

สาร

หมายถึง[สาน] น. สิ่งที่มีองค์ประกอบเป็นอย่างเดียวกัน มีสมบัติเฉพาะของตนเอง และไม่สามารถใช้วิธีกลใด ๆ มาแบ่งแยกให้เป็นส่วนอื่นที่มีองค์ประกอบและสมบัติแตกต่างออกไปได้; (โบ) เรียกธาตุจำพวกหนึ่งและธาตุที่เข้าแทรกในต้นไม้ว่า สาร.

มลสาร

หมายถึงน. สารที่ทำให้เกิดมลพิษ, สารมลพิษ ก็ใช้. (อ. pollutant).

ช้างสาร

หมายถึง(สำ) น. ผู้มีอำนาจ ในความว่า ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ.

แปลงสาร

หมายถึงก. สั่งอย่างหนึ่งไปทำเสียอีกอย่างหนึ่ง, แก้สาระสำคัญหรือข้อความในหนังสือจากอย่างหนึ่งไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง.

นิพัทธกุศล

หมายถึง[นิพัดทะ-] น. กุศลที่ทำเป็นนิจ.

น้ำยาเคมี

หมายถึงน. ของเหลวซึ่งมีสารเคมีละลายอยู่.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ