ตัวกรองผลการค้นหา
ร่องน้ำ
หมายถึงน. ทางนํ้าลึกที่เรือเดินได้.
คำไวพจน์ น้ำ | คำคล้าย น้ำ
ตำนานนางนพมาศที่เกี่ยวข้องกับวันลอยกระทง
คำศัพท์ในโรงพยาบาล
คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้ต่าง ๆ
คลอง
หมายถึง[คฺลอง] น. ทางนํ้าหรือลำนํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่นํ้าหรือทะเล; ทาง, แนว, เช่น คลองธรรม.
หัวคลองท้ายคลอง
หมายถึงว. ทั่วทั้งคลอง.
ชานคลอง
หมายถึง(กฎ) น. พื้นที่จากริมตลิ่งถึงเชิงลาดคันคลองขนานไปกับคลอง.
ลำราง
หมายถึงน. ทางน้ำเล็ก ๆ ที่ขุดสำหรับชักน้ำจากคลองเข้านาหรือระบายน้ำออกจากนา.
เหมืองฝาย
หมายถึงน. คลองส่งนํ้าที่มีทำนบกั้น.
จระเข้คับคลอง
หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่ชอบวางตัวใหญ่โตเกินไปย่อมมีอุปสรรคในการดำรงตนในสังคม.
จระเข้ขวางคลอง
หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่ชอบกันท่าหรือขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้สะดวก เหมือนจระเข้ที่ขึ้นมาขวางคลองทำให้เรือผ่านไปมาไม่สะดวก.
ให้น้ำ
หมายถึงก. ให้นักมวยหรือคู่ต่อสู้เป็นต้นหยุดพักเหนื่อยชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อให้ดื่มน้ำ เช็ดหน้า หรือเช็ดตัวเป็นต้น ก่อนจะลงมือสู้ในยกต่อไป.
น้ำ
หมายถึงน. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคำ นํ้าใจ นํ้าพักนํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้า ต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสงแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.
คำพ้องรูป
หมายถึงคำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.
เรือใหญ่คับคลอง
หมายถึง(สำ) น. คนที่เคยรุ่งเรืองหรือเป็นใหญ่เป็นโต เมื่อตกตํ่าลงก็วางตัวอย่างคนสามัญไม่ได้.