ตัวกรองผลการค้นหา
จักขุนทรีย์
หมายถึงน. ตาซึ่งทำหน้าที่ดูรูป. (ป. จกฺขุ + อินฺทฺริย).
"สะเหล่อ" กับ "เสร่อ" คำไหนที่ถูกต้อง
เกร็ดความรู้จากละครข้ามสีทันดร
ระดับภาษาและลักษณะการใช้
หมายถึงดู จักขุ, จักขุ-.
นท
หมายถึง[นด] (แบบ) น. ผู้บันลือ, ผู้ร้อง, ผู้ลั่น; แม่นํ้า, ลำนํ้า, เช่น ชมพูนท (แปลว่า เกิดในแม่น้ำชมพูนที คือ ทองคำบริสุทธิ์). (ป., ส.).
มนินทรีย์
หมายถึงน. ใจซึ่งเป็นใหญ่ในการรับรู้ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดทางใจ. (ป. มน + อินฺทฺริย).
ฆานินทรีย์
หมายถึงน. จมูกซึ่งเป็นใหญ่ในการดมกลิ่น. (ป. ฆาน + อินฺทฺริย).
สาร,สาร,สาร-,สาร-
หมายถึง[สาน, สาระ-] น. แก่น, เนื้อแท้, มักใช้เข้าคู่กับคำ แก่น เป็น แก่นสาร; ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น กล่าวสาร สื่อสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร วารสาร, จดหมาย เช่น เขียนสาร สารของนายกรัฐมนตรีถึงเยาวชน. (ป., ส.).
มลสาร
หมายถึงน. สารที่ทำให้เกิดมลพิษ, สารมลพิษ ก็ใช้. (อ. pollutant).
โสตินทรีย์
หมายถึงน. หูซึ่งเป็นใหญ่ในการฟังเสียง. (ป. โสต + อินฺทฺริย).
สาร,สาร-,สาร-
หมายถึง[สาระ-] คำประกอบหน้าคำ แปลว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุก, เช่น สารทิศ ว่า ทุกทิศ, สารทุกข์ ว่า ทุกข์ทั้งหมด, สารเลว ว่า เลวทั้งสิ้น. (เลือนมาจาก สรฺว ในสันสกฤต เช่น สรฺวงฺค เป็น สารพางค์ หรือ สรรพางค์).
ดำเนียร
หมายถึง(แบบ) ว. ที่ผ่านมา เช่น อนี้จะชี้นิต- ติดำเนียรดำนานสาร. (สมุทรโฆษ).
นิ
หมายถึง(โบ) ใช้เสริมคำให้พยางค์สละสลวยขึ้น เช่น สนุกนิ สำนักนิ.
สาร
หมายถึงน. ช้างใหญ่ ใช้ว่า ช้างสาร.