ค้นเจอ 641 รายการ

ประตูน้ำ

หมายถึงน. ประตูสำหรับควบคุมระดับนํ้าที่ไหลเข้าออก; (กฎ) สิ่งที่สร้างขึ้นในทางนํ้าเพื่อให้เรือแพผ่านทางนํ้าที่มีระดับนํ้าต่างกันได้.

กัก

หมายถึงก. ไม่ให้ล่วงพ้นเขตที่กำหนดไว้, กำหนดเขตให้อยู่, เช่น กักตัว, กักกัน ก็ว่า; ยึดไว้, ไม่ปล่อยไป, เช่น กักรถ กักนํ้า. ว. หยุดชะงัก เช่น หยุดกัก.

ประตู

หมายถึงน. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนันบางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจำนวนครั้งที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียกช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตูเดียว กิน ๓ ประตู.

ป้อง

หมายถึงก. บังเพื่อกักหรือกั้นไว้.

ประตูโตงเตง

หมายถึงน. ประตูเพนียดที่มีเสาโตงเตง.

เข้าตามตรอกออกตามประตู

หมายถึง(สำ) ก. ทำตามธรรมเนียมในเรื่องการสู่ขอ.

สิ้นประตู

หมายถึง(สำ) ว. ไม่มีทาง.

เรือประตู

หมายถึงน. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่ง กับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อนถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้ายกระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูใน กับหมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก.

รักษาประตู

หมายถึงก. คุมอยู่หน้าประตูในการเล่นฟุตบอลคอยป้องกันไม่ให้ลูกฟุตบอลเข้าไป.

ให้น้ำ

หมายถึงก. ให้นักมวยหรือคู่ต่อสู้เป็นต้นหยุดพักเหนื่อยชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อให้ดื่มน้ำ เช็ดหน้า หรือเช็ดตัวเป็นต้น ก่อนจะลงมือสู้ในยกต่อไป.

กุก ๆ กัก ๆ

หมายถึงว. กึกกัก, ติด ๆ ขัด ๆ, ไม่สะดวก; เสียงดังเช่นนั้น.

น้ำ

หมายถึงน. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคำ นํ้าใจ นํ้าพักนํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้า ต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสงแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ