ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ศัพท,ศัพท-,ศัพท์
ศัพท์บัญญัติ
หมายถึงน. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้ให้มีความหมายเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น โทรทัศน์ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ.
คำศัพท์ไทย-เขมร
รวมคำศัพท์ วันคริสต์มาส
คำในภาษาไทยที่อ่านได้สองแบบ
คำศัพท์ในโรงพยาบาล
บัญญัติ
หมายถึง[บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ บัญญัติ ๑๐ ประการ. ก. ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติกฎหมาย. (ป. ปญฺตฺติ).
ศัพท,ศัพท-,ศัพท์
หมายถึง[สับทะ-, สับ] น. เสียง เช่น โทรศัพท์, คำ เช่น ศัพท์บัญญัติ; คำยากที่ต้องแปล, ศัพท์แสง ก็ว่า; เรื่อง เช่น ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด. (ส. ศพฺท; ป. สทฺท ว่า เสียง, คำ).
ศัพท์แสง
หมายถึง(ปาก) น. คำยากที่ต้องแปล เช่น เขาชอบพูดจาเล่นศัพท์แสง ฟังไม่รู้เรื่อง.
ศัพท์สำเนียง
หมายถึงน. เสียง เช่น ข้างนอกเสียงเอ็ดอึง อยู่ข้างในฟังไม่ได้ศัพท์สำเนียง.
ศัพท์เฉพาะวิชา
หมายถึงน. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นใช้ในแต่ละวิชา เช่น ปฏิชีวนะ ประสบการณ์ มลพิษ.
นิติบัญญัติ
หมายถึง(กฎ) น. การบัญญัติกฎหมาย.
ปัญญัติ
หมายถึง[ปันหฺยัด] (แบบ) ก. บัญญัติ. (ป.).
ติดศัพท์
หมายถึงก. พูดใช้ศัพท์ยากหลาย ๆ คำ, พูดใช้ศัพท์คำใดคำหนึ่งบ่อย ๆ; แปลศัพท์ไม่ออก.
นีติธรรม
หมายถึง(แบบ) น. วินัยบัญญัติ, หลักกฎหมาย, นิติธรรม. (ส.).
ราชศาสตร์
หมายถึง(โบ) น. กฎหมายที่พระเจ้าแผ่นดินบัญญัติตามหลักธรรมศาสตร์.
รับโทรศัพท์
หมายถึงก. รับการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์.