ตัวกรองผลการค้นหา
เณรหางนาค
หมายถึงน. สามเณรที่บวชต่อท้ายพิธีบวชพระ.
คำราชาศัพท์ - คําราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด พิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด ศรัทธา
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด กรรม
บวช
หมายถึงก. ถือเพศเป็นภิกษุสามเณรหรือนักพรตอื่น ๆ.
หมายถึง(ปาก) ก. หลอก, ล่อลวง, ทำอุบายให้หลงเชื่อ, เช่น ถูกเขาบวชเช้าบวชเย็นรํ่าไป. (อิเหนา ร. ๕).
คนดิบ
หมายถึงน. ชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ.
คนสุก
หมายถึงน. ชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้ว.
ขานนาค
หมายถึงก. กล่าวคำขอบวชในพิธีบวชนาค.
ภิกษุณี
หมายถึงน. หญิงที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา. (ส.; ป. ภิกฺขุนี).
ภิกษุ
หมายถึงน. ชายที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา. (ส.; ป. ภิกฺขุ).
ผนวช
หมายถึง[ผะหฺนวด] (ราชา) ก. บวช.
พระ
หมายถึง[พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
พระรูป,พระรูปชี
หมายถึงน. เจ้านายที่เสด็จบวชเป็นชี.
เห็นชายผ้าเหลือง
หมายถึง(สำ) มีโอกาสได้จัดการบวชลูกหลานเป็นต้นในพระพุทธศาสนา ถือว่าได้บุญมาก.