ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เทวาคาร, ศาล
เทวาคาร
หมายถึงน. ศาลพระภูมิ, ศาลเจ้า. (ส.).
คำไวพจน์ พระเจ้าแผ่นดิน - คำคล้าย พระเจ้าแผ่นดิน
คำไวพจน์: สิงโต - คำไวพจน์ของ สิงโต พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
รวบรวม 20 สำนวนไทย รู้เอาไว้ ทันสมัยตลอดกาล
แปลเพลง Closer – The Chainsmokers ft. Halsey
ศาล
หมายถึง[สาน] น. (กฎ) องค์กรที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดยดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร; ที่ชำระความ เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา; ที่สิงสถิตของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น เช่น ศาลเทพารักษ์ ศาลเจ้า ศาลเจ้าแม่ทับทิม.
เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด
หมายถึง(สำ) น. ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง.
ดอกไม้เจ้า
หมายถึงน. ขุนเพ็ดซึ่งใช้เป็นเครื่องบูชาตามศาลเจ้า.
เจ้า
หมายถึงน. คำนำหน้าชื่อเพื่อแสดงว่าเป็นเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ เช่น เจ้าดวงเดือน; คำนำหน้าที่ผู้ใหญ่เรียกเด็กหรือผู้น้อย เช่น เจ้าหนู เจ้าแดง เจ้านี่.
หมายถึงน. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชำนาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคำเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.
หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สำหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือเอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคำ นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่นจะไปด้วยหรือเปล่า.
หมายถึงน. ผู้ค้าขายสิ่งของต่าง ๆ เช่น เจ้าผัก เจ้าปลา, ลักษณนามหมายความว่า ราย เช่น มีผู้มาติดต่อ ๓ เจ้า.
เตว็ด
หมายถึง[ตะเหฺว็ด] น. รูปเทพารักษ์ที่ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า, ใช้ว่า ตระเว็ด หรือ เจว็ด ก็มี.
ตระเว็ด
หมายถึง[ตฺระเหฺว็ด] น. รูปเทพารักษ์ที่ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า, ใช้ว่า เจว็ด หรือ เตว็ด ก็มี.
ศาลพระภูมิ
หมายถึงน. ที่สถิตของเทพารักษ์ประจำพื้นที่และสถานที่ ทำด้วยไม้เป็นเรือนหลังคาทรงไทยตั้งอยู่บนเสาเดียว ปัจจุบันทำด้วยปูนเป็นรูปปราสาทก็มี.
ศาลแรงงาน
หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน เช่น คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ หรือคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน.